เคล็ดลับกินโซเดียมถูกวิธี "ไตไม่พัง-ความดันไม่ขึ้น" คลิกเลย

10 มี.ค. 2566 | 03:10 น.
1.1 k

กรมอนามัย แนะเคล็ดลับกินโซเดียมในปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละวัน "ไตไม่พัง-ความดันไม่ขึ้น" ทำได้ ด้วย 2 เทคนิคง่าย ๆ คลิกเลย

สถานการณ์คนไทยป่วยโรคไตน่ากังวลไม่น้อยโดยสถานการณ์ของโรคไตเรื้อรังในประชากรไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในปี 2565 พบว่า 1 ใน 25 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง กลายเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรายใหม่ ที่สำคัญประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคไตสูงที่สุด

ดังนั้น เพื่อร่วมสร้างความตระหนักรู้และร่วมดูแลสุขภาพคนไทย โดย กรมอนามัย ได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกินโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อการมีสุขภาพที่ดี ไม่เสี่ยงเกิดโรคไตตามมา ในหัวข้อ "กินโซเดียมได้แค่ไหน ไตไม่พัง ความดันไม่ขึ้น" 

โซเดียม (Sodium) คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ช่วยรักษาความสมดุลของน้ำในร่างกาย และความดันโลหิตซึ่งใน 1 วันเราไม่ควรกินโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัม ซึ่งมีเทคนิกวิธีการจำกัดโซเดียมไม่ให้เกินเพื่อไม่ให้เสี่ยงโรคด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

ชิมก่อนปรุง เลี่ยงการปรุงเพิ่ม

  • ลดซด น้ำแกง น้ำซุป
  • เลี่ยงอาหารแปรรูป อาทิ ไส้กรอก, กุนเชียง, แฮม และ หมูหยอง เป็นต้น
  • เลี่ยงผงชูรส และผงปรุงรส 

โซเดียมในเครื่องปรุงรส

  1. เกลือ  1 ช้อนโต๊ะ ปริมาณโซเดียม 6,000 มิลลิกรัม
  2. น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ ปริมาณโซเดียม 1,160-1,420 มิลลิกรัม
  3. ซีอิ๊วขาว  1 ช้อนโต๊ะ ปริมาณโซเดียม 960-1,420 มิลลิกรัม
  4. ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ ปริมาณโซเดียม 1,150 มิลลิกรัม
  5. กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ ปริมาณโซเดียม 1,430- 1,490 มิลลิกรัม
  6. ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ ปริมาณโซเดียม 420- 490 มิลลิกรัม

เคล็ดลับกินโซเดียมถูกวิธี \"ไตไม่พัง-ความดันไม่ขึ้น\" คลิกเลย

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน "ลดหวาน มัน เค็ม"

  • เลี่ยงเกลือ ซอส และเครื่องปรุงรสต่างๆรวมทั้งน้ำสลัด
  • เลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารกระป้อง
  • ลดซด น้ำแกง น้ำซุป
  • ลดจิ้มน้ำจิ้ม หรือคิปปิ้งต่างๆ

ข้อมูล กรมอนามัย

เคล็ดลับกินโซเดียมถูกวิธี \"ไตไม่พัง-ความดันไม่ขึ้น\" คลิกเลย