น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท. ได้ส่งเสริมเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับ “คนรักกาแฟ” โดยเฉพาะในเส้นทางภาคเหนือหลายจังหวัดมีแหล่งปลูกกาแฟ และร้านกาแฟที่มีคุณสภาสูง เป็นนึ่งในไลฟ์สไตล์ที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบ ซึ่งสามารถผลักดันให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกันระหว่างเมืองหลัก และเมืองรอง กระจายรายได้จากการท่องเที่ยวลงไปยังชาวบ้านในพื้นที่ต่าง ๆ ได้
“ตอนนี้ ททท.เห็นเทรนด์การกินกาแฟ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ เป็นไลฟ์สไตล์ที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบ มีการตกแต่งร้านให้เข้ากับอัตลักษณ์ในแต่ละพื้นที่และชุมชน และในปัจจุบันพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไปคาเฟ่ จึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการเดินทางท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวมักเลือกร้านกาแฟ เพื่อสำหรับทานอาหารและถ่ายรูป เสมือนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องมีในโปรแกรมการเดินทาง หรือที่เรียกว่า Cafe Hopping ซึ่งกำลังได้รับความนิยมสูง” น.ส.ฐาปนีย์ ระบุ
นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีกาแฟถึง 10 ชนิด ที่ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ที่ภาคเหนือเพราะพื้นที่ปลูกกาแฟจะอยู่ในระดับความสูงตั้งแต่ 800-1,500 เมตรขึ้นไป ทำให้ในพื้นที่ภาคเหนือมีร้านกาแฟเป็นจุดขายของการท่องเที่ยว
“หากนับเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ ก็มีร้านกาแฟกว่า 2,700 ร้าน โดยเฉพาะร้านที่มีการตกแต่งสวยงาม และมีเมล็ดกาแฟที่หลากหลายคุณภาพสูง และเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน และเคยมีคนบอกว่าถ้าจะกินกาแฟให้ครบุกร้านในจังหวัดเชียงใหม่ ก็คงต้องใช้เวลานานกว่า 7 ปี ถึงจะกินกาแฟครบ” นายจักรพล ระบุ
ปัจจุบัน ททท. ได้นำเสนอ "กาแฟ" เป็นหนึ่งใน Must Do in Thailand นั่นคือ Must Eat และ Must Buy ใครมาแล้วต้องทดลองชิม และซื้อเป็นของฝาก โดยจัดทำเป็น 5 เส้นทางการท่องเที่ยวของคนรักกาแฟ ดังนี้
เป็นเส้นทางกาแฟพิเศษที่มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน เดิมทีพื้นที่แห่งนี้มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกกาแฟทดแทนพืชเสพติด แต่ด้วยมาตรฐานที่ดีของการ ผลิตกาแฟและความพิถีพิถัน ทำให้เมล็ดกาแฟของที่นี่มีคุณภาพสูง สภาพแวดล้อมในจังหวัด เชียงรายส่งผลให้กาแฟปางขอนมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้กาแฟปางขอนโด่งดังและเคยถูกโรงคั่วกาแฟชั้นนำของโลกสั่งซื้อ เพื่อนำไปเสิร์ฟที่ร้าน
หมู่บ้านอาข่ากลางหุบเขาที่เป็นเส้นทางเรียนรู้ภูมิ ปัญญาการทำกาแฟ ตั้งอยู่บนแนวคิดที่ยึดในการรักษาผืนป่า แหล่งต้นน้ำที่สะอาด ปลอดสารพิษ มีกระบวนการผลิตกาแฟพิเศษที่พิถีพิถันตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
ในอดีตอ.กัลยาณิวัฒนา เน้นการปลูกข้าวทำไร่ หมุนเวียน ทำให้เกิดสารเคมีสะสมในหน้าดิน อีกทั้งการตัดต้นไม้ใหญ่เพื่อการทำไร่ยังส่งผลให้ การกักเก็บน้ำหายไป ทำให้หน้าดินเสื่อมโทรมได้ง่ายยิ่งขึ้น
เมื่อมีกาแฟเข้ามา ชุมชนจึงหันมา ปลูกไม้ใหญ่เผื่อเอื้อต่อผลผลิตกาแฟ เช่น บ๊วย เลมอน ลิ้นอื่นจี่ และส้ม ทำให้ปัญหาการต่อสู้กับราคากลางเป็นธรรมมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนทางธรรมชาติและเศรษฐกิจควบคู่กัน
เป็นพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ของธรรรมชาติและ ปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อให้ผลผลิตกาแฟมีคุณภาพสูง ทั้งความชื้น ดิน แสงแดด อุณหภูมิ สายพันธุ์และคนกาแฟ พื้นที่แห่งนี้ไม่ปลูกกาแฟแบบเชิงเดี่ยว แต่กาแฟทุกต้นจะปลูกแชมไปในร่มเงาของพรรณไม้ใหญ่และพืชท้องถิ่น เช่น เหมี่ยง ลูกพลับ พลัม แมคคาเดเมีย และไม้ป่าอื่น ๆ
รวมทั้งการปรับตัวของสายพันธุ์และการต่อยอดองค์ความรู้ของผู้คนที่ดูแลต้นกาแฟทำให้พื้นที่แห่งนี้ค้นพบหนึ่งในสายพันธุ์กาแฟที่ได้ขึ้นเป็นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในที่สุด
เป็นพื้นที่ที่เคยเป็นเขาหัวโล้น และชาวบ้านส่วนใหญ่เลี้ยง ชีพด้วยการปลูกพืชเชิงเดี่ยว แต่ทุกวันนี้กลับปกคลุมไปด้วยป่าเขียวชอุ่มจากไม่ใหญ่และพืชเศรษฐกิจอย่างกาแฟ ด้วยต้นทุนที่สมบูรณ์พร้อมดิน ฟ้า อากาศ และสายพันธุ์กาแฟ ทำให้ที่นี่สร้างปรากฏการณ์ด้านกาแฟที่น่าสนใจ ด้วยการคว้ารางวัลชนะเลิศในทุกๆ รายการ ประกวดเมล็ดกาแฟของประเทศไทย
หนึ่งในนั้นคือเวทีที่จัดโดย SCATH Specialty Coffee Association of Thailand ที่มาของสมญานาม "Treasure of Thailand"
ผู้ว่าฯ ททท. กล่าวในช่วงท้ายว่า นอกจาก 5 เส้นทางท่องเที่ยวสำหรับคนรักกาแฟแล้ว ในอนาคตหากได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ททท.จะหาทางส่งเสริมเส้นทางท่องเที่ยวเพิ่มเติม เพื่อดึงนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยวที่น่าประทับใจต่อไป