น้ำท่วมภาคใต้ เช็คพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน-พยากรณ์ฝนที่นี่

25 ธ.ค. 2566 | 15:56 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ธ.ค. 2566 | 16:03 น.

น้ำท่วมภาคใต้ ปภ.แจ้งเตือนพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนในพื้นที่ ตรวจสอบสภาพอากาศที่นี่

วันที่ 25 ธันวาคม 2566 วันนี้หลายจังหวัดในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ เกิดน้ำท่วมขัง -น้ำท่วมฉับพลัน โดยข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยแจ้งว่า มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 2 จังหวัด ล่าสุดได้เร่งประสานการให้ความช่วยเหลือประชาชนและสำรวจความเสียหายในพื้นที่ โดยตั้งแต่ช่วงเวลา 09.45 น.มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 2 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส และยะลา รวม 13 อำเภอ 58 ตำบล บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 9,697 ครัวเรือน 

 

  • นราธิวาส น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแว้ง อำเภอสุคิริน อำเภอจะแนะ อำเภอระแงะ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอ  ศรีสาคร อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอยี่งอ และอำเภอรือเสาะ รวม 44 ตำบล บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 9,558 ครัวเรือน โรงเรียนเสียหาย 1 แห่ง ระดับน้ำลดลง

 

  • ยะลา น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอธารโต อำเภอยะหา อำเภอบันนังสตา และอำเภอรามัน รวม 14 ตำบล บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 139 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

นอกจากนั้นแล้ว ทางปภ.ยังได้คาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 25 ธันวาคม 2566  

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขังในระยะสั้น

 

  • สงขลา (อ.รัตภูมิ หาดใหญ่ เทพา สะบ้าย้อย) 
  • ปัตตานี (อ.สายบุรี มายอ กะพ้อ ทุ่งยางแดง ไม้แก่น) 
  • ยะลา (อ.เมืองฯ รามัน ยะหา กาบัง กรงปินัง บันนังสตา ธารโต) 
  • นราธิวาส (อ.รือเสาะ ศรีสาคร ระแงะ จะแนะ เจาะไอร้อง สุไหงปาดี สุคิริน แว้ง สุไหงโก-ลก)

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

  • ยะลา (อ.รามัน) 
  • นราธิวาส (อ.รือเสาะ ยี่งอ ศรีสาคร ระแงะ จะแนะ เจาะไอร้อง สุไหงปาดี สุคิริน แว้ง)

 

ทั้งนี้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหา เร่งระบายน้ำ และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”
 

ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้พยากรณ์อากาศภาคใต้ ระบุว่า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณบริเวณเกาะสุมาตราและทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง  ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากโดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม 

 

ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณห่างฝั่งคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 25-27 ธันวาคม 2566

 

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศวันนี้-พรุ่งนี้ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)และภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)


ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

  • ตอนบนของภาค : อากาศเย็น ในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
  • อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส
  • ตอนล่างของภาค : มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-45 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร


ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดตรัง และสตูล 
  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2-3 เมตร 
  • และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ปริมาณฝนสูงสุดในภาคใต้