"กราดยิงหนองบัวลำภู" สู่การปฏิรูปตำรวจไทย ควรทำอย่างไร อ่านเลย

07 ต.ค. 2565 | 11:00 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ต.ค. 2565 | 18:00 น.
705

กราดยิงหนองบัวลำภูสู่การปฏิรูปตำรวจไทย ควรทำอย่างไร อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ กมล กมลตระกูล เทียบกรณีศึกษากับสหรัฐอเมริกา และระบบการกระจายอำนาจ

กราดยิงหนองบัวลำภู กลายเป็นโศกนาฎกรรม หนองบัวลำภู ครั้งสำคัญที่เป็นอุทาหรณ์ให้ทุกฝ่ายตื่นตัวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

เนื่องจากเรื่องดังกล่าวได้สร้างความสั่นสะเทือนใจให้กับคนไทย และเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงไปทั่วโลก

 

ล่าสุด นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ โพสเฟสบุ๊กส่วนตัว (กมล กมลตระกูล) โดยมีข้อความระบุว่า  มหาโศกนาฏกรรมที่หนองบัวลำภู : ถึงเวลาปฏิรูปตำรวจไทย ศึกษาจากอเมริกา ระบบตำรวจอเมริกัน : ระบบการกระจายอำนาจ

 

นายกมล กล่าวไว้ว่า ระบบตำรวจอเมริกันมีชั้นยศน้อยมาก แต่แบ่งอำนาจความรับผิดชอบตามหน้าที่มากกว่า คล้ายๆกับพนักงานของบริษัท อเมริกาไม่มีระบบหรือโครงสร้างตำรวจแห่งชาติ   แต่มีการแบ่งอำนาจและหน้าที่เป็นส่วนงานตามภูมิศาสตร์   5 โดย มี 5 หน่วยงานหลักดังนี้    

 

  • Federal :  ตำรวจส่วนกลาง ซึ่งขึ้นต่อกระทรวงยุติธรรม The Federal Bureau of Investigation (FBI), หน่วยสืบสวนกลางหรือ เอฟบีไอ  มีหน้าที่สืบสวน สอบสวนในทุกระดับทั่วประเทศ  เป็นตำรวจส่วนกลางของชาติ ขึ้นต่ออธิบดีกรมอัยการ ( Attorney General )  และ  ผู้อำนวยการหน่วยสืบราชการลับ(Director of National Intelligence)  มีอำนาจครอบคลุมในการสืบสวนและจับในคดีกว่า 200 ประเภท เอฟบีไอ แม้ว่าบทบาทหน้าที่หลักมีขอบเขตออยู่ภายในประเทศ แต่ ก็มีตัวแทนทำงานเป็นสำนักเล็กๆในสถานทูต  60  แห่ง ทั่วโลก  และในสถานกงศุลอีก 15 แห่ง เพื่อทำงานลับ
  • State ตำรวจของรัฐ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ  เช่น ตำรวจของรัฐ ( State police ) ตำรวจทางหลวง  (Highway patrol) ,กำลังพลของรัฐ ( State Troopers) มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย การสืบสวน สอบสวน ในขอบเขตทั้งรัฐ โดยการลาดตระเวนบนทางหลวง และทางด่วน ซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่และเชื่อมต่อระหว่างรัฐ  ช่วยเหลือในด้านการสืบสวนสอบสวนแก่ตำรวจอำเภอและท้องถิ่นที่มีทัพยากรไม่พอ และมีขอบเขตงานแค่ในพื้นที่ของตน 

 

  • County ตำรวจของอำเภอมีชื่อเรียกว่า Sheriff มีหน้าที่และบทบาทดูแลและบังคับใช้กฎหมาย การสืบสวน สอบสวนในพื้นที่ห่างไกลในชนบทที่ยังไม่เป็นเมืองใหญ่ บางรัฐมีบทบาทร่วมกับตำรวจประจำเมือง บางรัฐทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เช่น ลาดตระเวนบนทางหลวง นำหมายศาลไปส่งจำเลย ดูแลผู้พิพากษาและความปลอดภัยในศาล  ควบคุมนักโทษมาขึ้นศาล  ดูแลและลาดตระเวนเขตป่าสงวน อุทยานแห่งชาติ 

 

  • Municipal ตำรวจของเมือง หรือตำรวจ(ประจำ) ท้องถิ่นมักจะมีชื่อตามเมือง เช่น NYPD ( New York Police Department) คือ ตำรวจเมืองนิวยอร์ก หรือ LAPD ( Los Angeles Police Department)  คือ ตำรวจเมืองลอสแอนเจลิส งบประมาณจะมาจากภาษีของประชาชนในแต่ละเมืองหรือท้องถิ่น   ตำรวจเป็นลูกจ้างหรือพนักงานขององค์กรปกครองท้องถิ่น 

 

  • Other ตำรวจเฉพาะด้าน เช่น ตำรวจจราจร (Transit police) ตำรวจโรงเรียน- ( ( School district police ),  ตำรวจมหาวิทยาลัย  (Campus police)  ,  ตำรวจสนามบิน ( Airport police) ตำรวจรถไฟ( Railroad police) , ตำรวจอุทยานแห่งชาติ ( Park police) เป็นต้น    ตำรวจเหล่านี้ รวมทั้ง Sheriff อาจจะเป็นลูกจ้างของบริษัทรักษาความปลอภัยเอกชนที่หน่วยงานของรัฐจ้างมาทำหน้าที่นี้) ทหารอเมริกันที่ไปรบในประเทศอิรัคบางหน่วยก็เป็นลูกจ้างของบริษัทเหล่านี้ หรือคุกบางแห่งก็เช่นเดียวกัน

