พลายศักดิ์สุรินทร์ : การทูตสิงสาราสัตว์ ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลเชื่อมสัมพันธ์

03 ก.ค. 2566 | 12:04 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ก.ค. 2566 | 12:12 น.
504

พลายศักดิ์สุรินทร์ ทูตสันถวไมตรีไทยสู่ศรีลังกา กับเรื่องราวการทูตสิงสาราสัตว์ ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

วินาทีที่ "ทูตสันถวไมตรี พลายศักดิ์สุรินทร์" หรือที่ถูกเรียกในภาษาศรีลังกาว่า มุทุราชา (Muthu Raja) หลังถูกส่งไปเป็นทูตเชื่อมสัมพันธ์ประเทศให้กับศรีลังกากว่า 22 ปี ก้าวเท้าหลังเหยียบแผ่นดินแม่ "The Motherland" สร้างความปลาบปลื้มดีใจให้กับคนไทยทั้งประเทศราวกับว่าความหนักอึ้งในจิตใจได้ถูกคลี่คลายลง เพราะคนไทยเป็นห่วงเเละลุ้นกันมาตลอด ตั้งแต่มีข่าวการนำกลับบ้านเกิด เพราะสภาพร่างกายของพ่อพลายอ่อนแอเต็มทีเเล้ว 

"ทูตสันถวไมตรี พลายศักดิ์สุรินทร์" เหยียบเเผ่นดินไทยครั้งเเรกรอบ 22 ปี

พลายศักดิ์สุรินทร์ ตอนนี้อยู่ที่สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ (ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย) จ. ลำปาง เจ้าหน้าที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระบุว่า เมื่อคืนที่ผ่านมาซึ่งเป็นคืนแรก พ่อพลายศักดิ์สุรินทร์นอนหลับตามปกติ ไม่มีอาการผิดปกติ

ส่วนขั้นตอนในการดูแลต่อจากนี้ จะมีการเฝ้าระวังและสังเกตอาการ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน ภายใต้ระเบียบการควบคุมโรคระบาดสัตว์ กรมปศุสัตว์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อบางชนิด และให้การรักษาควบคู่ไปด้วย เพื่อฟื้นฟูสุขภาพและสร้างความคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยอีกครั้ง

ใครที่ติดตามอาการของพลายศักดิ์สุรินทร์ สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ จัดให้มีการไลฟ์ผ่านทางแฟนเพจ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง วันละ 2 ครั้งในเวลา 14.00 -14.30 น. และ 16.00 -16.30 น. สามารถติดตามได้ที่เพจ The Thai Elephant Conservation Center Lampang 

พลายศักดิ์สุรินทร์ นอนที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยคืนแรก

 

พลายศักดิ์สุรินทร์ : การทูตสิงสาราสัตว์ ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลเชื่อมสัมพันธ์

ข้อมูลจาก มูลนิธิสืบนาคะสเถียร ระบุ เรื่องราวน่าเศร้าที่สะเทือนใจคนไทย เริ่มต้นมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รับแจ้งจากกระทรวงการต่างประเทศว่า องค์การพัฒนาเอกชนเพื่อการคุ้มครองสิทธิสัตว์ในศรีลังกา (Rally for Animal Rights & Environmnet (RARE) ที่กังวลต่อสุขภาพของพลายศักดิ์สุรินทร์ จากการดูแลที่ไม่เหมาะสม และจำเป็นต่อการเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน

พลายศักดิ์สุรินทร์ อายุกว่า 30 ปี มีขนาดตัวที่ผอมแห้ง กระดูกหลังโก่งนูน ผิวหนังแห้งหยาบ งายาวถึง 50 เซนติเมตร ขาหน้าด้านซ้ายผิดปกติ งอขาไม่ได้มานานกว่า 8 ปี มีฝีหนองที่สะโพกด้านขวาและซ้าย เป็นก้อนแข็ง มีหนองภายใน พบว่ามีอาการดังกล่าวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2563  ฝ่าเท้าบางขึ้นเพราะยืนนาน อารมณ์เซื่องซึม เครียด และตกมันได้ง่าย ผู้ดีแลตัดสินใจล่ามโซ่ไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ไปทำร้ายคนอื่น 

นี่จึงเป็นที่มาของการหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเดินเรื่องขอให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ตรวจสอบเรื่องนี้และได้พา นายทองสุก มะลิงาม ผู้เป็นเจ้าของพลายศักดิ์สุรินทร์ไปที่ศรีลังกาด้วย

พลายศักดิ์สุรินทร์ : การทูตสิงสาราสัตว์ ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลเชื่อมสัมพันธ์

 

