1 ทศวรรษแห่งการพัฒนา “กรมฝนหลวง” ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริ

25 ม.ค. 2566 | 13:29 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ม.ค. 2566 | 13:46 น.

“เฉลิมชัย” เปิดนิทรรศการ “เปิดบ้านฝนหลวง” พร้อมจับมือ 3 หน่วยงาน แก้ปัญหาภัยแล้งและภัยพิบัติ มุ่งมั่นสืบทอดพระราชปนิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการแก้ปัญหาภัยแล้ง ไฟป่า หมอกควัน และยับยั้งความรุนแรงจากพายุลูกเห็บ

1 ทศวรรษแห่งการพัฒนา “กรมฝนหลวง”  ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริ

 

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีงานวันคล้ายวันสถาปนากรมฝนหลวงและการบินเกษตร ครอบรอบปีที่ 10 “1 ทศวรรษแห่งการพัฒนา ต่อยอดตามแนวพระราชดำริ” และได้อ่านสารอำนวยพรและมอบโอวาทให้แก่คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

 

1 ทศวรรษแห่งการพัฒนา “กรมฝนหลวง”  ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริ

เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากรกรมฝนหลวงและการบินเกษตรในการปฏิบัติหน้าที่ โดยมี นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมเกียรติ กอไพศาล ประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

1 ทศวรรษแห่งการพัฒนา “กรมฝนหลวง”  ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริ

ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา กรมฝนหลวงและการบินเกษตรมุ่งมั่นสืบทอดพระราชปนิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการแก้ปัญหาภัยแล้ง ไฟป่า หมอกควัน และยับยั้งความรุนแรงจากพายุลูกเห็บ ในขณะเดียวกันก็ยังมีการวิจัย พัฒนาความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการดัดแปรสภาพอากาศอย่างไม่หยุดยั่งควบคู่ไปด้วย เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอดในการช่วยเหลือประชาชน สำหรับการก้าวเข้าสู่ปีที่ 11 กรมฝนหลวงและการบินเกษตรจะยังคงยึดมั่นที่จะพัฒนาให้เป็นองค์กรอัจฉริยะด้านการบริหารจัดการน้ำในชั้นบรรยากาศและการบินเกษตรอย่างสมดุลและยั่งยืน

 

จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการ “เปิดบ้านฝนหลวง : Fonluang Open House” ณ บริเวณลานสนามหญ้า กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 27 มกราคม 2566 เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวการนำองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีด้านการดัดแปรสภาพอากาศไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวงให้กับเจ้าหน้าที่ของกรมฝนหลวงแลการบินเกษตร

 

1 ทศวรรษแห่งการพัฒนา “กรมฝนหลวง”  ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริ

พร้อมส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจอันดีและความเข้มแข็งของหน่วยงาน และเพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจในบทบาท หน้าที่ และภารกิจของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร นอกจากนี้ ยังได้มีการเชิญนักเรียนและเยาวชนในโรงเรียนต่าง ๆ ของพื้นที่กรุงเทพและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าร่วมงาน

 

1 ทศวรรษแห่งการพัฒนา “กรมฝนหลวง”  ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริ

โดยภายในงานมีการจัดแสดงเครื่องบินปฏิบัติการฝนหลวงยุคแรกเริ่มแบบ CESSNATU 206G ซึ่งเข้าประจำการเมื่อเดือนมีนาคม 2522 การจัดแสดงบอลลูนตรวจสภาพอากาศและรถตรวจสภาพอากาศแบบเคลื่อนที่พร้อมเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ การนำเสนอความรู้ด้านวิชาการฝนหลวงในหัวข้อ เทคโนโลยีฝนหลวง นวัตกรรมฝนหลวง และองค์ความรู้ฝนหลวง พร้อมออกบูธกิจกรรมต่าง ๆ ให้เยี่ยมชมมากมาย

 

1 ทศวรรษแห่งการพัฒนา “กรมฝนหลวง”  ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริ

ไม่ว่าจะเป็นบูธนิทรรศการให้ความรู้เรื่องขั้นตอนการทำฝน แลปฝนหลวง การทดลองวิทยาศาสตร์ด้านเคมี การทดสอบและตรวจวัดคุณภาพน้ำฝน การนำเสนอระบบข้อมูลสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวง บูธประชาสัมพันธ์เผยแพร่ช่องทางการติดต่อสื่อสารของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร โดยแต่ละบูธจะมีผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์ร่วมทดลองและเป็นวิทยากรให้ความรู้ประจำบูธต่าง ๆ ด้วย

 

 

 

นอกจากนี้ ภายในงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังได้เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการ โดยมี นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ลงนามร่วมกับ 3 หน่วยงาน

 

1 ทศวรรษแห่งการพัฒนา “กรมฝนหลวง”  ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริ

โดยแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อร่วมกันดำเนินงานเสริมสร้างความร่วมมือวิชาการ ด้านการวิจัย และเปลี่ยนองค์ความรู้ภารกิจที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน อันนำมาสู่การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถรองรับภาวะวิกฤตและภัยพิบัติด้านน้ำอย่างเหมาะสม

1 ทศวรรษแห่งการพัฒนา “กรมฝนหลวง”  ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริ

 2) ด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามความร่วมมือกับบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมกันดำเนินงานวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการเพิ่มประสิทธิภาพและสนับสนุนภารกิจการดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อการบริหารจัดการน้ำและภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยดำเนินโครงการประเมินผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติการฝนหลวง ในพื้นที่การเกษตรอาศัยน้ำฝนด้วยเทคโนโลยีสำรวจระยะไกลและปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงดิจิทัลเพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน อันเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยและการยอมรับของประชาชน

 

“วันนี้ถือเป็นอีกหนึ่งวันที่มีความสำคัญของกระทรวงเกษตรฯ ที่กรมฝนหลวงและการบินเกษตรเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน จึงต้องขอขอบคุณและขอเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่กรมฝนหลวงและการบินเกษตรทุกท่าน ในการปฏิบัติหน้าที่จนสำเร็จลุล่วง สามารถสนับสนุนให้บรรลุวิสัยทัศน์ “การเป็นองค์กรอัจฉริยะด้านบริหารจัดการน้ำในชั้นบรรยากาศและการบินเกษตรอย่างสมดุลและยั่งยืน” ของหน่วยงาน

1 ทศวรรษแห่งการพัฒนา “กรมฝนหลวง”  ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริ

อย่างไรก็ตาม มุ่งหวังให้องค์กรเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง จึงต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้ปฏิบัติตามภารกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้กับประเทศชาติ และสำหรับการจัดงานนิทรรศการ “เปิดบ้านฝนหลวง” ในครั้งนี้ จะเป็นการเผยแพร่ภารกิจของกรมฝนหลวงฯ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้าร่วมงานทุกท่านจะได้รับประโยชน์ เกิดความรู้ ความเข้าใจ เกิดภาพลักษณ์อันดี และส่งเสริมให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคการเกษตรเกิดพัฒนา พี่น้องเกษตรกรและประชาชนชาวไทยมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป” ดร.เฉลิมชัย กล่าว