โควิด 19 ในประเทศไทยสถานการณ์เริ่มเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่จะดีขึ้นจริงหรือไม่ยังเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ
น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
มีคำถามของสังคมไทยกันค่อนข้างมากในช่วงนี้ว่า
สถานการณ์โควิดของไทยตอนนี้ เป็นอย่างไรบ้าง?
เป็นช่วงขาลงที่ชัดเจนแล้วใช่หรือไม่ สถานการณ์ดีขึ้นมากขนาดไหน?
เราคงจะมาพยายามช่วยกันตอบคำถามนี้ โดยใช้สถิติตัวเลขที่สำคัญที่มีการ
รายงานอย่างเป็นทางการ นำมาประกอบการวิเคราะห์ดังนี้
ไม่มีรายงานสถิติโรคโควิดของประเทศใดที่จะสามารถมีความแม่นยำถูกต้องสมบูรณ์ได้ 100%
"โควิด" ของไทยในปัจจุบัน ต้องถือว่าเป็นระลอกโอมิครอน ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่มกราคม 2565
สถานการณ์โควิดในระลอกนี้ ขึ้นจุดสูงสุดหรือที่เรียกว่าพีค (Peak) ประมาณเดือนเมษายน 2565
สถิติ 4 ตัว ที่จะนำมาใช้เปรียบเทียบสถานการณ์โควิดในช่วงเวลาต่างๆนั้น ประกอบด้วย
เมื่อเปรียบเทียบสถิติทั้ง 4 ตัวระหว่างช่วงพีค ในช่วงวันที่ 20-25 เมษายน 2565 กับตัวเลขสัปดาห์ล่าสุดในช่วง 5-11 กุมภาพันธ์ 2566 พบดังนี้
ผู้ติดเชื้อแบบ PCR
ผู้ป่วยหนักมีปอดอักเสบ
ผู้ป่วยหนักมากต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
ผู้เสียชีวิต
โดยที่ถ้าได้ปรับเกณฑ์การวินิจฉัยผู้เสียชีวิต คัดมาเฉพาะผู้เสียชีวิตจาก "โควิด" โดยตรง ก็ยังลดลงมากถึง 97.63% คือลดลงจาก 508 รายในช่วง 1-7 พฤษภาคม 2565 เหลือ 12 ราย
จึงสามารถสรุปได้ว่า สถานการณ์โควิดของไทยในขณะนี้ อยู่ในช่วงขาลงชัดเจน จากสถิติดังกล่าวข้างต้น
มีการเพิ่มขึ้นของการฉีดวัคซีนที่ไม่มากนัก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับสองช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น
วัคซีนรวม
เข็มที่หนึ่ง
เข็มที่สอง
เข็มที่สามจาก 25 ล้านโดส
จึงคาดได้ว่า สถานการณ์ที่ดีขึ้นของไทยซึ่งเป็นไปทำนองเดียวกับทั่วโลก น่าจะเกิดจากเหตุปัจจัยคือ
จึงสามารถสรุปโดยรวมว่า
"โควิด-19" ของไทย ดีขึ้นในระดับ 92 -99% เป็นช่วงขาลงต่อเนื่องกันมาตั้งแต่หลังเดือนเมษายน 2565
แม้จะมีการเปิดประเทศในช่วง 1 ตุลาคม 2565 และเปิดรับนักท่องเที่ยว รวมทั้งนักท่องเที่ยวจากจีนตั้งแต่มกราคม 2566 เป็นต้นมา สถานการณ์ก็ยังค่อนข้างดี
โควิดมีโอกาสจะกลายเป็นโรคประจำฤดูกาล ที่ยังไม่สามารถจะยุติได้ตามธรรมชาติของไวรัส อาจจะต้องมีการฉีดวัคซีนกระตุ้น อีกปีละหนึ่งครั้ง ในทำนองเดียวกับไข้หวัดใหญ่ต่อไป
แต่เราน่าจะสามารถใช้ชีวิต ทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การท่องเที่ยว การสาธารณสุข ได้ใกล้เคียงกับปกติมากยิ่งขึ้น
โดยที่มีปัจจัยเสี่ยง แม้โอกาสที่จะเกิดขึ้นมีไม่ค่อยมากนักคือ การกลายพันธุ์ของไวรัส ที่อาจทำให้สถานการณ์ของโควิดเปลี่ยนแปลงไปได้