เปิด 6 สาเหตุ "ฝีดาษลิง" แพร่ระบาดมากยากจะควบคุม

09 ก.ย. 2566 | 08:17 น.

เปิด 6 สาเหตุ "ฝีดาษลิง" แพร่ระบาดมากยากจะควบคุม หมอยงเผยประเทศไทยจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนมิถุนายน ระบุการระบาดมีความสัมพันธ์กับเพศสัมพันธ์ ชี้วัคซีนป้องกันไม่ได้ 100%

"ฝีดาษลิง" กำลังแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย และแพร่กระจายเชื้อไปทุกกลุ่มอายุ

โดยเฉพาะในกลุ่มของชายรักชายที่ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงจนมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก

ล่าสุดนพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งโพสต์เฟชบุ๊กส่วนตัว (Yong Poovorawan) โดยมีข้อความระบุถึงฝีดาษลิง ว่า

Mpox หรือ ฝีดาษวานร (ชื่อเดิม) กำลังระบาดมากและยากที่จะควบคุม 

หมอยง ระบุว่า Mpox ทั่วโลกมีผู้ป่วยร่วมแสนคน สำหรับประเทศไทยจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงปัจจุบันหลังจากมีการจัดงาน prime festival 

สาเหตุที่ Mpoxระบาดแล้วยากที่จะควบคุม ด้วยสาเหตุดังนี้

  • ความรุนแรงของโรคนี้มีความรุนแรงน้อยมาก ในบางรายขึ้นตุ่มไม่กี่ตุ่ม หรือไม่ทราบดังนั้นจำนวนหนึ่งจะไม่ได้เข้าสู่กระบวนการรักษา และสามารถแพร่กระจายโรคต่อไปได้

เปิด 6 สาเหตุ "ฝีดาษลิง" แพร่ระบาดมากยากจะควบคุม

  • การระบาดมีความสัมพันธ์กับเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะในกลุ่มชายรักชาย เช่นเดียวกับ HIV ก็ยากที่จะควบคุมหรือกำจัดให้หมดไป แต่ Mpox ดีกว่า HIV ตรงที่โรคหายขาดไม่เรื้อรัง
  • การป้องกันด้วยวัคซีน วัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันใช้ป้องกันฝีดาษคน เมื่อนำมาป้องกันฝีดาษ Mpox ประสิทธิภาพในการป้องกันลดลง ไม่ได้ 100% แบบการปลูกฝีป้องกันฝีดาษ ดังนั้นผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วก็ยังเป็นโรคได้
  • วัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีราคาแพงมาก ประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถที่จะนำมาใช้ได้
  • แหล่งแรงโรค อยู่ในสัตว์ตระกูลหนูหรือฟันแท้ จะเห็นได้จากการระบาดเมื่อ 20 ปีก่อนในอเมริกามีการนำเอาหนู Giant Gambian rat นำเข้าไปในอเมริกาและไปเลี้ยงรวมกับ แพรี่ด็อก เชื้อได้ข้ามไปสู่แพรี่ด็อกและเข้ามาสู่คน ทำให้เกิดการระบาดมากกว่า 40 คน
  • ประเทศกำลังพัฒนาที่มีสุขอนามัยไม่ดี เชื้อ Mpox อาจหลุดลงไปและไปสู่สัตว์พันธุ์แท้โดยเฉพาะหนู ที่จะเป็นแหล่งเพราะพันธุ์ของโรค และอาจจะแพร่พันธุ์ไปสู่สัตว์อื่น จะยิ่งทำให้ยากในการควบคุม

การดูแลป้องกันลดการแพร่กระจายในประเทศกำลังพัฒนา จะต้องออกแรงมากกว่าประเทศพัฒนาแล้วด้วยสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่จำกัด