เจ้านายที่ดี ควรเป็นอย่างไร ถึงจะได้ใจลูกน้อง

21 ม.ค. 2565 | 15:54 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ม.ค. 2565 | 02:56 น.
13.8 k

เทคนิคการเป็นเจ้านายที่ดี หรือ ผู้บังคับบัญชาที่ดี ควรเป็นอย่างไร เพื่อให้ลูกน้อง หรือผู้ต้บังคับบัญชาเคารพรัก เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน

เจ้านายที่ดี หัวหน้าที่ดี ผู้บังคับบัญชา ควรเป็นอย่างไร? เป็นคำถามในความฝัน หรืออุดมคติ ที่บรรดาลูกน้องอยากจะเห็น อยากทำตามคำสั่ง หรือร่วมมือด้วยดีในการทำงานในหน่วยงาน หรือ บริษัท เพราะสุดท้ายแล้ว หากการทำงานร่วมกันเป็นไปด้วยดี ผลประโยชน์ย่อมตกอยู่กับองค์กรนั่นเอง

 

ฐานเศรษฐกิจ ไปเสาะแสวงหาเทคนิคหาคำตอบมาให้ถึงคุณสมบัติ เทคนิค การเป็นเจ้านายที่ดี มาฝาก ดังนี้ 

 

1. มีความเป็นผู้นำ (Leadership) 

ผู้นำ หมายถึง การแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อผลงานที่เกิดขึ้นจากสมาชิกในทีม และสามารถโน้มน้าวจิตใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนดไว้ด้วยความเต็มใจ และเป็นที่ยอมรับของสมาชิกทุกคนในทึม 

 

5 คุณลักษณะพฤติกรรมด้านผู้นำที่ลูกน้องต้องการมีดังต่อไปนี้ 

  1. อยากเห็นหัวหน้ามีความกล้าตัดสินใจ หรือตัดสินใจอย่างเด็ดขาด 
  2. อยากเห็นหัวหน้าแสดงความรับผิดชอบต่อผลงานที่เกิดขึ้นของทีม ไม่ใช่โทษแต่ลูกน้อง 
  3. อยากเห็นหัวหน้าพูดจริง ทำจริง ไม่เหลาะแหละ 
  4. อยากเห็นหัวหน้าปกป้องลูกน้องในเรื่องต่างๆ เช่น กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็นแทนลูกน้อง กล้าชนกับหน่วยงานอื่น 
  5. อยากเห็นหัวหน้าเป็นที่พึ่งพิง เวลาที่เกิดปัญหา หรือรู้สึกไม่สบายใจ 

2. มีความยุติธรรม (Fair) 

 

ความยุติธรรม หมายถึง ความเสมอภาคในการตัดสินใจ หรือให้ความสำคัญกับคนใดหรือสิ่งใด โดยที่ไม่เอนเอียงไปด้านใด ด้านหนึ่ง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 

 

5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านความยุติธรรม มีดังนี้ 

  1.  อยากเห็นหัวหน้าเป็นคนมีเหตุผล 
  2. อยากเห็นหัวหน้ารู้จักแยกแยะเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงาน 
  3. อยากเห็นหัวหน้าไม่แบ่งพรรค แบ่งพวก และรักลูกน้องเท่ากันทุกคน 
  4. อยากเห็นหัวหน้ารับฟังความคิดเห็นของตนเองบ้าง 
  5. อยากเห็นหัวหน้าตัดสินใจโดยใช้มาตรฐานเดียวกับพนักงานทุกคน 

 

หัวหน้างานต้องมั่นฝึกฝนตนเองในหลายๆ ด้าน เช่น ต้องรู้จักใจแข็ง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว แยกระหว่างเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานออกจากกัน การฝึกการบริหารด้วยความจริง โดยไม่ใช้อารมณ์มามีส่วนในการตัดสินใจ และที่สำคัญคือ ให้ความเสมอภาคกับทุกคน 2 

 

