สำรวจเส้นทางผลักดันกฎหมาย "สมรสเท่าเทียม" ทั่วโลก

26 ต.ค. 2566 | 14:16 น.
อัปเดตล่าสุด :26 ต.ค. 2566 | 14:17 น.

รัฐบาลเตรียมดัน กฎหมายสมรสเท่าเทียม เข้า ครม. สิ้นเดือนตุลาคม 2566 ชวนสำรวจเส้นทางผลักดันกฎหมาย "สมรสเท่าเทียม" ทั่วโลก มีกี่ประเทศที่ถูกกฎหมาย

ประเทศไทยได้รัฐบาลใหม่ชุดใหม่ แต่กฎหมายค้างท่อสภาชุดก่อน หนึ่งกฎหมายที่สังคมให้ความสนใจก็คือ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ล่าสุด นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกรัฐมนตรี เตรียมนำเรื่องกฎหมายสมรสเท่าเทียม เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 31 ตุลาคม 2566 นี้ เพื่อพิจารณา และจะบรรจุเป็นวาระแรกที่จะเข้าในการเปิดสมัยประชุมสภาฯ ต่อไป ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นประมาณต้นเดือนธันวาคม 2566 

กฎหมายสมรสเท่าเทียม

"ฐานเศรษฐกิจ" ชวนสำรวจไทม์ไลน์เส้นทางผลักดันกฎหมายการสมรสของคู่รักเพศเดียวกันทั่วโลก จาก Equaldex ซึ่งเป็นฐานความรู้การทำงานร่วมกันสำหรับขบวนการ LGBT ในการรวบรวมกฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของ LGBT เพื่อให้มีมุมมองที่ครอบคลุมและทั่วโลกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของ LGBT

ปัจจุบันมีประเทศ/ดินแดนที่มี การแต่งงานของเพศเดียวกันนั้นถูกกฎหมายใน 35ประเทศ เท่านั้น โดยประเทศแรกที่ผ่านกฎหมายรับรองการแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกัน ก็คือเนเธอร์แลนด์ มีผลในวันที่ 1 เมษายน 2001 และประเทศล่าสุดที่การแต่งงานของเพศเดียวกันถือเป็นเรื่องถูกกฎหมายคือ เนปาล ศาลสูงสุดเนปาลประกาศรับรองสมรสเท่าเทียม ทำให้เนปาลกลายเป็นประเทศแรกในเอเชียใต้ และประเทศที่สองในเอเชียตามหลัง ไต้หวันเมื่อปี 2019 ที่รับรองสิทธิแก่คู่สมรสเพศเดียวกันตามกฎหมาย

การแต่งงานของเพศเดียวกันนั้นถูกกฎหมายใน 35 ประเทศ

การผ่านกฎหมายโดยรัฐสภา

19 ประเทศ

  1. อาร์เจนตินา
  2. ออสเตรเลีย
  3. เบลเยียม
  4. เดนมาร์ก
  5. ฟินแลนด์
  6. ฝรั่งเศส
  7. เยอรมนี
  8. ไอซ์แลนด์
  9. ลักเซมเบิร์ก
  10. มอลตา
  11. เนเธอร์แลนด์
  12. นิวซีแลนด์
  13. นอร์เวย์
  14. สเปน
  15. สวีเดน
  16. สหราชอาณาจักร
  17. ชิลี
  18. อุรุกวัย
  19. อันดอร์รา 

การผ่านกฎหมายโดยคำวินิจฉัยของศาล

13 ประเทศ

  1. ออสเตรีย
  2. บราซิล
  3. แคนาดา
  4. โคลอมเบีย
  5. คอสตาริกา
  6. เอกวาดอร์
  7. เม็กซิโก
  8. โปรตุเกส
  9. แอฟริกาใต้
  10. ไต้หวัน
  11. สโลวีเนีย
  12. สหรัฐอเมริกา
  13. เนปาล

การลงประชามติ

3 ประเทศ

  1. ไอร์แลนด์
  2. สวิตเซอร์แลนด์
  3. และคิวบา

สำรวจเส้นทางผลักดันกฎหมาย \"สมรสเท่าเทียม\" ทั่วโลก

ประเทศไทยกับกฎหมายสมรสเท่าเทียม

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ที่แถลงต่อรัฐสภาไปแล้วเมื่อ 11-12 กันยายน 2566 พบว่า ในตอนหนึ่งของคำแถลงดังกล่าว ระบุว่า "รัฐบาลจะผลักดันให้มีกฎหมายสนับสนุนสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ" ก็ต้องจับตากันต่อไปว่าการผลักดันกฎหมายนี้เพื่อพิจารณา และจะบรรจุเป็นวาระแรกที่จะเข้าในการเปิดสมัยประชุมสภาฯ ต่อไป นั้นจะเป็นอย่างไร 

ที่มาข้อมูล