“โรคหลอดเลือดสมอง” เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิตและทุพพลภาพของประชากรทั่วโลก จากสถิติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2566 พบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยถึง 349,126 ราย ซึ่งพบอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกกว่า 30% ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอยู่ที่ 2.5%
นอกจากนี้ ยังมีโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย เช่น ภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง เนื้องอกในสมอง ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน เป็นต้น โรคเหล่านี้จำเป็นต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญสูงในการดูแลรักษา เพราะทุกวินาที คือ ‘วินาทีชีวิต’
นพ. ฤกษ์ชัย ตุลยาภรณ์โชติ หัวหน้า ศูนย์โรคระบบประสาท แพทย์ชำนาญการเฉพาะทางด้านประสาทวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ หรือ BH กล่าวว่า ภาวะสมองขาดเลือด (Stroke) และภาวะเลือดออก (intracranial hemorrhage) ในสมองเป็นภาวะส่วนใหญ่ที่พบบ่อย โดยข้อมูลในประเทศไทยพบว่า ทุกๆ 3 นาที จะพบได้ในผู้ป่วย 1 คน
โดยปัจจัยเสี่ยงของภาวะเหล่านี้ มักพบในผู้สูงวัยเพศชาย แต่ในปัจจุบันยังพบได้ในหลากหลายช่วงอายุ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการกินและออกกำลังกาย และผู้ที่มีประวัติความดันโลหิตสูง หรือเป็นโรคเบาหวาน มีสัญญาณเตือนเพียงเล็กน้อย ราว 10% ของผู้ป่วยหรือผู้ที่มีความเสี่ยง แขนขาอ่อนแรง ตาพร่ามัว ลิ้นแข็ง โดยอาการเหล่านี้จะปรากฏเพียงชั่วครู่ อาจทำให้ผู้ป่วยละเลยการรักษา และเกิดอาการหนักขึ้นจนเกิดภาวะฉุกเฉิน และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจส่งผลต่อชีวิตได้
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากโรคระบบประสาท และมุ่งมั่นพัฒนาการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดย ‘ศูนย์โรคระบบประสาท’ (Neuroscience center) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีทีมแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทครบทุกสาขาและทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์ และความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทที่ร้ายแรงและซับซ้อน สามารถให้การดูแลผู้ป่วยแบบเฉพาะบุคคลด้วยวิธีการรักษาที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
ตั้งแต่การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การใช้ยา ไปจนถึงการผ่าตัด หรือ การรักษาด้วยวิธีรังสีร่วมรักษา โดยอิงจากความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน (Evidence based best practice) พร้อมด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างแม่นยำ รวมถึงการรับมือกับผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินที่มีความซับซ้อนได้อย่างทันท่วงที
ด้านนพ. ภวิศ เหลืองเวชการ แพทย์ชำนาญการเฉพาะทางด้านประสาทวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า การรักษาเบื้องต้นแบ่งเป็น 3 ระยะ ในระยะแรกเป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะฉุกเฉิน โดย ศูนย์โรคระบบประสาท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีทีมแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการรับมือกับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินแทรกซ้อน
ในระยะที่ 2 เป็นการเฝ้าระวัง เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดอาการซ้ำ ในระหว่างการผ่าตัดและหลังการรักษาผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและสมองอาจมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ตลอดเวลา เช่น ภาวะเลือดออกซ้ำและทำให้สมองเสียหายเพิ่มขึ้น หรืออาจเกิดภาวะสูญเสียความรู้สึก ดังนั้น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จึงมี ‘แผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง’ (Neurocritical care unit) เพื่อติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง จากนั้นจึงเข้าสู่ระยะที่ 3 คือระยะฟื้นฟู (Rehab) ของผู้ป่วย
ทั้งนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยังเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย และเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกๆ ในเอเชียที่พยาบาลในแผนกผู้ป่วยวิกฤตผ่านการอบรมหลักสูตร ‘การช่วยชีวิตผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทขั้นสูง’ (Emergency Neurological Life Support: ENLS Course)
พร้อมทั้ง มีเทคโนยีเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย เช่น เครื่องตรวจการไหลเวียนของเลือดของหลอดเลือดแดงในสมอง (TCD: Transcranial Doppler) เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดสมองอุดตัน เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG: Electroencephalography) เครื่องกระตุ้นสมองและระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS: Transcranial Magnetic Stimulation) เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI: Magnetic Resonance Imaging)เครื่องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
มากไปกว่านั้น ศูนย์โรคระบบประสาท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยังมุ่งมั่นในการที่จะเตรียมความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยีการรักษาให้ครบครัน และบุคลากรทางความแพทย์ให้มีความรูความสามารถ รวมไปถึงเป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้เกี่ยวกับ เพื่อพัฒนาความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศอย่างไม่จำกัด