ในที่สุด 9 พฤศจิกายน 2565 จึงได้นำพลายศักดิ์สุรินทร์ไปสวนสัตว์เดฮิวา เพื่อเข้ารับการรักษาเบื้องต้นและฟื้นฟูท่ามกลางการดูแลของผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและศรีลังกา กระทั่งได้กลับมาสู่อ้อมอกแผ่นดินไทยเมื่อวันที่ 2 ก.ค.2566  แผนเตรียมพร้อมเคลื่อนย้าย พลายศักดิ์สุรินทร์

พลายศักดิ์สุรินทร์ : การทูตสิงสาราสัตว์ ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลเชื่อมสัมพันธ์

พลายศักดิ์สุรินทร์ : การทูตสิงสาราสัตว์ ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลเชื่อมสัมพันธ์

พลายศักดิ์สุรินทร์ : การทูตสิงสาราสัตว์ ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลเชื่อมสัมพันธ์

พลายศักดิ์สุรินทร์ : การทูตสิงสาราสัตว์ ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลเชื่อมสัมพันธ์

พลายศักดิ์สุรินทร์ : การทูตสิงสาราสัตว์ ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลเชื่อมสัมพันธ์ พลายศักดิ์สุรินทร์ : การทูตสิงสาราสัตว์ ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลเชื่อมสัมพันธ์

หากพูดถึงเรื่องการใช้สัตว์เป็นทูตสันถวไมตรี จะพบว่ามีสัตว์หลายชนิดมักถูกใช้เป็นตัวแทนทางการทูตในการเจริญสัมพันธไมตรีกันระหว่างประเทศ จนหลายฝ่ายตั้งคำถามกับแนวทางนี้ว่า สมควรหรือไม่ที่ใช้สัตว์เป็นทูต เพราะที่สุดแล้ว เมื่อทูตสันถวไมตรีไม่ได้รับการดูแลอย่างดี ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ?  

ทำไมศรีลังกาจึงต้องขอช้างจากไทย

ข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งจากเว็บไซต์ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ระบุว่า ช้างเป็นสิ่งที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ ในกรณีของไทยกับศรีลังกา ทั้งสองประเทศมีช้างเป็นสัตว์ที่มีคุณค่าเหมือนกัน แต่สิ่งที่เฉพาะของศรีลังกาก็คือ ช้างศรีลังกาเป็นพันธ์ E. m. maximus มีรูปร่างใหญ่ ตัวสีดำ ใบหูใหญ่และมีสีกระจายมากบริเวณใบหู ใบหน้า งวงและลำตัว มักจะเป็นช้างสีดอหรือไม่มีงา เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติเฉพาะในประเทศศรีลังกาเท่านั้น

ช้างเอเชียพันธุ์ศรีลังกาตัวผู้ หรือช้างพลายส่วนใหญ่จะเป็นช้างสีดอ คือ ไม่มีงาคงมีแต่ขนายซึ่งเป็นงาขนาดเล็กโตประมาณเท่าข้อมือ (เส้นรอบวงประมาณ 15-20 เซนติเมตร) และพันธ์นี้ในช้างเพศผู้จะพบว่ามีงาเพียง ร้อยละ 10 เท่านั้น  สำหรับช้างไทย เป็นพันธ์ E. m.indicus เป็นช้างที่เพศผู้จะมีงา และงายาวถึงยาวมาก

นี่อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมศรีลังกาจึงมีความต้องการที่จะได้ช้างที่มีงายาว สวยงามเพื่อนำมาใช้ในพิธีกรรมในเทศกาลทางศาสนาซึ่งถือว่าเป็นความสง่างาม สมเกียรติแก่แผ่นดินและสถาบันกษัตริย์ในสมัยโบราณ ซึ่งเท่าที่มีข้อมูลก็ไม่ได้ขอเฉพาะช้างไทยแต่ช้างจากประเทศต่างๆ หลายประเทศ เช่น บังคลาเทศ แอฟริกา อินเดียเป็นต้น

การทูตสิงสาราสัตว์ จากสิ่งของมีค่าสู่สิ่งมีชีวิต

หากใครเคยดูละครที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ก็คงคุ้นชินกับการทูตที่ในอดีตเเละจนถึงปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของการเดินหน้าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งการเจรจาต่อรอง หรือแม้การสร้างข้อตกลงร่วมกันบางอย่าง ที่เคยได้ดู ได้ยิน ก็คงจะมีเรื่องการแลกเปลี่ยนสิ่งของมีค่า เช่น เงินทอง ต้นไม้ทอง สิ่งของมีค่าของรัฐนั้นๆ หรือที่เรียกว่า เครื่องราชบรรณาการ มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เพื่อผูกมิตรไมตรีหรือแสดงความเคารพ

