กลุ่มมิตรผล ในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในแวดวงเกษตรอุตสาหกรรมของประเทศไทย พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมนำพาประเทศไทยก้าวสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ด้วยการต่อยอดนวคิด “เปลี่ยนแปลงสิ่งที่ไร้ค่าให้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า หรือ From Waste to Value Creation”
ด้วยการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอย่างมีคุณค่าโดยไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้ามุ่งสู่องค์กรที่มีความเป็นกลาง
ทางคาร์บอน ภายในปี 2030 และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050
สอดรับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับประเทศ ผ่านแผนการดำเนินงานเพื่อสร้างความยั่งยืนอย่างครอบคลุมในทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่สั่งสมมาโดยตลอด
นอกจากนั้น ยังผลักดันให้ อุทยานมิตรผลด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ก้าวสู่การเป็นโมเดลโรงงานต้นแบบที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2023 ภายใต้โครงการ “สุพรรณบุรี Carbon Neutrality Model” ผ่าน 6 แนวทางการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความยั่งยืน
เบื้องหลังเส้นทางสู่ ความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุ ทยานมิตรผลด่านช้าง
1. เลือกใช้พลั งงานทดแทนในกระบวนการผลิต (Green Energy)
จากการบริหารจัดการและหมุนเวี ยนวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมอ้ อยและน้ำตาลให้เกิดประโยชน์สู งสุด เช่น นำชานอ้อย
และใบอ้อย มาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าชี วมวลเพื่อวนใช้ภายในโรงงาน พร้อมยกระดับกระบวนการผลิตเพื่ อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการสู ญเสียพลังงาน ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกกว่า 180,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
2.ผลักดันผลิตภัณฑ์ ภายใต้หลัก BCG จากผลผลิตทางการเกษตร
สอดคล้องกับนโยบายการพั ฒนาเศรษฐกิจใน 3 มิติของประเทศ ที่มุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาเศร ษฐกิจชีวภาพ ( Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ผ่านการต่อยอดสู่ธุรกิจต่อเนื่ องจากผลผลิตอ้อยและน้ำตาล เช่น พลังงานไฟฟ้าชีวมวล เม็ดพลาสติกชีวภาพที่ย่ อยสลายได้ตามธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) จากอ้อยธรรมชาติที่ทั้งมี ประโยชน์ต่อร่างกายและเป็นมิ ตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกประมาณ 65,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
3.ส่งเสริมการตัดอ้อยสด ลดการเผา มุ่งสู่เกษตรสมัยใหม่อย่างยั่ งยืน
ผ่านความร่วมมือกับชาวไร่ ชุมชน และภาครัฐ ในการสนับสนุนให้เกิดการซื้อ-ขา ยอ้อยสด เช่น การรับซื้อใบอ้อยจากเกษตรกรเพื่ อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิ ตไฟฟ้าชีวมวล การทำ MOU ร่วมกับ 7 โรงงานน้ำตาลในการรณรงค์ตัดอ้ อยสด การจัดทำ
แนวกันไฟในพื้นที่ไร่อ้อย หรือการจัดกิจกรรมเชิญชวนตัดอ้ อยสดกับชาวไร่โดยตรง ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจก
ได้ประมาณ 15,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
4.บริหารจัดการน้ำเสีย และจัดการขยะในโรงงาน
ด้วยระบบบำบัดน้ำเสียรวม (Activated Sludge) ทำให้กลุ่มมิตรผลสามารถเพิ่มพื้ นที่จัดเก็บน้ำดิบ ลดความเสี่ยงจากภัยแล้ง และยังสามารถนำน้ำหลังการบำบั ดมาใช้เป็นน้ำต้นทุนหมุนเวี ยนได้อีกด้วย พร้ อมกำหนดแนวทางในการจำแนกประเภทข ยะในโรงงานเพื่อนำไปรีไซเคิลอย่ างเคร่งครัด ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกกว่า 10,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
5.ขยายพื้นที่ปลูกป่า และดูแลต้นน้ำ
ภายใต้โครงการพลิกฟื้นผืนป่าสู่ ธรรมชาติที่ยั่งยืนของกลุ่มมิ ตรผล จากความร่วมมือกับชาวไร่ ชุมชนรอบโรงงาน กรมป่าไม้ และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขี ยวในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างต่อเนื่อง ด้วยเป้าหมายการปลูกต้นไม้
กว่า 700,000 ต้นในจังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งยังริเริ่มโครงการ OASIS หรือการสร้างอ่างกักเก็บน้ำเพื่ อการเกษตรขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำในช่วงฤดูน้ำ หลากมาไว้สำหรับใช้ในฤดูแล้ง
6.ชดเชยคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Offsetting)
จากใบรับรองสิทธิในการเป็นผู้ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และคาร์บอนเครดิต ที่กลุ่มมิ ตรผลสั่งสมจากการดำเนินงานเพื่ อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ผ่ านมา
จะเห็นได้ว่าแนวทางการดำเนิ นงานอย่างครอบคลุมทั้ง 6 ด้านของอุทยานมิตรผลด่านช้าง สามารถช่วยลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกได้อย่างน้อย 270,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนจังหวั ดสุพรรณบุรีในการบรรลุเป้ าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจก เพื่อก้าวสู่การเป็นเมืองคาร์ บอนต่ำในอนาคต ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่ า สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิต ตลอดจนเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้ แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ ไปพร้อม ๆ กัน
การขับเคลื่อนเพื่อผลักดันให้อุ ทยานมิตรผลด่านช้างมีความเป็ นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2023 นับว่าเป็นก้าวที่สำคัญของ
กลุ่มมิตรผล บนเส้นทางที่จะมุ่งสู่เป้ าหมายใหญ่ในการเป็นองค์กรที่ จะมีความเป็นกลางทางคาร์บอน และมีการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในภายภาคหน้า ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ ในฐานะผู้นำด้านความยั่งยืน ที่แสดงถึงบทบาทของ
ผู้รู้จริง ทำจริง เพื่อนำพาให้ภาคเกษตรอุตสาหกรรม และประเทศไทย ก้าวสู่เมืองคาร์บอนต่ำและเติ บโตสู่อนาคตที่ยั่งยืน
อย่างแท้จริงไปด้วยกัน