สรุปโทษปรับ-จำคุก ! “กัญชา” สมุนไพรควบคุม ห้ามอายุต่ำกว่า 20 – หญิงตั้งครรภ์

17 มิ.ย. 2565 | 12:42 น.
อัปเดตล่าสุด :17 มิ.ย. 2565 | 19:40 น.
11.9 k

สรุปโทษปรับ-จำคุก ! หลังจาก "ปลดล็อกกัญชา" กว่าหนึ่งสัปดาห์ ล่าสุด “กัญชา” เป็นสมุนไพรควบคุม ห้ามอายุต่ำกว่า 20 – หญิงตั้งครรภ์

"ปลดล็อกกัญชา" ยังคงเป็นประเด็นที่น่าจับตาเเละได้รับความสนใจอย่างมาก โดยหลังจากที่กรุงเทพฯ ประกาศห้ามขายอาหาร ขนม เครื่องดื่มกัญชาในโรงเรียน ระหว่างที่รอ กระทรวงสาธารณสุข สธ. ประกาศควบคุมกัญชา กัญชง โดย “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ชิงประกาศให้โรงเรียนในสังกัด กทม. เป็นพื้นที่ปลอดกัญชาหรือกัญชง มีผลทันทีตั้งแต่ 15 มิ.ย. ที่ผ่านมา 

จากนั้น กระทรวงสาธารณสุข ก็ออกประกาศ สธ. อีกฉบับเมื่อ 16 มิ.ย. มีผลบังคับใช้วันนี้ (17 มิ.ย.) เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 4, 44, 45(3), 45(4) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 กำหนดให้กัญชา หรือสารสกัดกัญชา เป็นสมุนไพรควบคุม

 

เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา)

โดยปกติจะใช้เพื่ออนุรักษ์สมุนไพรที่กำลังจะสูญหาย และมีราคาแพง เช่น กวาวเครือ เพื่อจำกัดการครอบครองช่อดอกกัญชาทั้งระดับบุคคลและวิสาหกิจชุมชน เเต่มีรายละเอียดการควบคุมการครอบครองต่างกัน เพื่อป้องกันการเสพหรือใช้เพื่อสันทนาการ

 

คลิกอ่าน : พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542

 

ใจความสำคัญ ของประกาศ สธ. ฉบับล่าสุด

  • อนุญาตให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ครอบครอง ใช้ประโยชน์ ดูแล เก็บรักษา ขนย้าย
  • จำหน่ายสมุนไพรควบคุม (กัญชา) ได้
  • ห้ามการใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะโดยการสูบ
  • ห้ามจำหน่ายกัญชาให้แก่ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร

 

เมื่อพิจารณาภายใต้ประกาศ สธ. ฉบับนี้ เน้นไปที่อนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ผู้ประกอบโรคศิลปะการแพทย์แผนจีน และหมอพื้นบ้านตามกฎหมาย สามารถใช้ประโยชน์จากกัญชาประกอบการรักษาผู้ป่วยได้

 

บทลงโทษ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542

  • เน้นไปที่โทษของการอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมข้างต้น  
  • แต่มีบทลงโทษสำหรับ ผู้มีไว้ครอบครอบสมุนไพรควบคุมเกินจำนวน ตามมาตรา 79  ระบุว่า
  • ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 51 ให้ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งสมุนไพรควบคุมเกินกว่าจํานวนหรือปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา 45 (1) อยู่ในวันที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดให้สมุนไพรน้ันเป็นสมุนไพรควบคุม แจ้งการครอบครองสมุนไพรควบคุมนั้นต่อนายทะเบียนสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัตินี้ภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในประกาศดังกล่าวสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่ เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

นับตั้งแต่มีการประกาศปลดล็อกกัญชา 9 มิถุนายน ที่ผ่านมา จนวันนี้เป็นเวลา กว่าหนึ่งสัปดาห์ แรกเริ่ม ประกาศ สธ. เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้เมื่อ 9 มิ.ย. 2565 ส่งผลให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติด ยกเว้นสารสกัดที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนาบินอล (tetrahydrocannabinol - THC) เกิน 0.2 % ที่ยังเป็นยาเสพติด ถูกประกาศลงราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่ 9 ก.พ. 2565 

