รีวิว JAECOO 6 EV มอเตอร์คู่ อวดศักยภาพลุยออฟโรด

21 ก.ย. 2567 | 08:10 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ก.ย. 2567 | 08:20 น.

รถจีน“เชอรี่”กลับมาทำตลาดในไทยอีกครั้ง ด้วยแบรนด์ OMODA & JAECOO ซึ่งคราวนี้บริษัทแม่ลงมาลุยเอง และมีแผนร่วมกับพันธมิตรไทยตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า EV และ ไฮบริด ต้นปี 2568

รีวิว JAECOO 6 EV แบตเตอรี่ไม่ห้อยเหมือน OMODA C5 EV แจ้งว่ามีความสามารถในการลุยน้ำได้สูง 600 มม.

 

OMODA (อ่านว่า โอโมด้า) กับ JAECOO (อ่านว่า เจคู่) เป็นรถ 2 ยี่ห้อก็จริงครับ แต่มัดรวมขายพ่วงอยู่บนโชว์รูมเดียวกัน ประเดิมนำเข้าเอสยูวีพลังงานไฟฟ้า OMODA C5 EV และ JAECOO 6 EV โดยรุ่นแรกยังใช้พื้นฐานการพัฒนามาจากรถ ICE (มีรุ่น OMODA 5 เครื่องยนต์เบนซิน 1.5 ลิตร เทอร์โบ ขายในตลาดโลก) สังเกตจากชุดแพกแบตเตอรี่ LFP ที่ยังห้อยอยู่ใต้ท้องรถ และช่องชาร์จไฟอยู่ที่กระจังหน้า แตกต่างจาก JAECOO 6 EV หรือ iCar ในจีน ที่ใช้แพลตฟอร์ม EV โดยเฉพาะ

รีวิว JAECOO 6 EV รีวิว JAECOO 6 EV รีวิว JAECOO 6 EV รีวิว JAECOO 6 EV รีวิว JAECOO 6 EV

OMODA C5 EV แบ่งการขายเป็น 2 รุ่นย่อยราคา 8.99 แสนบาท และ 9.49 แสนบาท ส่วน JAECOO 6 EV รุ่นมอเตอร์เดี่ยวราคา 1.099 ล้านบาท และมอเตอร์คู่ 1.249 ล้านบาท

 

ผมมีโอกาสลองขับ OMODA C5 EV จากกรุงเทพฯ ไป จ.นครนายก และได้ทดสอบ ทำ รีวิว JAECOO 6 EV สั้นๆ ในสนามออฟโรด และออนโรด แถวๆ อ่างเก็บน้ำวังบอน โดยส่วนตัวคิดว่า JAECOO 6 EV ขับดี มีความโดดเด่น และเปิดโอกาสในการขายได้มากกว่า OMODA C5 EV

 

จริงๆ รถสองยี่ห้อมีแนวคิดและรูปลักษณ์ต่างกันชัดเจน ตรงนี้แล้วแต่ชอบนะครับ OMODA C5 EV เป็นบี-เอสยูวี ที่ออกแนวโฉบเฉี่ยว เป็นเอสยูวีสไตล์คูเป้ ส่วน JAECOO ออกแนวบึกบึน ทรงกล่อง อารมณ์ประมาณแลนด์โรเวอร์

 

สำหรับ เชอรี่ ถือเป็นพันมิตรสำคัญของ จากัวร์ แลนด์โรเวอร์ ในจีน โดยมีการร่วมทุนเปิดโรงงานผลิต ที่เมืองเจียงซู ดังนั้น JAECOO จึงได้การถ่ายทอดแรงบันดาลใจในการออกแบบมาเต็มๆ จากแบรนด์ออฟโรด ระดับตำนานของอังกฤษ ซึ่งอีกสองรุ่นที่จ่อนำเข้ามาทำตลาดในไทยอย่าง JAECOO 7 และ JAECOO 9 จะเห็นความชัดเจนกว่า JAECOO 6 เสียอีก

ผมลองขับ รีวิว JAECOO 6 EV ราคา 1.249 ล้านบาท มอเตอร์หน้า-หลังให้กำลังรวม 279 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 385 นิวตัน-เมตร เป็นรถขับเคลื่อนสี่ล้อ ที่มอเตอร์ไฟฟ้าด้านหลังจะทำงานเป็นหลัก ส่วนมอเตอร์หน้าจะเข้ามาเสริมสมรรถนะในหลายๆ จังหวะการขับขี่

 

ด้วยการที่รถพัฒนามาจากแพลตฟอร์ม EV โดยเฉพาะ จึงสามารถยืดล้อคู่หน้า-หลัง ออกไปห่างกันได้สุดๆ ส่งผลให้รถมีโอเวอร์แฮงค์สั้น เพิ่มมุมไต่ (28 องศา) มุมจาก (32 องศา) ส่งเสริมเรื่องการลุยแบบออฟโรด ไต่หิน ขึ้น-ลงเนินชัน แม้ระยะต่ำสุดจากพื้น(Ground Clearance) จะสูงแค่ 195 มม.

รีวิว JAECOO 6 EV รีวิว JAECOO 6 EV รีวิว JAECOO 6 EV

JAECOO 6 EV แบตเตอรี่ไม่ห้อยเหมือน OMODA C5 EV ขณะที่มิติตัวถังยาว 4,406 มม. กว้าง 1,910 มม. สูง 1,715 มม. ระยะฐานล้อ 2,715 มม. พร้อมแจ้งว่ามีความสามารถในการลุยน้ำได้สูง 600 มม.

 

รีวิว JAECOO 6 EV รุ่นมอเตอร์คู่ ให้อารมณ์การขับขี่กระฉับกระเฉง บนทางดำถนนดี อัตราเร่ง 0 - 100 กม./ชม. ทำได้ 6.5 วินาที ช่วงล่างหน้าแมคเฟอร์สันสตรัท หลังมัลติลิ้งค์ ล้ออัลลอยขนาด 19 นิ้ว ประกบยาง 225/55 R19 (ถ้ารุ่น 2WD ใช้ล้อ 18 นิ้ว) ลงตัวทั้งด้านพละกำลัง และการยึดเกาะถนน

 

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน LFP ความจุ 69.77 kWh ชาร์จไฟเต็มหนึ่งครั้งวิ่งได้ 364 กิโลเมตร (WLTP) ซึ่งขับจริงอาจจะเหลือ 330-340 กม. ถือว่าพิสัยการเดินทางยังน้อยไปนิด (และไม่ควรใช้ชื่อรุ่นว่า Long Range) ส่วนการชาร์จรองรับไฟฟ้ากระแสสลับ AC 6.6 kW และกระแสตรง DC 80 kW

 

รวบรัดตัดความ...แน่นอนว่า คนที่ซื้อเอสยูวี EV ราคาล้านต้นๆ อาจจะไม่ได้นำรถไปลุยออฟโรดจริงจัง (แบบในภาพ) แต่การจัดอีเวนต์ให้ลองขับแบบนี้ แสดงว่า “เชอรี่” หวังสร้างภาพลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างให้กับแบรนด์ JAECOO ซึ่งตัวรถมีจุดขาย ที่สามารถแข่งขันได้ ทั้งความหล่อ พร้อมสมรรถนะจากมอเตอร์คู่ เพียงแต่ต้องแลกด้วยระยะทางวิ่งที่สั้นลง

รีวิว JAECOO 6 EV รีวิว JAECOO 6 EV

รีวิว JAECOO 6 EV : กรกิต กสิคุณ