ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล เสี่ยงอะไรบ้าง?

14 เม.ย. 2566 | 18:57 น.
อัปเดตล่าสุด :14 เม.ย. 2566 | 19:29 น.

ข้อมูลรั่วไหล ภัยความมั่นคงส่วนบุคคล SMS ก่อกวน อีกความเสี่ยง ที่เราต้องเจอ รวมถึง การสะกดรอยตาม สอดแนม ภัยอันตรายถึงชีวิต ชี้ช่องลดความเสี่ยงด้วยตัวเอง

14 เมษายน 2566 - "แฮกเกอร์" ป่วนเมือง ข้อมูลส่วนบุคคล ของคนไทย รั่วไหล ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นภัยคุกคาม ความมั่นคงอีกหนึ่งเรื่องใหญ่ โดย การรั่วไหลของข้อมูลเกิดขึ้นได้หลายวิธี ทั้งโดยบังเอิญและโดยเจตนา แต่นาทีนี้ คงจะดีที่สุด หากเราระมัดระวังข้อมูลของตัวเอง ไม่ให้ตกไปอยู่ในมือของ โจรออนไลน์ หรือ มิจฉาชีพ เพราะข้อมูลดังกล่าว หากหลุดออกไปแล้ว มีความเสี่ยงและอันตรายตามมาอย่างใหญ่หลวง ดังนี้ 

ข้อมูลส่วนบุคคลรั่ว เสี่ยงอะไรบ้าง? 

  • เสี่ยงถูกขโมยตัวตน หรือสวมรอยเป็นเรา เพื่อไปก่ออาชญากรรม หรือทำเรื่องผิดกฎหมาย
  • เสี่ยงถูกใช้ประโยชน์ โดยที่เราไม่ยินยอม เช่น นำไปใช้โฆษณาทางการตลาด
  • เสี่ยงถูกขายให้บุคคลที่ 3
  • เสี่ยงถูกนำไปสร้างความเดือดร้อนรำคาญ เช่น การส่ง SMS ก่อกวนมายังโทรศัพท์มือถือ หรืออีเมล
  • เสี่ยงถูกติดตาม สะกดรอย สอดแนม ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายได้

ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล เสี่ยงอะไรบ้าง?

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงเบื้องต้น เราควรจะทำอย่างไรบ้าง

  1. คิดก่อนโพสต์ โดยคิดไว้เสมอว่า “ทุกสิ่งที่เราโพสต์หรือแชร์ไม่ได้เป็นเรื่องส่วนตัวอีกต่อไป” คนอื่นสามารถเห็นหรือส่งต่อได้
  2. ป้องกันตนเองด้วยการตั้งพาสเวิร์ดที่มั่นคง ปลอดภัย เช่น การใช้ MFA ยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย (OTP, PIN) หรือ การใช้ 2FA การยืนยันตัวตน 2 ชั้น

ที่มา : เพจเตือนภัยออนไลน์