 

สรุปโทษปรับ-จำคุก ! “กัญชา” สมุนไพรควบคุม ห้ามอายุต่ำกว่า 20 – หญิงตั้งครรภ์

 

การสูบกัญชาถูกกฎหมาย

  • ไม่มีความผิดกฎหมายยาเสพติด
  • แต่สูบกัญชาในที่สาธารณะ รบกวนสิทธิผู้อื่น มีความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท
  • การสูบกัญชาในที่สาธารณะ ยังไม่มีกฎหมายควบคุมโดยตรงเช่น บุหรี่ ที่มี พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ควบคุมอยู่

 

กัญชา กัญชง ที่ใช้ในอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่ายถูกกฎหมาย

  • เฉพาะส่วนของพืชที่กำหนดในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง โปรตีนจากเมล็ดกัญชง ผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน รากและใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย
  • ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการใช้ประโยชน์จากสารสกัด CBD ผู้ประกอบการขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารหรือขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร
  • เงื่อนไขชนิดอาหาร ปริมาณ THC และ CBD และแสดงคำเตือนเป็นไปตามที่ประกาศกำหนด
  • ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย ต้องดำเนินการยื่นขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารและเลขสารบบอาหารด้วย

กัญชา กัญชง ที่ใช้ในอาหาร

 

สารสกัดพืชกัญชา กัญชง ที่ถูกกฎหมาย

  • ไม่ว่าจะเป็นการนำส่วนใดของพืชกัญชา กัญชง ไปสกัด สารสกัดที่ได้จะมี THC เท่าใดก็ตาม ต้องขออนุญาตผลิตสกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด (ยกเว้นการสกัดจากเมล็ด) โดยผลผลิตสารสกัดที่ได้ แบ่งเป็น 2 ส่วน
  • สารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2 % จะได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ
  • สารสกัดที่มี THC เกิน 0.2 % จัดเป็นยาเสพติดให้โทษ

 

การจำหน่ายกัญชาแบบถูกกฎหมาย

  • การจำหน่ายส่วนของพืชกัญชา ไม่ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
  • การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์และกิ่งพันธุ์ต้องขอรับอนุญาตตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518
  • การจำหน่ายสารสกัดที่ได้รับอนุญาตให้สกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
  • กรณีเป็นสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2 % ไม่ต้องมีใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ
  • สารสกัดที่มี THC เกิน 0.2 % ต้องมีใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ และผู้ซื้อต้องมีใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษด้วย
  • การจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น

 

การนำเข้ากัญชา กัญชง

ทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง  ห้ามนำเข้าสารสกัด ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้

  • กรณีเพื่อการศึกษาวิจัย
  • กรณีเป็นหน่วยงานรัฐเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

 

นำเข้าเมล็ดกัญชา กัญชง และส่วนอื่น ๆ  เช่น เปลือก ลำต้น ใบ เส้นใย กิ่งก้าน ราก ยอดหรือช่อดอก ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือเป็นวัตถุดิบในการผลิตสารสกัด

  • ต้องขอรับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507
  • กรณีนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชา กัญชง ต้องขออนุญาตนำเข้าตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 ด้วย
  • เมื่อได้รับอนุญาต หากจะนำพืชกัญชา กัญชงมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ สุขภาพ หรือเป็นวัตถุดิบในการผลิตสารสกัดจากกัญชา กัญชงให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วย ผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ
  • กรณีนำมาผลิตเป็นอาหาร ไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากจัดเป็นอาหารห้ามนำเข้า
  • กรณีนำผลิตเป็นเครื่องสำอาง ไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่ห้ามนำเข้า
  • กรณีนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ซึ่งหากได้รับอนุญาตให้ผลิตถูกต้องตามกฎหมายแล้ว การพิจารณาตรวจสอบการนำเข้าเพื่อเป็น วัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ก็สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกัน

 