หน้าที่หลักๆของตำรวจมี 3 ด้าน คือ 

  • รักษาความสงบสุขและดูแลความปลอดภัยของประชาชนและสังคม ป้องกันการก่อความไม่สงบต่อผู้อื่น เช่น เมื่อประชาชนมาเดินขบวนประท้วงรัฐบาล ตำรวจมีหน้าที่มาดูแลรักษาความสงบสุขและดูแลความปลอดภัยของประชาชน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงหรือเกิดความเสียหายต่อสาธารณสมบัติ เป็นต้น

 

  • การบังคับใช้กฎหมายที่ถูกละเมิด เช่น การปล้น การฆาตกรรม การขโมย  การฝ่าฝืนกฎจราจร ฯลฯ ซึ่งผิดกฎหมาย

 

  • การให้บริการฉุกเฉิน  

 

ชั้นยศและตำแหน่งของตำรวจอเมริกัน

 

ตำรวจอเมริกันไม่ได้มีชั้นยศหรือตำแหน่งแบบข้าราชการ แต่แบ่งตามหน้าที่และความรับผิดชอบ ตำแหน่งต่อไปนี้ใช้โดยทั่วไปในสำนักงาน กรม หรือ กอง ของตำรวจทั้งในระดับรัฐและระดับเมือง
 

ตำแหน่งสูงสุดของตำรวจซึ่งมีหลายชื่อที่เรียกกัน  คือ  Police Commissioner/Chief of Police/Superintendent: ถ้าแปลเป็นไทย คือ หัวหน้าตำรวจ มีหน้าที่ 4 ด้าน คือ 

  • แต่งตั้งและเลื่อนตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ 
  • ตรวจตราและติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • กำหนดนโยบายและออกระเบียบให้หน่วยงานตำรวจทั้งหมดนำไปปฏิบัติ
  • ทำรายงานผลการปฏิบัติงานเสนอผู้ว่าการรัฐหรือ นายกเทศมนตรีอย่างสม่ำเสมอ

 

Assistant Chief: ผู้ช่วยหัวหน้าตำรวจ

 

เป็นตำแหน่งอันดับสอง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักงานตำรวจในระดับรัฐที่ดูแลหลายเมือง

 

Deputy Chief/Deputy Commissioner/ Deputy Superintendent: รองหัวหน้าตำรวจ

 

เป็นตำแหน่งอันดับสาม มีหน้าที่แล้วแต่จะได้รับการมอบหมายจากหัวหน้าตำรวจ

 

ตำแหน่งอื่นๆ

  • Inspector/Commander : นักสืบ
  • Colonel : พันเอก เป็นผู้บริหารระดับสูง
  • Major/Deputy Inspector :  พันโท เป็นผู้กำกับสถานีตำรวจ
  • Captain : พันตรี เป็นผู้บังคับหน่วย
  • Lieutenant : ร้อยโท เป็นหัวหน้าดูแลนายจ่า   หรือบางแผนกงานในสำนักงาน
  • Sergeant : นายจ่า เป็นผู้ดูแลและจัดเวลาทำงานให้ตำรวจออกไปปฏิบัติการ
  • Detective/Inspector :  นักสืบนอกเครื่องแบบ ซึ่งมีอำนาจหลายๆด้านมากกว่าตำรวจประจำการ
  • Officer/Deputy : เป็นตำแหน่งระดับล่างที่สุดของตำรวจ มีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและรักษาความสงบในพื้นที่สาธารณะ

 

เสียงเรียกร้องให้ปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติและระบบโครงสร้างตำรวจอย่างทั่วด้าน เพราะว่าตำรวจไทยยังติดยึดอยู่กับมายาคติเก่าที่ว่า “ไม่มีอะไรภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ที่ตำรวจไทยจะทำไม่ได้" แม้ว่าตำรวจที่ดีจะมีมาก แต่บทบาทของตำรวจเลวกับเด่นกว่าและทำให้ภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและตำรวจโดยรวม “เน่าไปทั้งข้อง”
 

ปัญหาหลักนั้นเกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การวมศูนย์อำนาจการบังคับบัญชามาอยู่ที่ส่วนกลาง  ซึ่งนำไปสู่การรับผลประโยชน์ในหลายๆรูปแบบ จึงเกิดการซื้อขายตำแหน่งกันด้วยเงินก้อนมหาศาลในแต่ละตำแหน่ง 

 

ดังนั้นการปรับโครงสร้างโดยการกระจายอำนาจ และตัดลดงานให้เหลือเฉพาะ 3 ด้านแบบระบบอเมริกัน คือ การรักษาความสงบสุข การบังคับใช้กฎหมาย ( มิใช่เป็นผู้ละเมิดเสียเอง) และการให้บริการฉุกเฉินเพียงเท่านี้ และยกเลิกยศตำแหน่งทั้งหมดให้เป็นตำแหน่งตามหน้าที่ของงานที่รับผิดชอบเหมือนภาคเอกชน

 

ในด้านการบริหารให้โอนไปขึ้นกับงบประมาณขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นโดยมีการสรรหาคณะกรรมการตำรวจประจำจังหวัดมาเป็นผู้กำกับนโยบาย ให้ตำรวจทำหน้าที่ “ผู้พิทักษ์สันติราษฎรที่แท้จริง” มิใช่ตรงกันข้ามอย่างทุกวันนี้