ค่าฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพเช้านี้พุ่ง เริ่มกระทบต่อสุขภาพ 36 พื้นที่

31 ม.ค. 2566 | 09:56 น.
อัปเดตล่าสุด :31 ม.ค. 2566 | 10:05 น.

ค่าฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพ เช้านี้ 31 ม.ค.66 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตรวจวัดได้ 40-69 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 36 พื้นที่ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

ค่าฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพ เช้านี้ 31 ม.ค.66 ตรวจวัดได้ 40-69 มคก./ลบ.ม. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 36 พื้นที่

ค่าฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพเช้านี้พุ่ง เริ่มกระทบต่อสุขภาพ 36 พื้นที่

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 31 มกราคม 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด)

  • ตรวจวัดได้ 37-69 มคก./ลบ.ม. 
  • ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 49.7 มคก./ลบ.ม.

ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและมีค่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 36 พื้นที่

ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 40-69 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 36 พื้นที่ คือ 

1.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 69 มคก./ลบ.ม.

2.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.

3.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.

4.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.

5.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.

6.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.

7.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.

8.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.

9.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.

10.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
 

11.เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

12.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

13.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

14.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

15.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

16.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

17.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

18.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.

19.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.

20.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.

21.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.

22.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.

23.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.

24.เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

25.เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

26.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

27.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค เขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

28.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

29.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

30.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

31.เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

32.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

33.เขตบางบอน ใกล้ตลาดสุขสวัสดี : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

34.สวนหนองจอก เขตหนองจอก เขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

35.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

36.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา) คาดว่าอัตราการระบายอากาศในช่วงวันที่ 30 ม.ค.-1 ก.พ. 66 จะไม่ดี เนื่องจากเพดานอากาศต่ำ เกิดสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับช่วงวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นช่วงที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มค่อนข้างลดลงถึงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยสลับกันในช่วงนี้

อีกทั้งความกดอากาศสูงจากจีนจะออกมานอกชายฝั่งทำให้ทิศของลมหนาวนั้นเปลี่ยนจากตะวันออกเฉียงเหนือมาเป็นตะวันออก  ส่งผลให้จะมีการเริ่มพัดพาฝุ่นควันจากกัมพูชาเข้าสู่ประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ปกติของการเปลี่ยนผ่านไปยังฤดูร้อน ลมใต้จะทวีกำลังมากขึ้นเรื่อยๆ และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า

ช่วงวันที่ 1 - 4 ก.พ. 2566 พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลควรเฝ้าระวังการสะสมของฝุ่นละออง เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่ง และปิด  โดยพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพกลาง กรุงธนเหนือ และกรุงธนใต้ (พื้นที่ท้ายลม) ** ‼️‼️

 จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร

สามารถรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง

  • แอปพลิเคชัน AirBKK
  • www.airbkk.com
  • www.pr-bangkok.com
  • FB: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
  • FB: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม
  • FB: กรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ กรณีประชาชนพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแส ผ่านทาง Traffy Fondue

ที่มา : กรุงเทพมหานคร