sacit ชูงานเบญจรงค์ soft power ไทยรุกตลาดประเทศ

29 ส.ค. 2566 | 15:37 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ส.ค. 2566 | 15:44 น.

sacit ดัน soft power ไทยรุกตลาดประเทศชูงานเบญจรงค์  HATSAYA เดินหน้าเจาะตลาด เอเชีย ตะวันออกกลาง ชี้ความต้องการสินค้าอัตลักษณ์ไทยยังสูง

นางสาว หัสยา ปรีชารัตน์ ครูช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2566 จาก sacit หรือสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) และเป็นเจ้าของแบรนด์ HATSAYA ซึ่งได้รับยกย่องเป็นครูช่างศิลปหัตถกรรมด้านงานเครื่องเบญจรงค์ เปิดเผยว่า งานเครื่องเบญจรงค์เป็นศิลปหัตถกรรม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

นางสาว หัสยา ปรีชารัตน์ ครูช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2566

ทั้งทางด้านรูปทรงและลวดลายต่างๆ จึงมองว่างานหัตถศิลป์ไทยเหล่านี้จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง จากความนิยมซื้อเป็นของที่ระลึก มอบของขวัญให้แขกผู้ใหญ่ หรือของขวัญคู่ค้า

เน้นอัตลักษณ์ความเป็นไทย ด้วยลวดลายเครื่องเบญจรงค์ที่มีเอกลักษณ์ เพราะนอกจากจะเป็นการพัฒนาสินค้าเท่าทันต่อความต้องการตลาดแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ เผยแพร่เอกลักษณ์ความเป็นไทยให้คงอยู่

sacit ชูงานเบญจรงค์ soft power ไทยรุกตลาดประเทศ

ทั้งนี้ HATSAYA คือ เม็ดชาร์ม (Charm) ที่นำมาร้อยเรียงบนเครื่องเงินแท้โดยทำเป็นจี้สร้อยคอ ต่างหู และสร้อยข้อมือ มีเฉดสีพรีเมียมให้เลือกถึง 3 สี ได้แก่ สีทอง สีแพลทินัมและสีโรสโกลด์ ที่สามารถใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้รับการตอบรับดีมีโอกาสได้ลูกค้าใหม่ๆ เข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนไทยผู้ชื่นชอบเครื่องประดับ และต่างชาติแถบเอเชีย ดูไบ และอาหรับ นิยมซื้อสินค้าเพื่อเป็นของฝากของขวัญ

sacit ชูงานเบญจรงค์ soft power ไทยรุกตลาดประเทศ

โดยล่าสุดยังได้พัฒนา เครื่องเบญจรงค์โดยมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ตกไม่แตกใช้ดินผสมมวลสารต่างๆ เข้าไป เพิ่มความหนาแน่นของดิน สร้างความยืดหยุ่น แข็งแรง และไม่ลืมที่จะใส่รายละเอียดต่างๆ ของลวดลายที่ร่วมสมัย ซึ่งในตลาดยังไม่มีสินค้าประเภทเบญจรงค์ตกไม่แตกแบบนี้

ขณะที่เป้าหมายของการต่อยอดความสำเร็จในอนาคต ต้องการเปิดตลาดการค้าระหว่างประเทศ เผยแพร่งานเครื่องเบญจรงค์ที่สื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยไปยังต่างประเทศ เช่น ภูมิภาคเอเชีย หรือตะวันออกกลาง เนื่องจากตลาดเหล่านี้ชื่นชอบความสวยงามของเครื่องเบญจรงค์ไทย