ปัจจุบันก็ยังมีการแลกเปลี่ยนทางการทูตด้วยวิธีนี้อยู่เเต่เราจะพูดถึง การใช้สัตว์เชื่อมความสัมพันธ์  ด้านล่างนี้คือสัตว์ที่ดีที่สุดบางส่วน ที่ทำหน้าที่เป็นการแลกเปลี่ยนทางการทูต

การทูตลูกหมา โกมีและซงกัง ของขวัญสันติภาพ เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ 

ปี 2561 คิมจองอึน ผู้นำสูงสุดแห่งเกาหลีเหนือ มอบให้เป็นของขวัญเป็นสุนัขพันธุ์พุงซาน (Pungsan) จำนวน 2 ตัว แก่ "มุนแจอิน" ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ หลังจากที่มุนและภริยาเดินทางเยือนกรุงเปียงยางของเกาหลีเหนือเมื่อเดือน ก.ย. เพื่อสานต่อการเจรจาเพื่อสันติภาพในคาบสมุทรเกาหลีครั้งที่ 3 ซึ่งบางทีอาจเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างสองประเทศ แต่เเล้วนายมุนผู้นิยมเสรีได้เลิกเลี้ยงสุนัขเหล่านี้ โดยอ้างถึงการขาดการสนับสนุนทางการเงินสำหรับสุนัขจากรัฐบาลอนุรักษ์นิยม ชีวิตของสุนัขจึงจบลงที่สวนสัตว์ในเกาหลีใต้ ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลท้องถิ่นในเมืองควังจูทางตอนใต้เมื่อเดือนธันวาคม 2565 

โกมีและซงกัง ของขวัญสันติภาพ เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ 

การทูตแพนด้า พลังขนฟูสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แพนด้าเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพและมิตรภาพสำหรับชาวจีน สัตว์ชนิดนี้ถูกใช้โดยรัฐบาลเพื่อเพิ่มผลทางการเมืองเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยเป็นส่วนหนึ่งของ "การทูตแพนด้า"  ตั้งแต่ปี 2500 จีน ได้มอบแพนด้าในประเทศให้กับประเทศต่าง ๆ เพื่อเป็นการเชื่อมมิตรภาพ แฝงนัยของ Soft Power ด้วย 

การทูตแพนด้าเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังในศตวรรษที่ 7  จักรพรรดินีบูเช็กเทียนส่งแพนด้าเป็นของขวัญทั้งหมด 2 ตัวไปญี่ปุ่น  

ในปี 1957 โดยปักกิ่งได้มอบ "ผิงผิง Ping Ping" ให้กับสหภาพโซเวียตในอีดตเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศร่วมกัน ตามมาด้วยของขวัญที่คล้ายกันที่มอบให้กับสหรัฐฯ และเกาหลีเหนือในฐานะ "สัญลักษณ์แห่งมิตรภาพและความปรารถนาดี"  ในปี 2525 รัฐบาลได้ยกเลิกนโยบายการให้แพนด้าเนื่องจากสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ การทูตที่น่ากอดของจีนเปลี่ยนไปและเริ่มถูกยืมไปยังบางประเทศ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายและเงื่อนไขประกอบที่ประเทศปลายทางต้องปฏิบัติตาม เช่น สวนสัตว์ต่างประเทศต้องจ่ายเงินประมาณ 500,000 - 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีให้กับจีน ลูกหมีแพนด้าก็ยังถือเป็นทรัพย์สินของจีน 

ผู้นำมาดเข้มแห่งรัสเซีย "วลาดิเมียร์ ปูติน" ใจละลายเมื่อได้ของขวัญวันเกิดเป็นน้องหมา

ปี 2560 ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียได้รับของขวัญวันเกิดวัย 65 ปีเป็นลูกสุนัขสายพันธุ์ Alabai จากประธานาธิบดี กูร์บันกูลือ เบร์ดือมูฮาเมดอว์ ของเติร์กเมนิสถานเพื่อกอบกู้ความสัมพันธ์กับรัสเซียที่หายไปในตลาดก๊าซของประเทศ 
ผลกระทบทางการทูตของสุนัขตัวนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่รัสเซีย  มีแผน  จะกลับมานำเข้าก๊าซธรรมชาติจากเติร์กเมนิสถานในปีถัดไป (Russia To Start Importing Gas From Turkmenistan Again Next Year, Gazprom Says)  โดยพื้นฐานแล้วปูตินเป็นคนรักสุนัขและการมาเยือนของเติร์กเมนิสถานคงไม่ใช่แค่ให้ของขวัญปูตินเป็นแน่  

