การทำงานในทุกสาขาอาชีพ ย่อมอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ อันเกิดจากการทำงานนั้นๆ ซึ่งกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มุ่งเน้นในเรื่องของสิทธิลูกจ้าง ทั้งเรื่องเวลาการทำงาน วันหยุด วันลา อัตราค่าตอบแทน เป็นต้น
สำหรับการเฝ้าระวัง และป้องกันควบคุมโรค ที่เกิดจากการทำงานของลูกจ้างนั้น ล่าสุด (18 มีนาคม 2566) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง การแจ้งข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพแก่ลูกจ้าง พ.ศ.2565 ได้มีผลบังคับใช้ หลังจากพ้นกำหนด 360วัน นับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา
เปิดประกาศสธ.ให้นายจ้างแจ้งข้อมูล เกี่ยวกับโรคจากการประกอบอาชีพ
ประกาศฉบับนี้ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้นายจ้างแจ้งข้อมูล ที่จำเป็นเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพแก่ลูกจ้าง
“นายจ้าง” หมายถึง นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และรวมถึงผู้จ้างงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ด้วย
“ลูกจ้าง” หมายถึง ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และรวมถึงผู้รับงานไปทำที่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
นายจ้าง ต้องแจ้งอะไรบ้าง
นายจ้าง ต้องแจ้งเมื่อใด
นายจ้างต้องแจ้งข้อมูลดังกล่าว ให้ลูกจ้างรับทราบก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทำงาน หรือเปลี่ยนลักษณะงาน หรือเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความเสี่ยงหรืออันตรายที่แตกต่างไปจากเดิม หรือมีการจ้างงาน และต้องเก็บหลักฐานการรับทราบข้อมูลของลูกจ้าง เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ในการตรวจสอบ
วิธีแจ้งข้อมูลแก่ลูกจ้าง