การนำเข้า นำติดตัวเพื่อใช้เฉพาะตน ของกัญชา กัญชง

  • การนำติดตัวผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
  • การส่งทางพัสดุ/ไปรษณีย์ระหว่างประเทศ กำหนดหลักเกณฑ์การนำเข้าเพื่อใช้เฉพาะตัวไว้ว่า
  • ผู้นำเข้าต้องเป็นบุคคลธรรมดา มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้เฉพาะตัวของผู้นำเข้าเอง พิจารณาจากรูปแบบของสินค้าที่นำเข้า  เช่น เครื่องมือแพทย์ หรือวัตถุอันตราย หรือ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้งานบนฉลากผลิตภัณฑ์
  • หากผลิตภัณฑ์ จัดเป็นอาหาร หรือเครื่องสำอาง จะไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากจัดเป็นอาหารห้ามนำเข้า หรือเป็นเครื่องสำอางที่ห้ามนำเข้า
  • การนำเข้าในรูปแบบส่วนต่าง ๆ ของพืช ต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้าตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ก่อน หากนำเข้ามาเป็นอาหาร เพื่อบริโภคส่วนตัวจะไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากจัดเป็นอาหารห้ามนำเข้าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 424 พ.ศ. 2564
  • ส่วนกรณีนำเข้าส่วนต่าง ๆ ของพืชกัญชา กัญชง มาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อใช้เฉพาะตัว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร

 

กัญชาในอาหาร

กรมอนามัย ออกประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบหรือปรุงอาหาร ในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565 จำนวน 2 ฉบับ 

 

ประกาศฉบับเเรก

รวม 6 ข้อ สาระสำคัญคือ กำหนดให้สถานประกอบการ กิจการอาหาร ต้องควบคุม กำกับ และจัดให้มีการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพและต้องตระหนักด้านความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบของอาหาร 

 

อ่านเพิ่มเพิม : กัญชาทำอาหารใส่ได้กี่ใบ ถูกกฎหมายเช็คประกาศกรมอนามัยล่าสุด

 

ข้อความคำเตือนที่ถูกระบุไว้ในประกาศของกรมอนามัยมี 4 ข้อความ 

  • "เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน"
  • "หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที"
  • "ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) ควรระวังในการรับประทาน"
  • "อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล"

 

 

ประกาศฉบับที่ 2  

กำหนดให้สถานประกอบกิจการอาหาร มีการจัดเก็บใบกัญชาที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ จัดเก็บเป็นสัดส่วน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดเชื้อรา หรือเน่าเสีย"ภายใต้ประกาศของกรมอนามัย สถานประกอบกิจการอาหารครอบคลุมถึง ตลาด สถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร และการจำหน่ายในที่หรือทางสาธารณะ

 

ต้องรู้ เมื่อนำ "กัญชา" มาปรุงในอาหาร

 

คุมกลิ่น-ควัน กัญชา กัญชง

สธ. ออกประกาศเพื่อป้องกันการสูบ หรือในพื้นที่สาธารณะ โดยราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดให้การกระทำให้เกิดกลิ่น หรือควันกัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด เป็นเหตุรำคาญ พ.ศ.2565 เมื่อ 14 มิ.ย.

 

เพราะควันอาจทำให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย เช่น โรคปอด หอบหืด หลอดลมอักเสบ จึงกำหนดให้การกระทำให้เกิดกลิ่น หรือควันกัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด เว้นแต่พืชที่มีกฎหมายอื่นควบคุมแล้ว จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น เป็นเหตุรำคาญ ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข

 

บทลงโทษ ผู้ก่อเหตุรำคาญ

  • หากได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานให้ปรับปรุงแก้ไข แต่ไม่ยอมดำเนินการ จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สรุปโทษปรับ-จำคุก ! “กัญชา” สมุนไพรควบคุม ห้ามอายุต่ำกว่า 20 – หญิงตั้งครรภ์

 

อ่านเพิ่มเติม : เปิดบทลงโทษ กลิ่น-ควัน"กัญชา กัญชง" เป็นเหตุรำคาญ