Jaymart ทุ่ม 50 ล้านต่อยอด ดิจิทัล คาเฟ่ ปีหน้าครบ 10 สาขาบุกตลาดต่างจังหวัด

04 ธ.ค. 2564 | 13:43 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ธ.ค. 2564 | 22:46 น.
1.2 k

Jaymart รุกหนักต่อยอดธุรกิจ ดิจิทัล คาเฟ่ ทุ่มกว่า 50 ล้านบาท เปิดครบ 10 สาขา เน้นความต่างให้น้ำหนักจำหน่ายแกดเจ็ต 80%

จากกรณีที่ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) และ บมจ.เจ มาร์ท (JMART) ตกลงร่วมมือทางธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว โดย บมจ.วีจีไอ (VGI) และ บมจ.ยู ซิตี้ จำกัด (U) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำภายใต้กลุ่ม BTS จะเข้าลงทุนในบริษัทของกลุ่ม JMART จำนวนทั้งสิ้น 1.75 หมื่นล้านบาท สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในกลุ่ม JMART ที่มีศักยภาพและแข็งแกร่ง

ล่าสุดนายนราธิป วิรุฬห์ชาตะพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท โมบาย จำกัด บริษัทในเครือ บมจ.เจมาร์ท เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า  ขณะนี้ เจมาร์ทฯ ได้รุกธุรกิจ Digital Cafe  ซึ่งเป็นอีก 1 แบรนด์ที่  Jaymart  พัฒนาแบรนด์อย่างต่อเนื่อง ภายในสิ้นปีนี้เปิดครบ  3 สาขา โดยสาขาแรกเปิดแล้วที่แฟชั่นไอส์แลนด์ชั้น 3 ส่วนสาขาที่สองเปิดเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.ที่เดอะมอลล์ท่าพระ และ ภายในสิ้นปีนี้เปิดสาขาที่ 3 ที่สยามสแควร์ เจาะกลุ่มวัยรุ่น

 

ส่วนในปี 2565 เปิดเพิ่มอีกจำนวน 7 สาขารวมทั้งสิ้นจำนวน 10 สาขา แบ่งเป็นกรุงเทพ 7 สาขา และ ต่างจังหวัด  3 สาขา ตามหัวเมืองท่องเที่ยวหลักๆ  สำหรับงบประมาณลงทุนและสาขาประมาณ 5 ล้านบาท ดังนั้น 10 สาขาเปิดให้บริการใช้เงินทั้งสิ้น 50 ล้านบาท

 

สำหรับความแตกต่าง Jaymart กับ Digital Café ความแตกต่างอยู่ที่ Jaymart จำหน่ายมือถือ 80% และ  แกดเจ็ต  จำนวน 20%  ซึ่งกลับด้านกับ Digital Cafe เน้นแกดเจ็ต  80%  มือถือ 20%  สำหรับ Digital Cafe เป็นการเน้นสินค้าหมวดที่ไม่ใช่มือถือมากกว่า ที่เป็น Gadget, iOT และมีโน้ตบุ๊ค จำหน่าย

 

 

Digital Cafe

 

นายนราธิป ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับมือถือ และ แกดเจ็ต ที่นำมาจำหน่ายมุ่งเน้น Premium Segment ราคากลาง และ ราคาสูง ไม่มีราคาระดับล่างจำหน่าย ขณะที่ ภายในร้านจะมีดีสเพย์ของ Apple Gadget มากกว่าร้าน Jaymart ทั่วไป และมีความหลากหลายมากกว่า

 

นอกจากนี้ในการจัดวางสินค้า หรือ Merchandising Display ที่แตกต่างเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์ด้านลบ ที่ทุกๆ ร้านค้ามือถือทั่วไปจะมีผนังของแบรนด์มือถือ แต่ Digital Cafe ไม่มี Visibility (ความสามารถมองเห็น) ของ แบรนด์ นอกจาก Apple แบรนด์เดียว

 

“การวางสินค้าบนโต๊ะ ไม่จำกัดแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งแต่เป็นลักษณะอีโคซิสเต็มส์ คือ การที่แต่ละแบรนด์จะมีสมาร์ทโฟน และ สมาร์วอทช์ และ หูฟัง  ในที่เดียวกันเพื่อสร้างประสบการณ์ ของ Connecting Device เข้าด้วยกัน”

 

 

 

Digital Cafe

 

นอกจากนี้ภายในร้าน Digital Cafe มีกาแฟ Casa Lapin ให้บริการภายในร้านเพราะการมีคอฟฟี่คอร์เนอร์ในร้านช่วยเพิ่มความเป็นแบรนด์ที่มีไลฟ์สไตล์ และจับกลุ่มผู้บริโภคที่มีชีวิตในการใช้ Lifestyle Gadget ที่จะเข้ามาภายในร้าน

 

จะส่งผลให้ทั้งสองส่วนจำหน่ายร่วมกันได้ ไม่ว่ากลุ่มลูกค้าจะมาจากฐานของ Jaymart หรือ Casa Lapin ก็สามารถก่อให้เกิดการขายระหว่างกันและกันได้ เช่น ลูกค้าที่มานั่งทานกาแฟ ได้มีโอกาสในการพูดคุยสินค้า กับพนักงานขายสินค้า ก็มีโอกาสในการขายได้มากขึ้น เพราะกลิ่นกาแฟให้ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เป็นการสร้างประสพการณ์ให้กับลูกค้า ความหอมของกาแฟ ช่วยในเรื่องของ กลิ่น ที่เพิ่มอีก Sensory เข้ามาให้ดึงดูดคนได้กลิ่นหอม ได้ความรู้สึกผ่อนคลายนำมาซึ่งการได้เห็นร้าน Digital Cafe อีกด้วย.