คินน์-เวชธานี จับมือกระตุ้นคนไทยป้องกัน "โรคหลอดเลือดสมอง"

17 ส.ค. 2566 | 12:10 น.
อัปเดตล่าสุด :17 ส.ค. 2566 | 12:11 น.

คินน์ เวิลด์ไวด์ จับมือ รพ.เวชธานี อัดแคมเปญพิเศษหนุนคนไทยตรวจสุขภาพ-ดูแลสุขภาพเชิงรุก ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หลังคร่าชีวิตคนทั่วโลกเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง

เปิดสถิติคนไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปทุกๆ 100,000 คนป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หรือ STROKE อัมพฤกษ์ อัมพาต  330.72 คน กระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมผู้ดูแลต้องแบกภาระการดูแลและค่าใช้จ่ายสูงเฉลี่ย 110,000-800,000 บาท คินน์ เวิลด์ไวด์ จำกัด ภายใต้แบรนด์ “คินน์” (KINN)  จับมือ รพ.เวชธานี  สร้างการรับรู้และขยายฐานลูกค้าระหว่างกันผ่านแคมเปญพิเศษหนุนคนไทยตรวจสุขภาพ-ดูแลสุขภาพเชิงป้องกันป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

คินน์-รพ.เวชธานี อัดแคมเปญกระตุ้นคนไทยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

ดร. ศิริพร อริยพุทธรัตน์ ประธานกรรมการบริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท คินน์ เวิลด์ไวด์ จำกัด ผู้นำด้านโภชนเภสัช เปิดเผยว่า  โดยโรคหลอดเลือดสมอง ที่เรียกกันว่า อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือ STROKE ในกลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง และอันดับ 3 ของความพิการทั่วโลก นับเป็นปัญหาใหญ่ด้านสาธารณสุขระดับประเทศและระดับโลก ล่าสุดในปี 2565 ประชากรไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ทุกๆ 100,000 คนจะป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 330.72 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีจำนวน 278.79 คน  

นอกจากสถิติการเสียชีวิตมีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองในปี 2563 ทั้งหมด 34,545 คน เท่ากับในประชากร 100,000 คนจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง 53 คน เป็นเพศชาย 19,949 คน หรือ 58 % มากกว่าเพศหญิง 14,596 คน หรือ 42%  ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 23,817 คน คิดเป็น 69% ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

  ดร. ศิริพร อริยพุทธรัตน์ นอกจากนี้จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในทุกปียังได้ส่งผลกระทบในมิติเชิงเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เนื่องจากผู้ป่วยที่ไม่เสียชีวิตวส่วนใหญ่ป่วยติดเตียง หรือนั่งรถเข็นตลอดชีวิต ในด้านสังคมสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพช่วยขับเคลื่อนพัฒนาประเทศนอกจากนี้ญาติผู้ป่วยยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่เนื่องจากต้องแบ่งเวลาไปดูแลผู้ป่วยโดยการรักษาจะใช้ค่ารักษาประมาณ 110,000-800,000 บาท ต่อคนต่อปี  และยังส่งผลกระทบในระดับเศรษฐกิจมหภาคเนื่องจากภาครัฐต้องอัดฉีดงบประมาณด้านสาธารณสุขเพื่อเป็นสวัสดิการให้ประชากรกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการแก้ไขปัญหาโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากการสนับสนุนให้ประชาชนไทยปรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตสมดุล เพื่อเป้าหมายการมีคุณภาพที่ดี ด้วยสุขภาพที่ดี ทั้งมิติของการรักษาให้หายป่วย และมิติของการดูแลรักษาสุขภาพเชิงป้องกันซึ่งเป็นเทรนด์สุขภาพมาแรงในยุคปัจจุบัน  ควบคู่การตรวจสุขภาพอยู่เสมอถือเป็นหัวใจสำคัญของการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคหลอดเลือดสมอง

 

“ล่าสุด คินน์ได้ร่วมมือกับ โรงพยาบาลเวชธานี สนับสนุนให้คนไทยโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและวัยทำงาน ได้ตระหนักและระมัดระวังการใช้ชีวิตประจำวัน ควบคู่การรับบริการตรวจเลือดจากโรงพยาบาลชั้นนำ ไปพร้อมกับเข้าถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ตัวช่วยดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรค หลอดเลือดสมองภายใต้แคมเปญพิเศษโปรโมชั่นช่วงวันแม่ ซื้อผลิตภัณฑ์คินน์ นัตโตะ 5 ขวด ในเดือนสิงหาคมนี้  รับฟรี Voucher ตรวจระดับไขมันในเลือด มูลค่า 2,290 บาท กับโรงพยาบาลเวชธานี

 

โดยมีเป้าหมายสร้างการรับรู้ขยายไปยังกลุ่มของโรงพยาบาล เจาะกลุ่มคนวัยทำงาน  ผู้สูงอายุ  คนรักสุขภาพ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง และโรค NCDs ได้รู้จักและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ KINN Natto ผลิตภัณฑ์ที่ค้นคว้าวิจัยคุณประโยชน์ของจุลินทรีย์ Bio Longevity ธรรมชาติ ปัจจุบันคินน์มีฐานลูกค้าเป็นลูกค้าใหม่ 12% เป็นลูกค้าซื้อซ้ำ 60% ที่เหลือจะเป็นกลุ่มลูกค้าจากโรงพยาบาล” 

 

 ดร.ชาคริต ศึกษากิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวชธานี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การใช้ชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันเผชิญอยู่ท่ามกลางความเสี่ยงรอบด้าน ทั้ง ความเสี่ยงจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม ความเครียด รวมถึงอาหารการกินที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ความเสี่ยงเหล่านี้จึงเป็นภัยเงียบที่อาจจะทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้คนไทยมีโอกาสในการเข้าถึงการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม โรงพยาบาลเวชธานีจึงได้ร่วมมือกับ คินน์ จัดแคมเปญเพื่อกระตุ้นให้คนไทย หันมาใส่ใจหมั่นตรวจเช็คสุขภาพ และดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน 

 

โดยมีแนวทางการป้องกันโรค ดังนี้  ปรับระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวสูง  เลิกสูบบุหรี่ ควบคุมอาการของโรคเบาหวาน ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับประทานผลไม้และผักให้มากยิ่งขึ้นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดการดื่มสุรา เข้ารับการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด และตรวจสุขภาพเป็นประจำ