พฤติกรรมในแง่ลบที่ไม่ควรทา มีดังนี้ ไม่ยุติธรรม ลำเอียง มักเอาใจใส่แต่คนที่อยู่ใกล้ชิดเท่านั้น ดังนั้น คนที่ใกล้ชิดทำอะไรผิดก็รอดตัวเสมอ เล่นพรรคเล่นพวก (เด็กใคร เด็กมัน) สองมาตรฐาน ไม่ชอบหน้าใครก็จ้องแต่จะลงโทษคนนั้น หรือชอบใครก็เชียร์แต่คนนั้น 

 

3. มีความรับผิดชอบ (Responsibility) 

 

5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านความยุติธรรม มีดังนี้ 

  1. อยากเห็นหัวหน้าปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเคร่งครัด 
  2. อยากเห็นหัวหน้ากล้าที่จะรับผิดชอบผลงานต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งที่ดีและไม่ดี 
  3. อยากเห็นหัวหน้าเอาใจใส่งาน 
  4. อยากเห็นหัวหน้าไปช่วยเหลือลูกน้องที่รับผิดชอบ 
  5. อยากเห็นหัวหน้าทำงานอย่างเต็มความสามารถ

4. ทางานเป็นระบบ (system)


การทำงานอย่างเป็นระบบ หมายถึง การที่เรากำหนดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม แล้วนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง เช่น ขั้นตอนการทำงาน การสื่อสาร การแก้ไขปัญหา การมอบหมายงาน การตรวจสอบติดตามงาน เป็นต้น

 

โดยคำนึงภึงสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทั้งหมด ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และไม่เกิดความสับสน 

 

5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านการทำงานอย่างเป็นระบบ มีดังนี้ 

  1. ทำงานอย่างเป็นระบบ เช่น การวางแผนการสั่งงาน การติดตามงาน การรายงาน การแก้ไขปัญหา 
  2. สร้างมาตรฐานในการปฏิบัติงานให้กับพนักงาน 
  3. ทำระบบที่มีในปัจจุบัน ให้ตรงกับความเป็นจริงที่ลูกน้องปฏิบัติ 
  4. ไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานบ่อยเกินไป 
  5. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบ หรือรายละเอียดในการทำงาน ควรแจ้งให้ลูกน้องทราบอย่างทันเวลา 

 

หลักการบริหารจัดการ POLC 

 

Planing การวางแผนงาน โดยต้องรู้ว่าเป้าหมายคืออะไร เราจะไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างไร ขั้นตอนวิธีการทำอย่างไรบ้าง และใครต้องมามีส่วนร่วม ระยะเวลา และผลลัพธ์ที่คาดหวัง ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น จากนั้นก็มากำหนดแผนการดำเนินงานที่เหมาะสมกับเรื่องนั้นๆ 

 

Organizing การจัดองค์กร โดยจัดลูกน้องให้เหมาะสมกับงานตามกาลัง ความสามารถ จากนั้นก็กำหนดขั้นตอนวิธีการต่างๆ เช่น การสื่อสาร การปฏิบัติงานให้ชัดเจน เข้าใจง่าย และที่สาคัญให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของตนเองมากที่สุด เพราะจะทาให้เกิดการยอมรับได้ง่าย 

 

Leading การเป็นผู้นำ คือ หัวหน้าควรให้อำนาจอย่างเหมาะสมกับลูกน้องแต่ละคน ไม่ล้วงลูก ไม่จู้จี้ ไม่สับสนตนเอง มอบหมายหรือสั่งอะไรกับใคร ก็ต้องจำให้ได้ อย่าไปสับสน หรือเปลี่ยนแปลงอะไรย่อยๆ เพราะลูกน้องส่วนใหญ่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง 


Controling/Evaluaton การควบคุมงาน เมื่อมอบหมายงานอะไร ให้กับใครแล้ว ก็ควรควบคุมติดตามงานอย่างเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป ตามความยากง่ายของงาน ซึ่งทาให้เราสามารถที่จะทราบความคืบหน้าของงาน และประเมินสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเวลาเมื่อเกิดข้อผิดพลาด 3 

 

5. มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา (Problem solving) 

 

