องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ World Environment Day ซึ่งในปี 2023 เน้นสร้างความตระหนักถึงปัญหาใหญ่ คือ "การจัดการขยะพลาสติก" รณรงค์ให้ทุกคนมีส่วนร่วมจัดการปัญหาขยะพลาสติก การยกะดับการลงมือทำ และเปลี่ยนผ่านสู่ Circular Economy ภายใต้แนวคิด Solution to plastic pollution
นางกอบบุญ ศรีชัย ผู้บริหารสูงสุด สายงานกิจการองค์กรและลงทุนสัมพันธ์ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร ภายใต้วิสัยทัศน์เป็นครัวของโลก ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อม ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นทางของความมั่นคงทางอาหาร
โดยที่ผ่านมา นอกจากความร่วมมือกับพันธมิตรในระดับสากลเพื่อร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู และ ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งดิน น้ำ และ ป่าไม้แล้ว ยังได้ปลูกฝังความตระหนักในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมสู่พนักงานในองค์กร ด้วยการรณรงค์และสร้างความร่วมมือในการ "ลงมือทำ"
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดการปัญหาขยะพลาสติก ซึ่งปัจจุบัน ซีพีเอฟมีการดำเนินการแล้วในหลายรูปแบบ ตั้งแต่กระบวนการเก็บขยะ ตั้งแต่กระบวนการเก็บและคัดแยกขยะ การบริหารจัดการอย่างถูกวิธี และนำขยะมาสร้างมูลค่าเพิ่ม กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
ตั้งแต่ปี 2565 ซีพีเอฟ โดย นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ ประกาศ Kick Off โครงการ Restore the Ocean ร่วมดูแลและปกป้องระบบนิเวศทางทะเล รวมไปถึงการบริหารจัดการปัญหาขยะพลาสติก ผ่านการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ และการจัดการข้อมูลขยะอย่างเป็นระบบ
ประกอบด้วย กิจกรรม "ขยะชายหาด" สร้างการมีส่วนร่วมและปลูกฝังสำนึกให้กับพนักงานของบริษัทในการทำความสะอาดชายหาดบริเวณใกล้เคียงสถานประกอบการของซีพีเอฟ ทั้งในและต่างประเทศ
กิจกรรม "กับดักขยะทะเล" เป็นความร่วมมือ กับชุมชนบริเวณปากแม่น้ำลำคลอง เก็บและคัดแยกขยะจากป่าชายเลน นำร่องในพื้นที่ ต.บางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร ซึ่งในกิจกรรมดังกล่าว ซีพีเอฟสานต่อความร่วมมือกับ Precious Plastic Bangkok สนับสนุนให้ความรู้และเครื่องมือ ในการนำฝาขวดน้ำพลาสติกเข้าสู่กระบวนการ Upcycling แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น กระถางต้นไม้ อุปกรณ์เสียบปากกา ทำให้ชุมชนมีรายได้เสริม
รวมถึงส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะทะเลตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนน โดยส่งเสริมเรือประมงเก็บขยะในทะเลกลับสู่ฝั่ง และแรงงานประมงเก็บขยะในครัวเรือนและชุมชน เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลผ่านโครงการ "เก็บขยะท่าเรือ" เพื่อนำขยะที่เก็บรวบรวมเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและเปลี่ยนขยะเป็นแหล่งรายได้เสริมให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง ภายใต้โครงการศูนย์สวัสดิภาพและะธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา (FLEC)ที่ซีพีเอฟให้การสนับสนุน
ปัจจุบัน โครงการ Restore the Ocean สามารถเก็บและช่วยป้องกันขยะไหลลงสู่ทะเลได้กว่า 16,000 กิโลกรัม หรือ 16 ตัน จากการจัดกิจกรรมเก็บรวบรวมขยะชายฝั่งทั่วประเทศรวม 27 ครั้ง ระหว่างเดือ นมกราคม 2564 ถึง พฤศจิกายน 2565
นอกจากกิจกรรม Restore the Ocean แล้ว ในด้านของการลดปัญหาขยะพลาสติก บริษัทยังส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล (Design for Recycle) เช่น การใช้บรรจุภัณฑ์จากโมโนพลาสติก (mono plastic) ทั้งบรรจุภัณฑ์ใช้พลาสติกชนิดเดียวกันทั้งหมด เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณขยะสู่การฝังกลบให้มากที่สุด โดยมีเป้าหมายลดการใช้กระดาษและพลาสติกในบรรจุภัณฑ์อาหารลง 1 พันตัน ภายในปี 2568 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2562