จากกรณีปัญหาใบส่งตัว บัตรทอง กทม. ที่ยังไม่คลี่คลายอยู่ในขณะนี้ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บนเวทีการประชุม สรุปผลและข้อเสนอจากการรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี 2567 ได้ให้ข้อมูลเบื้องต้น
สำหรับกระบวนการส่งใบส่งตัวมี 2 ลักษณะ คือ ให้ข้อมูลของผู้ป่วยและต้องมีใบส่งตัวถึงจะมั่นใจได้ว่า สปสช.ไปจ่าย โดยลักษณะแรกจะแก้ปัญหาโดยการเชื่อมข้อมูลบริการของหน่วยบริการทุกระบบในเฟสต่อไปที่จะดําเนินการของกรุงเทพมหานครซึ่งจะประกาศในราชกิจจาฯ เป็นระยะ ๆ ออกมา ในส่วนนี้จะทําให้ประชาชนมั่นใจว่า เมื่อมีการเชื่อมข้อมูลในหน่วยต่าง ๆ แล้ว ถ้าจะต้องไปเอาใบส่งตัวเพื่อดูประวัตินั้นไม่จําเป็น
อีกประเด็น คือ จะออกมาตรการในเรื่องการเงินออกมาว่าถ้ามีประชาชนไปยังหน่วยที่ไม่มีใบส่งตัวไปแล้วประสงค์จะเข้ามาเบิกกับสปสช.ไม่จําเป็นต้องมีใบส่งตัว ดังนั้น ในส่วนของ 30 บาทรักษาทุกที่ในกรุงเทพมหานครที่จะเริ่มนั้นขอแก้ปัญหาตรงนี้อย่างเบ็ดเสร็จก่อน
ตอนนี้คณะกรรมการได้กําหนดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมซึ่งขณะนี้สปสช.กําลังทยอยรับหน่วยนวัตกรรมเข้ามาเพื่อรองรับบริการที่ประชาชนอาจเจ็บป่วยเล็กน้อยก่อน แล้วตอนนี้ที่ออกประกาศในราชกิจจาฯไปก็เพื่อยืนยันว่า หน่วยที่สมัครเข้ามาในช่วงนี้ท่านมีงบประมาณแล้วเราตั้งไว้จํานวนหนึ่งแต่ว่าการขยายต่อไปจะมีขั้นตอนต่าง ๆ ที่จะต้องออกมา
ทั้งนี้ ในส่วนที่ สปสช.รับผิดชอบเราเตรียมไว้หมดแล้วแต่จะต้องดูเรื่องกลไกที่จะขับเคลื่อนต่ออีกเพื่อให้เข้าสู่ระบบอาจจะต้องมีการซักซ้อมกับบอร์ด ซักซ้อมกับหน่วยบริการจากนั้นจะทยอยประกาศให้ประชาชนทราบ คาดว่า ไม่เกินเดือนหน้าเป็นต้นไปจะเริ่มทยอยประกาศออกมาในราชกิจจานุเบกษาเป็นระยะ ๆ นพ.จเด็จ กล่าว
สำหรับความกังวลเรื่องโรงพยาบาลไม่รับส่งต่อนั้น นพ.จเด็จ กล่าวว่า ขณะนี้กําลังดูหน่วยบริการที่เป็นโรงพยาบาลเอกชนจํานวนหนึ่งเข้ามาเพิ่มเติมทั้งในเขต กทม. และปริมณฑลเพราะถ้าให้ประชาชนจากหน่วยบริการปฐมภูมิแล้วข้ามไปอยู่หน่วยบริการตติยภูมิเลยอาจมีปัญหากำลังเร่งเชื่อมข้อมูลผู้ป่วยในหน่วยบริการข้ามสังกัดให้เข้าถึงกันได้หมดและออกแบบรูปแบบการเบิกจ่ายใหม่ไม่ให้เป็นปัญหาอุปสรรคต่อประชาชน
โดยอาจจะทำสัญลักษณ์กับหน่วยบริการที่เชื่อมข้อมูลแล้วไม่ต้องใช้ใบส่งตัว คาดว่า จะทยอยทำได้ตั้งแต่เดือน ก.ค. เป็นต้นไป คาดสิ้นปีจะเปิดตัวรักษาทุกที่ในกทม.อย่างเป็นทางการ
สำหรับกรณีผู้ป่วยต้องการใบส่งตัวแต่ทางคลินิกไม่ออกใบส่งตัวให้และบอกเหตุผลว่าสามารถรักษาได้นั้น นพ.จเด็จ กล่าวว่า เป็นปัญหาเรื่องความศรัทธาที่ต้องทําความเข้าใจกับผู้ป่วยเพราะบางครั้งโรคที่เป็นไม่จําเป็นต้องไปโรงพยาบาลแต่สิ่งที่เจอ คือ โรคที่คลินิกรักษาไม่ได้แต่ไม่ยอมส่งตัวอันนี้ไม่ได้มีความผิดแน่นอนซึ่งตอนนี้มีหลายร้อยรายซึ่งได้รวบรวมทำสำนวนเสร็จเรียบร้อยและได้ส่งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายต่อไป