หมายถึงความสามารถในการจัดการกับสิ่งผิดปกติ หรือความบกพร่องของสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อลดความสูญเสียต่างๆ ที่จะเกิดตามมา โดยหลักการของการแก้ไขปัญหาคือ แก้ตรงต้นตอของปัญหา ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด และไม่มีการแก้ไขปัญหาซ้า และการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีนี้จะต้องไม่ไปกระทบทำให้ปัญหาอื่นๆ ตามมา 

 

5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านการแก้ไขปัญหา มีดังนี้ 

  1. มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา 
  2. เข้าไปช่วยเหลือลูกน้องในการแก้ไขปัญหา 
  3. ไม่ปกปิดปัญหา 
  4. ควรหาทางป้องกันปัญหา ดีกว่ารอให้ปัญหาเกิดแล้วค่อยมาแก้ไข 
  5. ควรรับฟังวิธีการแก้ไขปัญหาของลูกน้อง และควรแก้ไขปัญหาร่วมกัน 

 

วิธีการแก้ไขแบบ PDCA 

 

Plan คือ การวางแผนโดยเป็นการวิเคราะห์ปัญหาว่า เราต้องการแก้ไขปัญหาอะไร จากนั้นก็เก็บรวบรวมข้อมูล แล้วทำการวิเคราะห์ เพื่อหาสาเหตุของปัญหา แล้วกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหา 

 

Do คือ การนำแผนงานไปปฏิบัติงานโดยมอบหมายให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติตามขั้นตอนที่เรา กำหนดไว้ตามตารางเวลาอย่างเคร่งครัด

 

Check คือ การตรวจสอบ และประเมินผลการแก้ไขหรือปรับปรุงที่ได้ร่วมมือร่วมใจกันทำไปแล้ว 

 

Action คือ การกำหนดวิธีการมาตรฐานต่างๆ กรณีที่ปัญหายุติ สามารถแก้ไขได้ ให้นำวิธีการที่เราปฏิบัตินั้นมาสร้างเป็นมาตรฐานการทำงานต่อไป ถ้าหากไม่สาเร็จ ซึ่งอาจเกิดจากการแก้ไขที่ไม่ถูกวิธี หรือผู้แก้ไขไม่ตั้งใจ ให้กลับไปข้อ 1 เพื่อแก้ไขปัญหากันต่อไป 


6. เปิดใจรับฟังความคิดเห็น (Open mind)

การที่จะเปิดใจได้ต้องเกิดจาก การยอมรับและเข้าใจ ซึ่งการยอมรับในที่นี้ คือ การที่เรายอมรับว่าคนเราแต่ละคน ต่างที่มา ต่างการศึกษา เลี้ยงดู ย่อมมีความคิดที่แตกต่างกันออกไป

และสองคือ การแสดงความเข้าใจก่อนว่า คนทุกคนย่อมมีความคิดเป็นของตนเอง และสิทธิ์ที่จะเสนอความคิดเห็นของตนเองด้วย การจะคิดได้กว้าง คิดได้ไกลจะต้องอาศัยการระดมสมอง (Brain storming) หรือเปลี่ยนความคิดเห็น การถกเถียง หรือการแสดงเหตุผล ซึ่งต้องอาศัยหลายๆ คนช่วยกันคิด 

 

5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านการเปิดใจรับฟัง มีดังนี้ 

  1. อยากเห็นหัวหน้าแสดงความจริงใจ 
  2. เปิดใจรับฟังเรื่องจริงๆ ทั้งที่ดีและไม่ดี 
  3. ไม่อยากให้หัวหน้าเอาเรื่องอดีตมาตัดสินปัจจุบัน โดยไม่ฟังเหตุผลก่อน 
  4. อยากให้หัวหน้าเปิดโอกาสกับลูกน้องทุกคนในการพูดคุยแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน 
  5. เวลามีปัญหา อยากให้หัวหน้าสอบถามจากเราโดยตรง ไม่ควรไปสอบถามจากคนอื่น 
  6. การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน (Support)  การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน หมายถึง การมีน้าใจ โอบอ้อมอารี การส่งเสริม ให้ผู้อื่นได้รับความสะดวกสบายหรือพ้นทุกข์ หรือมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน หัวหน้าต้องแสดงความจริงใจ และไม่หวังสิ่งใดตอบแทน อย่าทำแบบเสียไม่ได้ หรือทำแบบข้อไปที 4 

