กลุ่มมิตรผล เดินหน้าสร้าง เมืองคาร์บอนต่ำ 

25 มิ.ย. 2565 | 09:31 น.
อัปเดตล่าสุด :25 มิ.ย. 2565 | 16:48 น.

กลุ่มมิตรผล ผนึกกำลัง กระทรวงทรัพยากรฯ และจังหวัดสุพรรณบุรี เปิดตัว “สุพรรณบุรี Carbon Neutrality Model” ปั้นอุทยานมิตรผลด่านช้าง สู่โมเดลโรงงานต้นแบบความเป็นกลางทางคาร์บอน พร้อมบริหารจัดการลดการเผาอ้อย และปลูกต้นไม้กักเก็บคาร์บอน 1.5 หมื่นไร่ 

“วราวุธ ศิลปอาชา” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การเดินหน้าประเทศสู่ Net Zero ปี 2065 เป็นการทำงานที่ต้องดำเนินการร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน และต้องทำทั้งเรื่องของการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการกักเก็บคาร์บอน ผ่านการปลุกป่า ไปพร้อมๆ กัน ซึ่ง โครงการ “สุพรรณบุรี Carbon Neutrality Model” ที่อุทยานมิตรผล ถือว่าได้เริ่มดำเนินการแล้ว ทั้งการสร้างโมเดลโรงงานที่ใช้พลังงานทดแทน และการตั้งเป้าปลูกป่า 15,000 ไร่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี 
 

กลุ่มมิตรผล เดินหน้าสร้าง เมืองคาร์บอนต่ำ 

“บรรเทิง ว่องกุศลกิจ” ประธานกรรมการบริษัทและประธานกรรมการบริหาร กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า กลุ่มมิตรผลเป็นภาคเกษตรอุตสาหกรรม ที่พยายามช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการปลูกต้นไม้เพิ่ม และไม่เผาอ้อย และนำสิ่งที่ไ่ด้จากอ้อยมาเป็นเชื้อเพลิง สร้างเป็นพลังงานทดแทน รวมทั้งติดตั้งโซล่ารูฟผลิตพลังงานไฟฟ้าให้โรงงาน เพื่อลดการใช้พลังงานฟอสซิลและน้ำมัน

สำหรับที่สุพรรณบริษัทฯ ตั้งเป้าปลูกต้นไม้จำนวน 15,000 ไร่ หรือประมาณ 7 แสนต้น โดยจนถึงปี 2050 กลุ่มมิตรผลมีเป้าหมายปลูกต้นไม้รวม 5 ล้านต้น

กลุ่มมิตรผล เดินหน้าสร้าง เมืองคาร์บอนต่ำ 

ส่วนการเผาอ้อยบริษัทฯ พยายามรณรงค์ให้เลิกการเผาอ้อย ซึ่งขณะนี้ ที่สุพรรณยังเหลืดเกษตรกรที่เผาอ้อยประมาณ 30% และภายใน2 ปี ตามเป้าหมายของสำนักงานอ้อยจะทำให้ได้ 95-100% 

กลุ่มมิตรผล เดินหน้าสร้าง เมืองคาร์บอนต่ำ 

ส่วนแนวทางการดำเนินงานของอุทยานมิตรผลมีทั้งหมด 6 ด้าน 
เพื่อการเป็นต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ ประกอบด้วย การใช้พลังงานทดแทน (Renewable Energy) เช่น พลังงานจากชีวมวล (Biomass) หรือพลังงาน
แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ในกระบวนการผลิต, การจัดการไร่อ้อยสมัยใหม่และ
รับซื้ออ้อยสด ใบอ้อย เป็นวัตถุดิบ เพื่อลดการเผาอ้อย, การพัฒนาต่อยอดอ้อยและน้ำตาลสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ (Bio-Based Product) ตามแนวทาง Bio-Circular-Green Economy Model หรือ BCG Model เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร เช่น บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ, การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ด้วยระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ

กลุ่มมิตรผล เดินหน้าสร้าง เมืองคาร์บอนต่ำ 

ควบคู่กับการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตามหลัก 4Rs (Resource-Reduce-Reuse-Recycle) และการคัดแยกขยะภายในโรงงานอย่างเหมาะสม, การปลูกป่า เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่อง พร้อมริเริ่มโครงการ OASIS สร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตรขนาดใหญ่ ตลอดจนการชดเชยคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Offsetting) ของกลุ่มมิตรผล
  กลุ่มมิตรผล เดินหน้าสร้าง เมืองคาร์บอนต่ำ 

แนวทางทั้งหมด เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืนของประเทศไทย ทั้งในส่วนของ เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ปี ค.ศ. 2065 สอดคล้องไปกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของกลุ่มมิตรผล ที่ต้องการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2030 และ Net Zero ปี ค.ศ. 2050

กลุ่มมิตรผล เดินหน้าสร้าง เมืองคาร์บอนต่ำ 

หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,794 วันที่ 23 - 25 มิถุนายน พ.ศ. 2565