“พัชรวาท” ดัน โมเดลอุตสาหกรรมบางกะดี ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5

31 มี.ค. 2567 | 13:13 น.
อัปเดตล่าสุด :31 มี.ค. 2567 | 13:21 น.

“พัชรวาท” ลงพื้นที่ปทุมธานี ยึดต้นแบบอุตสาหกรรมบางกะดี แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 อุ้มภาคเกษตรกรรมปลอดการเผาเป็นรูปธรรม

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า กระทรวงฯได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 จังหวัดปทุมธานี พร้อมเยี่ยมชมการดำเนินงานของโครงการสวนอุตสาหกรรมบางกะดี หลังจากนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมชม โรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด ของบริษัท วีอาร์พี ดีเวลลอปเม้นท์ โฮลดิ้ง จำกัด และแปลงนาสาธิตการทำนาปลอดการเผา
  “พัชรวาท” ดัน โมเดลอุตสาหกรรมบางกะดี ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5
ขณะเดียวกันจากการตรวจเยี่ยมและติดตามปัญหาปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของจังหวัดปทุมธานี ซึ่งบริหารจัดการได้ดีมาก ภายใต้การดูแลของผู้ว่าฯ ปทุมธานี โดยปทุมธานีมีพื้นที่การทำนาถึง 67 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด อีกทั้งมีโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 3,400 แห่ง แต่ยังสามารถบริหารจัดการคุณภาพอากาศให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
 

นอกจานี้สวนอุตสาหกรรมที่มี 38 โรงงาน ที่สามารถบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยม มีระบบบำบัดอากาศทำให้ไม่ส่งผลกระทบด้านฝุ่น สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและยังเป็นต้นแบบโครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม  

“พัชรวาท” ดัน โมเดลอุตสาหกรรมบางกะดี ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5

ส่วนการดูงานโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดที่กรมควบคุมมลพิษ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท วีอาร์พี ดีเวลลอปเม้นท์ โฮลดิ้ง จำกัด สนับสนุนให้มีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการป้องกันและลดการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรเพื่อลดปัญหาฝุ่นPM 2.5  โดยนำเศษวัสดุการเกษตร ได้แก่ ฟางข้าว ใบอ้อย ไม้ไผ่ต้นและซังข้าวโพด เปลือก มะพร้าว และ เศษต้นไม้อื่นๆ มาอัดเม็ด ทำให้สามารถลดปริมาณฝุ่นและส่งขายให้กับโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ส่วนแปลงนาปลอดการเผานับเป็นความร่วมมือที่ดีจากชาวนาปทุมธานี เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ให้กับกรุงเทพฯ และปริมณฑล 


 

“พัชรวาท” ดัน โมเดลอุตสาหกรรมบางกะดี ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5

“กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ พยายามบูรณาการแก้ปัญหากับทุกภาคส่วนเพื่อลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ควบคู่กับการส่งเสริมภาคเกษตรกรรมปลอดการเผาอย่างเป็นอย่างเป็นรูปธรรม สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมนำเศษวัสดุเหลือใช้มาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด เป็นแนวทางช่วยลดการเผา ขณะเดียวกันปัญหานี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกฝ่ายด้วย”