 

5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านการให้ความช่วยเหลือ มีดังนี้ 

  1. เสียสละเพื่อลูกน้อง 
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ลูกน้องมีความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ 
  3. ให้กาลังใจลูกน้องเสมอ ทั้งคำพูดและการกระทำ 
  4. เมื่อมีปัญหาต้องเข้าไปช่วยเหลือไม่ทิ้งกัน 
  5. มีความใส่ใจในเรื่องที่ลูกน้องร้องขอหรือต้องการ(ในเรื่องที่ถูกต้อง) 
  6. การพัฒนาสมาชิกในทีม (Team development)  การพัฒนาทีม หมายถึงการที่เราปรับปรุงและเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์และทักษะด้านต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อให้สมาชิกในทีมทุกคนสามารถปฏิบัติงานได้ดีขึ้น และมีความก้าวหน้ามากขึ้น ทั้งเพื่อตัวของพนักงานและเพื่อหน่วยงาน 

 

หัวหน้าต้องรู้ก่อนว่าลูกน้องมีกี่คน แต่ละคนมีนิสัยใจคออย่างไร และแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง และที่สาคัญคือ แต่ละคนมีจุดอ่อน จุดแข็งอะไร มีความรู้ ทักษะหรือประสบการณ์ที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานหรือไม่ จากนั้นก็รีบพัฒนาลูกน้องแต่ละคนให้มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ให้เหมาะสมกับแต่ละคน

 

การพัฒนามีได้หลายวิธี เช่น OJT (On the job training) การสอนงาน (Coaching) การมอบหมายงาน (Job assignment) 

 

5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านการพัฒนาสมาชิกในทีม มีดังนี้ 

  1. อยากเห็นหัวหน้าให้ความสำคัญกับการพัฒนาลูกน้อง 
  2. อยากได้โอกาสในการพัฒนาตนเอง 
  3. อยากมีโอกาสเติบโต ก้าวหน้าในสายอาชีพ 
  4. อยากมีความรู้ใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงการทางานให้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 
  5. อยากเก่งเหมือนกับหัวหน้า 
  6. มีความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) 

ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) หมายถึง การค้นหาวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ในทางที่ถูกต้องให้ดีขึ้น กว่าที่เคยทำมา โดยพึงระลึกไว้เสมอว่า “วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน และวันพรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้” 

 

5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้ 

  1. อยากเห็นหัวหน้ามีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาด้านต่างๆ ให้หน่วยงานดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ 
  2. อยากเห็นหัวหน้าให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ของหน่วยงาน 
  3. อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เช่น เครื่องมือ เครื่องจักร วิธีการหรือสิ่งอื่นๆ ที่ทันสมัยมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 
  4. อยากเห็นหัวหน้าเปิดรับฟัง และเข้าใจในความคิดสร้างสรรค์ของลูกน้อง 
  5. อยากเห็นหัวหน้าให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ให้ลูกน้องได้คิดสร้างสรรค์
  6. ไม่ถือตัว และให้เกียรติลูกน้อง (Respectation) 

 

การให้เกียรติ หมายถึง การปฏิบัติต่อบุคคลอื่น โดยการให้ความเคารพในสิทธิและความเป็นคน โดยคำนึงถึง กฏระเบียบ มารยาท ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ เริ่มจากการเห็นคุณค่าของความเป็นคน ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา เราอยากให้เขาดีกับเราเท่าไร เราก็ต้องทาดีกับเขามากกว่านั้นสองเท่า 

 

5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านการให้เกียรติ มีดังนี้ 

  1. ให้เกียรติผู้อื่นและลูกน้อง โดยเห็นคุณค่าของความเป็นคน 
  2. ให้ความสนิทสนมและมีความเป็นกันเอง ไม่ถือตัว 
  3. เคารพในสิทธิของผู้อื่น 
  4. มีกิริยา มารยาท พูดจาไพเราะ 
  5. ไม่ดูถูกลูกน้องในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา ฐานะครอบครัว หรือ สถานภาพต่างๆ

 

ที่มา คลิกที่นี่