เช็คลิสต์อาการสัญญาณเตือน"มะเร็งรังไข่" ภัยร้ายที่ผู้หญิงควรรู้

06 มิ.ย. 2565 | 09:18 น.
อัปเดตล่าสุด :06 มิ.ย. 2565 | 16:21 น.

“มะเร็งรังไข่”ภัยร้ายที่ผู้หญิงควรรู้ พบเป็นอันดับต้น ๆในกลุ่มมะเร็งทางนรีเวช ในช่วงวัย 50-65 ปี เช็คลิสต์ 6 อาการสัญญาณเตือน หมั่นสังเกตหากพบอาการ ควรรีบพบแพทย์

มะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับต้น ๆ ในกลุ่มมะเร็งทางนรีเวช อายุที่พบมากที่สุด คือช่วงอายุ 50 - 65 ปี แต่สามารถพบได้ทุกช่วงอายุ 


สาเหตุการเกิด"มะเร็งรังไข่" 

 

สาเหตุการเกิดโรคได้จากหลายกรณี บางส่วนถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาการของโรคไม่ชัดเจน บางครั้งตรวจพบเมื่อมีการกระจายของโรคแล้ว

 

อาการสัญญาณเตือนมะเร็งรังไข่

 

  • มีอาการท้องอืดเป็นประจำ
  • คลำพบก้อนบริเวณท้องน้อย
  • มีอาการปวดหรือแน่นท้อง (ในบางกรณีอาจ
  • มีอาการถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก)
  • รับประทานอาหารได้น้อยลง
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

การวินิจฉัย

 

  • 1. การตรวจภายในอาจคลำพบก้อนใน บริเวณท้องน้อย การคลำพบก้อนรังไข่ได้ในสตรีวัย หมดประจำเดือน ควรนึกถึงมะเร็งของรังไข่ไว้ด้วย (เพราะตามปกติวัยหมดประจำเดือน รังไข่จะฝ่อ)
  • 2. การทำแพพสเมียร์จากในช่องคลอด ส่วนบนทางด้านหลัง อาจพบเซลล์มะเร็งของรังไข่ ได้
  • 3.การตรวจด้วย เครื่องความถี่สูงอาจช่วยบอกได้ว่ามีก้อน ในท้อง ในรายที่อ้วนหรือหน้าท้อง หนามาก คลำด้วยมือตาม ปกติตรวจไม่พบ
  • 4. การผ่าตัดเปิดช่องท้อง และตรวจดู เป็นวิธีที่สำคัญ และแม่นยำที่สุดในการวินิจฉัยโรค อย่างแน่นอนสามารถ ขลิบหรือตัดเอาเนื้อมาตรวจหาชนิดของมะเร็ง และทราบถึงระยะ ของโรค ด้วย

 

การรักษา

 

การผ่าตัดเป็นวิธีแรกที่แพทย์จะเลือกทำการ รักษา ถ้าไม่สามารถตัดออกได้หมดเนื่องจาก โรคกระจายออกไปมากแล้ว แพทย์จะพยายาม ตัดออกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วจะให้ การรักษาต่อด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีบำบัด
 

การป้องกัน

 

เนื่องจาก มะเร็งรังไข่ในระยะแรก ๆ มักจะไม่มีอาการ อีกทั้งยังไม่ทราบสาเหตุที่ แท้จริง การป้องกันจึงทำได้ยาก ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ รับการตรวจภายในหรือตรวจด้วยคลื่นความ ถี่สูง โดยแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง

 

คำแนะนำ

 

หมั่นสังเกตอาการ หากมีอาการที่สงสัยให้มาพบแพทย์ และควรเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปีหรือตรวจ ด้วยคลื่นความถี่สูงตามที่แพทย์แนะนำ

 

เช็คลิสต์อาการสัญญาณเตือน\"มะเร็งรังไข่\" ภัยร้ายที่ผู้หญิงควรรู้
 

 

อ้างอิงข้อมูล  : อ. พญ.ณัฐชา พูลเจริญ ร.พ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