23 มีนาคม “วันอุตุนิยมวิทยาโลก”กับภารกิจป้องกันโลกจากภัยพิบัติ

23 มี.ค. 2566 | 15:29 น.
อัปเดตล่าสุด :23 มี.ค. 2566 | 15:36 น.

23 มีนาคม “วันอุตุนิยมวิทยาโลก”องค์การสากลกับภารกิจป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติ เพื่อปกป้องชีวิต ทรัพย์สิน เศรษฐกิจและสังคมของชาติ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WORLD METEOROLOGICAL ORGANIZATION (WMO) ได้กําหนดให้วันที่ 23 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันอุตุนิยมวิทยาโลก” เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งการป้องกัน และลดผลกระทบของภัยธรรมชาติที่จะมีต่อชีวิต ทรัพย์สิน เศรษฐกิจและสังคมของชาติ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก

โดยในวันอุตุนิยมวิทยาโลกทุกปีจะเฉลิมฉลองด้วยการเสนอบทความพิเศษ ในหัวข้อที่ สังคมกําลังให้ความสนใจ การป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นความสําคัญสูงสุดขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก

วันอุตุนิยมวิทยาโลก

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก(WMO) เปลี่ยนชื่อมาจาก “องค์การอุตุระหว่างประเทศ” หรือ International Meteorological Organization (IMO) เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2493 โดยองค์การอุตุระหว่างประเทศ(IMO) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2416 และดำเนินการภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยอุตุนิยมวิทยาโลก ปัจจุบันมีสมาชิก 186 ประเทศ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศไทย เข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกลำดับที่ 19

วันอุตุนิยมวิทยาโลก

หน้าที่ของ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก(WMO)  

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก(WMO) มีทำหน้าที่ป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติ ที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบนพื้นพิภพ โดยการเฝ้าติดตามสภาพดินฟ้าอากาศพร้อมกันทุกแห่งทั่วโลก และสำรวจสภาพชั้นบรรยากาศ ที่ปกคลุมโลก 

และให้บริการด้านการพยากรณ์เพื่อความปลอดภัยของการบินพลเรือน การขนส่งทางทะเล การเกษตรกรรม การจัดสรรทรัพยากรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ ตลอดจนทำข้อตกลงเกี่ยวกับเวลา หน่วยตรวจวัด รหัสอุตุนิยมวิทยา อีกทั้งวิธีการต่างๆ ในการรวบรวมข้อมูลและกระจายข่าวสาร

ข้อมูล : WORLD METEOROLOGICAL ORGANIZATIONกรมอุตุนิยมวิทยา