ลอยกระทงเชียงใหม่ 2567 ประเพณียี่เป็ง วันที่ 14-17 พ.ย.67

04 พ.ย. 2567 | 16:03 น.
อัปเดตล่าสุด :04 พ.ย. 2567 | 16:23 น.
7.1 k

ลอยกระทง 2567 จังหวัดเชียงใหม่ เตรียมจัดงานประเพณียี่เป็ง วันที่ 14-17 พ.ย.นี้ เช็คไฮไลต์ - กำหนดการวันแห่กระทงใหญ่วันไหน พร้อมเปิดที่มาประเพณียี่เป็ง

เทศบาลนครเชียงใหม่ เตรียมจัดงานลอยกระทง 2567 หรือ "ประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2567 " โดยประเพณียี่เป็ง 2567 จัดขึ้นภายใต้ธีม "มนต์เสน่ห์แม่ระมิงค์ แสงศิลป์ถิ่นวัฒนธรรม" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-17 พฤศจิกายน 2567 สำหรับประชาชนหรือนักท่องเที่ยวที่ต้องการร่วมสืบสานวัฒนธรรมอย่าพลาด ทั้งนี้สามารถตรวจสอบรายละเอียดไฮไลต์งานเบื้องต้นดังนี้

 

ลอยกระทงเชียงใหม่ 2567 ประเพณียี่เป็ง จัดวันไหน 

  • วันที่ 14-17 พฤศจิกายน 2567

ลอยกระทงเชียงใหม่ 2567 ประเพณียี่เป็ง วันที่ 14-17 พ.ย.67

ไฮไลต์กิจกรรมลอยกระทงเชียงใหม่ 2567 ประเพณียี่เป็ง 

  • ขบวนแห่กระทงใหญ่ กว่า 25 ขบวนในวันที่ 16 พ.ย.67
  • การแสดงแสง สี เสียง และสื่อผสม 
  • กิจกรรมศิลปวัฒนธรรมต่างๆ 
  • การประดับตกแต่งเมืองด้วยโคมไฟ ผางประทีป 
  • ตามรอยซีรีส์ เดือนพรางTheHiddenMoon  ริมฝั่งแม่น้ำปิง ท่าน้ำศรีโขง ตรงข้ามเทศบาลนครเชียงใหม่

ไฮไลต์การประกวดในงานลอยกระทงเชียงใหม่ 2567 ประเพณียี่เป็ง 

  • ประกวดหนูน้อยยี่เป็ง ประจำปี 2567
  • การประกวดเทพี - เทพบุตร ยี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2567
  • การประกวดโคมยี่เป็งล้านนา (โคมแขวนใหญ่)
  • การประกวดประดิษฐ์สะเปาล้านนา ประจำปี 2567
  • การประกวดกระทงฝีมือใบตอง-ดอกไม้สด ประจำปี 2567
  • การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งพร้อมหางเครื่อง สืบสานวัฒนธรรมไทย ประจำปี 2567

 

ลอยกระทงเชียงใหม่ 2567 ประเพณียี่เป็ง วันที่ 14-17 พ.ย.67

 

นอกเหนือจากงานใหญ่ที่ทางเทศบาลนครเชียงใหม่จัดขึ้นแล้ว บริเวณอื่นๆรอบตัวเมืองเชียงใหม่ก็ได้มีการจัดงานลอยกระทงอีกหลายจุด โดยจะมีจุดไหนน่าสนใจบ้างนั้น "ฐานเศรษฐกิจ"รวบรวมมานำเสนอดังนี้


Festival of Light Mae Kha & Night Bazaar แสงเทศกาล "ยี่เป็ง" เรียนรู้คลองแม่ข่า และไนท์บาซาร์ เชียงใหม่

  • วันที่ 14-17 พฤศจิกายน 2567 
  • ณ ริมคลองแม่ข่าย่านไนท์บาซาร์ ชุมชนช่างฆ้อง ลอยเคราะห์ จนถึงสะพานศรีดอนไชย 

กิจกรรมสร้างการเรียนรู้คลองแม่ข่าและย่านเก่าเมืองเชียงใหม่ เพื่อขับเคลื่อนเชียงใหม่สู่เมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก (UNESCO) พบกับกิจกรรม

  • Mae Kha Walk Along 
  • เดินเรียนรู้คุณค่าคลองแม่ข่า และชุมชนกับทีม Mae Kha City Lab ชุมชน และผู้ประกอบการไนท์บาซาร์ 
  • Workshop งานหัตถกรรมยี่เป็ง และงานหัตถกรรมชาติพันธุ์ชุมชนริมคลองแม่ข่า
  • ประเพณีตั้งธัมม์หลวง ณ วัดช่างฆ้อง Workshop สวยดอก และถวายเป็นพุทธบูชา ชมนิทรรศพระเวสสันดรเสด็จเวียงเชียงใหม่
  • นิทรรศการแสงไฟยี่เป็ง “Light Up Mae Kha & Night Bazaar” แรงบันดาลใจจากคุณค่าและวิถีริมคลองแม่ข่า 
  • Mae Kha Explorer เดินสำรวจเสน่ห์ริมคลองแม่ข่า และเรียนรู้เรื่องลับที่คุณอาจไม่รู้ริมคลอง พร้อมพาสปอร์ตแผนที่ Stamp 5 จุด Check In ริมคลองแม่ข่า ย่านไนท์บาร์ซาร์ 

