Toyota Multi-pathway รถแข่ง พลังงานใหม่ พันธมิตรสำคัญ

30 ธ.ค. 2566 | 14:31 น.
อัปเดตล่าสุด :30 ธ.ค. 2566 | 14:50 น.

โตโยต้า กับนโยบายการเดินทางที่หลากหลาย Toyota Multi-pathway ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง กล่าวคือ EV ก็มุ่งไป แต่ต้องศึกษารถยนต์ทพลังงานใหม่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน พร้อมร่วมกับพันธมิตร รักษาซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมยานยนต์ให้แข็งแกร่ง อย่างยั่งยืน

โตโยต้า ที่วางบทบาทให้ประเทศไทยเป็นฐานธุรกิจสำคัญ ดังนั้นโครงการต่างๆ จากญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน จึงถูกยกมาศึกษาร่วมกับพันธมิตร และคู่ค้า อย่างน่าสนใจ

 

ล่าสุด เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ทรู ลีสซิ่ง ปูนซิเมนต์ไทย (เอสซีจี) โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (โตโยต้า) และ Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อเร่งความร่วมมือในการมุ่งสู่การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย ผ่านการดำเนินงาน 3 ด้าน คือ ข้อมูล ด้านการเดินทาง และด้านพลังงาน

Toyota Multi-pathway รถแข่ง พลังงานใหม่ พันธมิตรสำคัญ Toyota Multi-pathway รถแข่ง พลังงานใหม่ พันธมิตรสำคัญ Toyota Multi-pathway รถแข่ง พลังงานใหม่ พันธมิตรสำคัญ

สำหรับ โซลูชันด้านการใช้ข้อมูล ได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้า คือประสิทธิภาพของการโหลด และปรับเส้นทางในการจัดส่งอย่างเหมาะสม ด้วยการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ด้านการค้าปลีกและการขนส่งของแม็คโคร ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจค้าปลีกของกลุ่มซีพีรวมถึงเอสซีจี

 

ส่วนโซลูชันด้านการเดินทาง หลังจากที่ โตโยต้า มีการเปิดตัวยานพาหนะที่มีความหลากหลาย รวมทั้งรถบรรทุกที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEVs) รถกระบะไฟฟ้าต้นแบบ Hilux Revo BEV Concept รถ Japan Taxi LPG-HEV และรถตู้ขนาดเล็กเพื่อการพาณิชย์ (Kei) โดยการใช้งานจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับการขนส่งในแต่ละประเภทและในแต่ละวัน

 

โครงการความร่วมมือครั้งนี้ มีการใช้รถพลังงานไฮโดรเจน และรถตู้ขนาดเล็ก ในธุรกิจค้าปลีกของ กลุ่มซีพี และเอสซีจี ซึ่งส่งผลให้สามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 68 ตันต่อปี นอกจากนี้ ยังประสบความสำเร็จในการริเริ่มการใช้โดรนไฮโดรเจนต้นแบบสำหรับหว่านเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และงานอื่นๆ ในพื้นที่เกษตรของซีพี

ขณะที่ โซลูชันด้านพลังงาน มีการเปิดตัวเครื่องผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากฟาร์มไก่ไข่ของซีพีเอฟและอาหารเหลือทิ้งจากโรงอาหารของโตโยต้า โดยนำพลังงานนั้นมาใช้กับรถบรรทุกพลังงานไฮโดรเจน แลพยังมีแผนที่จะเริ่มโครงการสาธิตการจัดการพลังงาน โดยใช้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์)  และระบบการจัดเก็บพลังงานในแบตเตอรี่

Toyota Multi-pathway รถแข่ง พลังงานใหม่ พันธมิตรสำคัญ Toyota Multi-pathway รถแข่ง พลังงานใหม่ พันธมิตรสำคัญ Toyota Multi-pathway รถแข่ง พลังงานใหม่ พันธมิตรสำคัญ

นอกจากนี้ โตโยต้ายังส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน "IDEMITSU SUPER ENDURANCE SOUTHEAST ASIA TROPHY 2023" เมื่อวันที่ 22 - 23 ธันวาคม 2566 ณ สนามช้าง จ.บุรีรัมย์ โดยมีรถยนต์เข้าร่วมการแข่งขัน 3 คัน ซึ่งทุกคันสามารถวิ่งจนจบการแข่งขัน

  • ORC ROOKIE GR86 CNF concept ใช้เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน
  • ORC ROOKIE GR Corolla H2 concept Corolla เครื่องยนต์ไฮโดรเจน
  • CP ROOKIE PRIUS CNF-HEV GR concept รถยนต์พริอุสไฮบริด

 

นายอากิโอะ โตโยดะ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เราพยายามเพิ่มทางเลือกสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนให้มากขึ้นโดยเริ่มจากกีฬามอเตอร์สปอร์ต รถ GR86 และ Prius ใช้เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน ส่วน Corolla เครื่องยนต์ไฮโดรเจนก็ใช้ไฮโดรเจนบางส่วนที่ผลิตจากก๊าซชีวภาพที่เกิดจากมูลไก่ในฟาร์มของ CP

ภายใต้ความมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศไทย โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของทั้งสองบริษัท ซึ่ง คุณขจร เจียรวนนท์ กรรมการบริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ มาร่วมกับทีม Rookie Racing ในการขับ CP ROOKIE PRIUS CNF-HEV GR concept  ในครั้งนี้ด้วย

Toyota Multi-pathway รถแข่ง พลังงานใหม่ พันธมิตรสำคัญ

“ในบางครั้ง การสร้างอนาคตภายใต้จุดมุ่งหมายที่จะขับเคลื่อนสังคมให้มีความเป็นกลางทางคาร์บอน เป็นเรื่องยากที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งที่จะทำได้โดยลำพัง หากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตพลังงาน ผู้ขนส่ง ผู้ใช้ และผู้ผลิตรถยนต์ ทุก ๆ คนร่วมมือกัน จำนวนพันธมิตรของพวกเรา ก็จะเพิ่มมากขึ้น แล้วผมเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตก็จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน” นายโตโยดะ กล่าว