รถยนต์ขายดีในไทย เดือนมกราคม 66 มีแบรนด์ไหน เช็คเลย

25 ก.พ. 2566 | 12:41 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ก.พ. 2566 | 12:56 น.
611

ส่อง 10 อันดับรถยนต์ขายดีในไทย จะมีแบรนด์ไหนบ้าง ขายได้กี่คัน พร้อมเจาะแนวโน้มตลาดรุ่งหรือร่วง เช็คเลยที่นี่

ตลาดรถยนต์ไทย ประเดิมเดือนมกราคม 2566 ด้วยจำนวนยอดขายรถรวม 65,579 คัน ลดลง 5.6% ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับยอดขายมาจากการขาดแคลนชิ้นส่วนที่ใช้ในการประกอบรถยนต์ อย่างไรก็ตามคาดว่าในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 แนวโน้มการขายจะขยับตัวดีขึ้น อันเนื่องมาจากภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น การท่องเที่ยวฟื้นตัว 

สำหรับ 10 อันดับแบรนด์รถยนต์ที่ขายดี ประจำเดือนมกราคม 2566 

อันดับ 1 โตโยต้า

  • 23,796 คัน เพิ่มขึ้น 7.4% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%

อันดับ 2 อีซูซุ

  • 14,651 คัน ลดลง 5.0% ส่วนแบ่งตลาด 22.3%

อันดับ 3 ฮอนด้า

  • 7,071 คัน ลดลง 17.1% ส่วนแบ่งตลาด 10.8%

อันดับ 4 ฟอร์ด 

  • 3,377 คัน เพิ่มขึ้น 34.5 % ส่วนแบ่งตลาด 5.1 %

อันดับ 5 มิตซูบิชิ 

  • 3,284 คัน ลดลง 32.1% ส่วนแบ่งตลาด 5.0 %

อันดับ 6 เอ็มจี

  • 2,233 คัน ลดลง 30.5 % ส่วนแบ่งตลาด 3.4 %

อันดับ 7 นิสสัน

  • 1,700 คัน ลดลง 32.4% ส่วนแบ่งตลาด 2.6%

อันดับ 8 มาสด้า

  • 1,356 คัน ลดลง 58.0% ส่วนแบ่งตลาด 2.1 %

อันดับ 9 บีวายดี

  • 1,040 คัน ส่วนแบ่งตลาด1.6%

อันดับ 10 ซูซูกิ

  • 1,013 คัน ลดลง 45.3 % ส่วนแบ่งตลาด 1.5 %
     

ด้านนายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ไทย เปิดฤดูกาลขายประจำปี 2566 ด้วยยอดขาย 65,579 คัน ลดลง 5.6% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 22,864 คัน ลดลง 2.1% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 42,715 คัน ลดลง 7.3% และรถกระบะขนาด 1 ตัน มียอดขายที่ 31,771 คัน ลดลง 9.1%

 

"ยอดขายรถยนต์ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เปิดฤดูกาลขายตามดัชนีการขายประจำไตรมาสแรกของปีที่มักชะลอตัว เพราะว่าการขาดแคลนชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิตรถยนต์เป็นปัจจัยลบสำคัญที่ยังคงดำเนินอยู่ ในขณะที่ค่ายรถยนต์ต่างพยายามส่งมอบรถที่ได้รับจองในช่วงไตรมาสสุดท้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงงาน “มหกรรมยานยนต์”หรือ "มอเตอร์เอ็กซ์โป 2022" ซึ่งกำลังซื้อของลูกค้าได้ถูกใช้ไปกับแคมเปญส่งเสริมการขายที่แรงที่สุดในรอบปี"

รถยนต์ขายดีในไทย เดือนมกราคม 66 มีแบรนด์ไหน เช็คเลย

นายศุภกร กล่าวเพิ่มเติมว่า  ตลาดรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์มีแนวโน้มค่อยๆ ขยับตัวดีขึ้น จากปัจจัยบวกคือภาพรวมเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศภายหลังการคลี่คลายของสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวดีขึ้น ช่วยส่งเสริมภาพรวมของเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม รวมไปถึงราคาพลังงานที่รักษาระดับราคา ซึ่งส่งผลดีต่อตลาดรถยนต์ด้วยเช่นกัน

นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด