เกาะติดสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ล่าสุดวันนี้ 4 กุมภาพันธ์ 2568 อัพเดตโดยศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครได้รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 เมื่อเวลาประมาณ 07.00 น.
ตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 พบทั้ง 50 เขตอยู่ในระดับ "สีส้ม" เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ตรวจพบ 3 เขตที่มีค่าฝุ่นละอองเกิน 60 มคก./ลบ.ม. คือ เขตบึงกุ่ม สูงสุดอยู่ที่ 62 มคก./ลบ.ม. ตามด้วย เขตลาดกระบัง 61.7 มคก./ลบ.ม. และเขตหนองจอก 61 มคก./ลบ.ม. ตามลำดับ ขณะที่ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร อยู่ที่ 44.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)
1. เขตบึงกุ่ม 62 มคก./ลบ.ม.
2. เขตลาดกระบัง 61.7 มคก./ลบ.ม.
3. เขตหนองจอก 61 มคก./ลบ.ม.
4. สวนหนองจอก เขตหนองจอก 57.5 มคก./ลบ.ม.
5. เขตมีนบุรี 55.9 มคก./ลบ.ม.
6. เขตคลองสามวา 55.4 มคก./ลบ.ม.
7. เขตบางเขน 55.1 มคก./ลบ.ม.
8. เขตวังทองหลาง 53.8 มคก./ลบ.ม.
9. เขตคันนายาว 53.3 มคก./ลบ.ม.
10. เขตจตุจักร 52.2 มคก./ลบ.ม.
11. เขตสายไหม 51.8 มคก./ลบ.ม.
12. สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม 50.7 มคก./ลบ.ม.
กรุงเทพเหนือ
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพตะวันออก
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพกลาง
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพใต้
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงธนเหนือ
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงธนใต้
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลง
ภาพรวม : คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ข้อแนะนำสุขภาพ:
คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนทั่วไป :
1. ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
2. จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
3. ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง :
1. ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
2. เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขชวนคนไทยดูแลสุขภาพตัวเองในช่วงสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ด้วยสมุนไพรไทย โดยระบุว่า มีงานวิจัยระบุว่า มีสมุนไพรที่มีสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยลดการอักเสบในระบบทางเดินหายใจซึ่งสามารถนำมาดูแลสุขภาพในช่วงสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ได้ คือ
ขมิ้นชัน : สามารถรับประทานได้ทั้งแบบสดหรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ในขนาดที่แพทย์/เภสัชกรแนะนำ แต่ต้องระมัดระวังในหญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร และเด็ก และห้ามใช้ในผู้ป่วยท่อน้ำดีอุดตัน, นิ่วในถุงน้ำดี
รางจืด: ช่วยปกป้องตับและไตจากแคดเมียมที่พบใน PM 2.5 ได้ โดยใช้เป็นชาชงครั้งละ 1 ซอง วันละ 3 ครั้ง ซึ่งผู้มีโรคประจำตัวที่ต้องใช้ยาประจำ ต้องปรึกษาแพทย์/เภสัชกรก่อนใช้
ส่วนผู้ป่วยโรคตับ ไต เบาหวาน หญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร เด็กเล็ก ต้องใช้อย่างระมัดระวังและไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก
หญ้าดอกขาว: ช่วยลดการอักเสบของเซลล์ในระบบทางเดินหายใจ ใช้เป็นชาชง ครั้งละ 1 ซอง วันละ 3-4 ครั้ง ต้องระมัดระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไต เนื่องจากมีโพแทสเซียมสูง
ยาสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการระบบทางเดินหายใจจาก PM 2.5
ทั้งยังสามารถรับประทานพืชผักสมุนไพรที่มีวิตามินซีสูงช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น ดอกขี้เหล็ก ใบเหลียง คะน้า ผักหวาน
ผลไม้วิตามินซีสูง เช่น มะขามป้อม หรือผลไม้สีเหลือง ส้ม แดง ม่วง เช่น กล้วย ส้ม มะละกอ สับปะรด เป็นต้น รวมถึงพืชผักสมุนไพรในครัวซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เช่น ขิง ข่า กระเทียม เห็ดต่าง ๆ ตรีผลา และพลูคาว
เมนูอาหารช่วยบรรเทาอาการทางเดินหายใจ
ต้มยำ และ ต้มโคล้ง ที่มีสมุนไพรหลากชนิด รสเปรี้ยว เผ็ดร้อน ช่วยให้หายใจโล่งและขับเหงื่อดี ส่วน แกงเหลือง มีขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบหลัก ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย อีกทั้งรสเปรี้ยวเผ็ดร้อนช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
นอกจากนี้ ตะไคร้ หอมแดง ขิง ข่า ใบมะกรูด ผิวมะกรูด สามารถนำมาใช้ในการสุมยาซึ่งเป็นการใช้ความร้อนชื้นจากไอน้ำ นำพาน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรมาช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง จึงบรรเทาอาการคัดจมูกได้ด้วย