Festival of Light Mae Kha & Night Bazaar แสงเทศกาล "ยี่เป็ง" เรียนรู้คลองแม่ข่า และไนท์บาซาร์ เชียงใหม่

“ต๋ามผางปะตี๊ด ส่องฟ้า ฮักษาเมือง”  

  • วันที่ 13 - 15 พฤศจิกายน 2567 
  • บริเวณลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ 

การปู่จาเมืองวางผางประทีป 

  • วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567
  • ณ บริเวณ 4 แจ่งประตูเมืองเชียงใหม่ 

สืบสานอนุรักษ์ประเพณียี่เป็งของจังหวัดเชียงใหม่ โดยนำเรื่องของวิถี “ล้านนา บูชา และแสงไฟ” จากการจุดผางประทีปตามวิถีล้านนาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา 


กำหนดการวันที่ 13 พ.ย. 2567   

  • เวลา 17.00 น.  การวางและจุด“ต๋ามผางปะตี๊ดส่องฟ้าฮักษาเมือง” ณ 4 แจ่งคูเมือง ได้แก่ แจ่งศรีภูมิ แจ่งก๊ะต้ำ แจ่งกู่เฮือง แจ่งหัวลิน
  • เวลา 18.00 น.  พิธีเทศนาธรรมอานิสงส์การถวายผางปะตี้ด ณ ลาน  อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ,ขบวนแห่ต๋ามผางปะตี้ด ส่องฝ้าฮักษาเมือง ณ ลาน  อนุสาวรีย์สามกษัตริย์
  • เวลา19.00 น.ชมการแสดงฟ้อนเทียนบูชาเมือง ณ ลานอนุสาวรีย์สาม กษัตริย์ ,ซุ้มสาธิตการหยอดผางปะตึ้ด การทำโคม ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์

กำหนดการวันที่ 14-15 พ.ย. 2567   

  • เวลา17.00 - 22.00 น.  “ต๋ามผางปะตี๊ดส่องฟ้าฮักษาเมือง” ไฮไลท์ในปีนี้คือการจุดประทีปบูชาเมือง และบูชา 12 นักษัตร ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์

“ต๋ามผางปะตี๊ด ส่องฟ้า ฮักษาเมือง”  

 

เปิดประวัติที่มาประเพณียี่เป็ง ตั้งธรรมหลวง

ศูนย์มรดกเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้เผยแพร่ประเพณีทางพุทธศาสนนา ความเป็นมาของประเพณียี่เป็ง ตั้งธรรมหลวง โดยระบุว่า ประเพณีในเดือนยี่ หรือ เดือน 2 เหนือ (พฤศจิกายน) ของชาวล้านนา คำว่า "ยี่" หมายถึง เดือนสองของปีนับทางจันทรคติ ซึ่งการนับเดือนของล้านนานั้น เร็วกว่าภาคกลางสองเดือน อันเนื่องมาจากการนับเดือนของชาวล้านนา เป็นการนับทางจันทรคติแบบจีน และเพื่อเป็นการอนุรักษ์รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชุมชน และถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบมาตั้งแต่โบราณกาล และชาวล้านนาถือว่าเป็นเดือนดีควรแก่การประกอบกิจอันเป็นมงคลทางพุทธศาสนาดังต่อไป

ยี่เป็ง
ประเพณีในเดือนยี่ หรือเดือนยี่เป็ง (วันเพ็ญเดือน 2 เหนือ) มีที่มาจากการลอยโขมด โดยชาวบ้านจะประดิษฐ์กระทงทำจากต้นกล้วย ใบตอง ประดับด้วยดอกไม้ธูปเทียน นำไปลอยแม่น้ำเพื่อบูชาพระแม่คงคาผู้ประทานน้ำให้ใช้ในการเพาะปลูก บูชารอยพระพุทธบาทริมฝั่งน้ำนัมนที และเพื่อปล่อยเคราะห์ร้ายต่างๆ ตามวัดวาอารามและบ้านเรือนมีการจัดซุ้มประตูป่า และจุดประทีปโคมไฟถวายเป็นพุทธบูชา 

ตั้งธรรมหลวง
ช่วงออกพรรษาหรือหนึ่งเดือนให้หลัง ตามวัดต่างๆ จะจัดงานประเพณีตั้งธรรมหลวง หรือการเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทั้งหมด 13 กัณฑ์ ใช้เวลาเทศน์หลายวันหลายคืน แต่ปัจจุบันนิยมตัดทอนให้จบภายในวันเดียว ทั้งนี้ ชาวล้านนาเชื่อว่าผู้ที่ได้ฟังเทศน์มหาชาติครบทุกกัณฑ์จะได้อานิสงส์ผลบุญอันนำพาให้ไปเกิดในยุคพระศรีอารยะเมตไตรย

 

ที่มาข้อมูล-ภาพ

  • ศูนย์มรดกเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่
  • เทศบาลนครเชียงใหม่
  • ททท.สำนักงานเชียงใหม่ - TAT Chiang Mai