กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในลุ่มเจ้าพระยาประจำวันที่ 30 กันยายน 2567 พร้อมเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา -แม่น้ำน้อย และพื้นที่เสี่ยง บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ เฝ้าระวังระดับน้ำอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้จากข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า วันที่ 30 ก.ย. - 5 ต.ค.67 บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งหากระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น และมีความจำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยากรมชลประทานจะแจ้งให้ทราบเป็นระยะต่อไป
พื้นที่เฝ้าระวัง ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา/แม่น้ำน้อย และพื้นที่เสี่ยง บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ
- คลองโผงเผง จ.อ่างทอง
- คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา
- ต.หัวเวียง อ.เสนา , ต.ลาดชิด , ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ. พระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย)
สถานการณ์น้ำในลุ่มเจ้าพระยาประจำวันที่ 30 กันยายน 2567
สถานี C2 อ.เมืองนครสวรรค์
- ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,995 ลบ.ม./วินาที
- แนวโน้ม : เพิ่มขึ้น
- ระดับน้ำ : เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 15 ซม. แต่ยังต่ำกว่าตลิ่งอยู่ 2.90 ม.
สถานี C13 เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท
- ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,899 ลบ.ม/วินาที
- แนวโน้ม : ทรงตัว
- ระดับน้ำท้ายเขื่อน : ต่ำกว่าตลิ่ง 2.15 ม.
ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)รายงานการแจ้งเตือนสาธารณภัย ประจำวันที่ 30 ก.ย. 2567 โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ,เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง ,เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง ทั้งนี้สามารถตรวจสอบได้ดังนี้
เฝ้าระวังฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง
- เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง
- เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ ตาก สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุดรธานี หนองคาย ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ปราจีนบุรี และยะลา
เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง
- ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ศูนย์ปฎิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี รายงานสถานการณ์ธรณีพิบัติภัยประจำวัน วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2567 พบพื้นที่ติดตามสถานการณ์ธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่
- เชียงใหม่
- เชียงราย
- แม่ฮ่องสอน
- ลำพูน
- ลำปาง
- สุโขทัย
- กำแพงเพชร
- นครสวรรค์
- อุทัยธานี
อนึ่งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่งในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค. 67 ทั้งนี้เนื่องจากความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะดังกล่าว ทำให้มีประเทศไทยมีอากาศแปรปรวน โดยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ต้องเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำลันตลิ่งบริเวณ
- ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน พิจิตร สุโขทัย นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
- ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี และตราด
- ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี
- ภาคใต้ จ.ภูเก็ต ยะลา และนราธิวาส