KEY
POINTS
การเดินทางด้วยรถยนต์ถือเป็นทางเลือกที่สะดวกต่อการเดินทางในปัจจุบัน แต่เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว อีกทั้งสงครามระหว่างประเทศ ที่ส่งผลให้ราคาสินค้าพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง 1 ในนั้น คือ ราคาน้ำมันที่มีการปรับขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ผู้คนหลายคนลังเลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ส่วนบุคคล
ล่าสุด “รถพลังงานไฟฟ้า” กลายเป็นอีกทางเลือกที่ตอบโจทย์การเดินทางให้ง่ายขึ้น แต่มักจะพบว่าราคารถพลังงานไฟฟ้าหากเทียบกับรถสันดาปที่ใช้น้ำมันถือว่ามีราคาที่ค่อนข้างสูงไม่น้อย ทำให้ภาครัฐได้ออกมาตรการจูงใจแก่ผู้ใช้รถพลังงานไฟฟ้าที่ช่วยให้การตัดสินใจซื้อรถยนต์ง่ายขึ้น
นั่นคือ มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 ในช่วงเวลา 4 ปี (ปี2567 – 2570) โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2567 เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และผลักดันไทยก้าวสู่การเป็นฐานผลิตชั้นนำของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค
ถึงแม้ว่าภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นการซื้อรถพลังงานไฟฟ้าก็ตาม แต่ปัจจุบันกลับพบว่ายอดจดทะเบียนรถใหม่ลดลงอย่างน่าแปลกใจ ทางกรมการขนส่งทางบก หรือ ขบ.ได้เผยสาเหตุที่ยอดจดทะเบียนรถลดลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ซึ่งมีปัจจัยมาจากในช่วงต้นปีทุกๆปีมักมีการจัดงานแสดงรถ (Motor Show) ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มักเลือกจดทะเบียนรถในช่วงต้นปี ส่งผลให้ในช่วงกลางปีไปจนถึงไตรมาสที่ 3-ไตรมาสที่ 4 มียอดจดทะเบียนลดลง
จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นเป็นเหตุให้กรมขนส่งทางบกต้องเร่งรัดให้ประชาชนจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันนที่ออกรถป้ายแดง เพื่อจูงใจให้ประชาชนเข้ามาจดทะเบียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากสถิติของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) พบว่ารถจดทะเบียนใหม่ เดือนพฤษภาคม 2567 จำนวน 255,772 คัน มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ลดลง 13.29% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนในเดือนพฤษภาคม 2566 จำนวน 294,958 คัน แบ่งเป็น
รถจดทะเบียนใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ จำนวน 249,757 คัน คิดเป็น 97.65% ลดลง 13.13% และรถจดทะเบียนใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก จำนวน 6,015 คัน ลดลง 2.35%
นอกจากนี้ภายในเดือนพฤษภาคม 2567 มีรถจดทะเบียนใหม่พลังงานไฟฟ้า จำนวน 19,561 คัน แบ่งเป็น รถไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) จำนวน 8,068 คัน รถไฟฟ้าไฮบริด (HEV) จำนวน 10,789 คัน รถไฮบริดแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) จำนวน 704 คัน
จากรายงานสถิติการขนส่ง ปีงบประมาณ 2567 ประจำเดือนพฤษภาคม 2567 พบว่ามีรถจดทะเบียนสะสม ณ 31 พฤษภาคม 2567 จำนวน 44,647,695 คัน แบ่งเป็น รถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ จำนวน 43,268,296 คัน คิดเป็น 96.91% รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 22,697,458 คันคิดเป็น 52.46%
รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน จำนวน 12,005,043 คัน คิดเป็น 27.75% รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล จำนวน7,087,571 คัน คิดเป็น 16.38% รถแทรกเตอร์ จำนวน 654,497 คัน คิดเป็น 1.51% รถนั่งเกิน 7 คน จำนวน 449,176 คัน คิดเป็น 1.04% รถจักรยานยนต์สาธารณะ จำนวน 126,103 คัน คิดเป็น 0.29%
รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก จำนวน 1,379,399 คัน คิดเป็น 3.09% โดยเป็นรถบรรทุก จำนวน 1,251,211 คัน คิดเป็น 90.71%และรถโดยสาร จำนวน 127,613 คัน คิดเป็น 9.25%
รถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่จดทะเบียนสะสม ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 635,692 คัน แบ่งเป็น ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 632,628 คัน ดังนี้ รถไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) จำนวน 172,265 คัน รถไฟฟ้าไฮบริด (HEV) จำนวน 402,412 คัน
รถไฮบริดแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) จำนวน 57,951 คัน และตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก มีจำนวนทั้งสิ้น 3,064 คัน ดังนี้ รถไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) จำนวน 3,062 คันรถไฟฟ้าไฮบริด (HEV) จำนวน 2 คัน
ทั้งนี้พบว่ามีรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่จดทะเบียนสะสม จำแนกตามยี่ห้อ 5 อันดับแรก ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 แบ่งเป็นรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน ดังนี้ 1.BYD จำนวน 43,579 คัน คิดเป็น 36.49% 2.MG จำนวน 21,910 คัน คิดเป็น 18.34% 3.NETA จำนวน 16,332 คัน คิดเป็น 13.67% 4.ORA จำนวน 11,861 คัน คิดเป็น 9.93% 5.TESLA จำนวน 10,886คัน คิดเป็น 9.11%
ด้านรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่จดทะเบียนสะสม จำแนกตามยี่ห้อ 5 อันดับแรก ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 โดยเป็นรถนั่งเกิน 7 คน ดังนี้ 1.TOYOTA จำนวน 4 คัน คิดเป็น 20% 2.JOYLONG จำนวน 3 คัน คิดเป็น 15% 3.ADDO จำนวน 2 คัน คิดเป็น 10% 4.FOTON จำนวน 2 คัน 5.HIGER คิดเป็น 10% จำนวน 2 คัน คิดเป็น 10%
รถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่จดทะเบียนสะสม จำแนกตามยี่ห้อ 5 อันดับแรก ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 โดยเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ดังนี้ 1.BYD จำนวน 136 คัน คิดเป็น 30.43% 2. FOTON จำนวน 125 คัน คิดเป็น 27.96%
3.TAKANO CARS จำนวน 32 คัน คิดเป็น 7.16% 4.SERES จำนวน 30 คัน คิดเป็น 6.71% 5.MINE จำนวน 29 คัน คิดเป็น 6.49%
รถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่จดทะเบียนสะสม จำแนกตามยี่ห้อ 5 อันดับแรก ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 โดยเป็นรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ดังนี้ 1.deco จำนวน 17,627 คัน คิดเป็น 35.66% 2. LION EV จำนวน 5,310 คัน คิดเป็น 10.74% 3.H SEM MOTOR จำนวน 4,799 คัน คิดเป็น 9.71% 4.AJ EV bike จำนวน 4,056 คัน คิดเป็น 8.21% 5.HNZ จำนวน 2,784 คัน คิดเป็น 5.63%
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าถึงแม้ว่ายอดจดทะเบียนรถมีการหดตัวลง แต่ยังพบว่าปริมาณการจดทะเบียนรถพลังงานไฟฟ้ามีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากภาครัฐมีมาตรการจูงใจอีก เชื่อว่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้ประชาชนหันมาจดทะเบียนรถเพิ่มขึ้นตลอดทั้งปีอย่างแน่นอน