การทูตโคอาลา ทูตน้อยกลอยใจของออสซี่ 

ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2557 ออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอด G-20 ที่นครบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย  นายโทนี่ แอ็บบ็อต รัฐมนตรีออสเตรเลีย นำหมีโคอาล่า สัตว์ท้องถิ่นที่มีเฉพาะในประเทศของมาเป็นเครื่องมือทางการทูต

ก่อนหน้าที่จะมีการประชุมอย่างตึงเครียด โทนี่ แอ็บบ็อต รัฐมนตรีออสเตรเลีย พาผู้นำชาติ G20 ไปอุ้มหมีโคอาล่าถ่ายรูปกัน ตั้งแต่ ปูตินแห่งรัฐเซีย ประธานาธิบดีบารัก โอบามา นางเผิง หลี่หยวน สุภาพสตรีหมายเลข 1 ของจีน พากันเข้าแถวรออุ้มเจ้าหมีโคอาลากันอย่างสนุกสนาน 

ความสำคัญของช้างในประเทศไทย

ช้างมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของไทยมาตั้งแต่โบราณ จุดเริ่มต้นของอารยธรรมไทยตั้งแต่ในช่วงศตวรรษที่ 13 นั้น ช้างเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่สมัยราชอาณาจักรสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน

พลายศักดิ์สุรินทร์ : การทูตสิงสาราสัตว์ ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลเชื่อมสัมพันธ์

สำหรับชาวไทย ช้างเป็นสัตว์ชั้นสูง มีความฉลาดและคู่ควรกับการดำรงตำแหน่งเคียงข้างพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะช้างเผือกที่ได้รับเลือกให้เป็นช้างในพระราชพิธีต่าง ๆ เพราะเป็นช้างที่หายากและมีสถานภาพที่ศักดิ์สิทธิ์

พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ช้างเผือกคู่บารมี รัชกาลที่ 9

ช้างในการทำศึกสงคราม

ด้วยขนาดและพละกำลังมหาศาล ช้างจึงถูกใช้ออกรบในสมรภูมิกับข้าศึก การที่ช้างสามารถบรรทุกทหารและออกวิ่งด้วยความเร็วถึง 25 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำให้ช้างได้รับการโจษขานว่าเป็นกองกำลังอันน่าพรั่นพรึงของกองทัพ โดยเฉพาะรูปลักษณ์ที่ใหญ่มหึมา ความเร็ว ความแข็งแกร่งและความสามารถในการทำลายทุกสิ่งกีดขวางในสมรภูมิ

ช้างที่ได้รับเลือกให้พระมหากษัตริย์ทำยุทธหัตถีมักเป็นช้างพลายที่มีขนาดใหญ่และมีกะโหลกกว้าง มีงายาวและแหลมคมสามารถใช้โจมตีศัตรูได้ 

ช้างกับพระพุทธศาสนา

มีเรื่องราวของช้างในพุทธประวัติและพุทธชาดก ทำให้ช้างได้กลายเป็นสัตว์ที่มีสถานะศักดิ์สิทธิ์ ช้างยังมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดู โดยมีเทพที่หลายคนยกย่องบูชา เช่น พระพิฆเนศ ซึ่งเป็นเทพผู้มีเศียรเป็นช้างที่ให้โชคลาภและความสำเร็จ และช้างเอราวัณหรือไอราวตา ซึ่งเป็นช้างเผือกที่มีสามเศียรเป็นพาหนะของพระอินทร์ โดยเชื่อว่าจะนำพรมาให้

ช้างสำหรับแรงงานและเป็นพาหนะในการคมนาคม

ช้างเป็นประโยชน์สำหรับชาวไทยเป็นอย่างมาก ด้วยขนาดใหญ่และแข็งแรง ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา ช้างถูกใช้สำหรับงานในครัวเรือนและถือเป็นแรงงานสำคัญในการเกษตรกรรมและงานก่อสร้าง เช่น การใช้ช้างลากคันไถในการเพาะปลูก การบรรทุกสินค้าจำนวนมาก และการลากไม้ซุงในอุตสาหกรรมป่าไม้ ช้างเป็นพาหนะหลักในการขนส่งและคมนาคมในประเทศไทยมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ โดยต่อมาการใช้งานของช้างได้ลดลงเมื่อมีการเริ่มใช้ยานยนต์ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19

พลายศักดิ์สุรินทร์ : การทูตสิงสาราสัตว์ ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลเชื่อมสัมพันธ์

ข้อมูล 

mainichi.jp 

bbc 

cnn

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน

WWF Thailand

The Thai Elephant Conservation Center Lampang 

China's 'panda diplomacy': All you need to know

7 times cute animals helped change the course of history

Self-proclaimed dog lover Vladimir Putin gets a puppy as a gift from the Turkmen president