หลังเกิดแผ่นดินไหวเมื่อเวลา 13.20 น. วันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร แรงสะเทือนถึงประเทศไทยหลายพื้นที่ รวมถึงกรุงเทพมหานคร ได้สร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาคารบ้านเรือน
ท่ามกลางความกังวลดังกล่าว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยแพร่คู่มือการตรวจสอบอาคารเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนสามารถประเมินความเสียหายและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง
คู่มือการตรวจสอบอาคารเบื้องต้นฉบับนี้ ครอบคลุมทั้งการตรวจสอบอันตรายเร่งด่วน การประเมินสภาพภายนอกอาคาร และการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ประชาชนควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษเพื่อความปลอดภัยสูงสุดหลังเกิดแผ่นดินไหว ดังนี้:
เช็คลิสต์ตรวจสอบอาคารเบื้องต้นหลังเกิดแผ่นดินไหว
1. ตรวจสอบอันตรายเร่งด่วน (Immediate Danger)
- มีกลิ่นแก๊สหรือเสียงรั่ว (เช่น เสียงฟู่) หรือไม่
- มีไฟฟ้ารั่ว,ประกายไฟ, กลิ่นไหม้, หรือสายไฟห้อย/ขาดหรือไม่
- ตัวอาคารเอียง, ทรุด, หรือมีรอยร้าวใหญ่ในเสา/ผนังหลักหรือไม่
- หลังคาหรือชิ้นส่วนโครงสร้างใด ๆ ดูเหมือนจะพังลงมาหรือไม่
- มีเศษวัสดุตกลงมาบพื้นทางเดิน หรือบล็อกทางเข้า-ออกหรือไม่
2. ตรวจสอบภายนอกอาคาร (Preliminary Exterior Check)
- ผนังภายนอกและฐานรากมีรอยร้าวเฉียง ร้าวลึก หรือแตกกระจายหรือไม่
- ปล่องไฟ กำแพง หรือกันสาดพัง หรือหลุดออกจากที่เดิมหรือไม่
- กระจกแตก หน้าต่างหลุด หรือประตูบิดเบี้ยวหรือไม่
- อาคารดูเอียง หรือมีโครงสร้างเคลื่อนจากฐานหรือไม่
- พื้นดินรอบอาคารแยกตัว ทรุด หรือยุบตัวหรือไม่
- สายไฟหรือเสาไฟใกล้อาคารล้ม หรือดูไม่มั่นคงหรือไม่
3. ตรวจสอบภายนอกอาคาร (Preliminary Exterior Check)
- ผนังภายนอกและฐานรากมีรอยร้าวเฉียง ร้าวลึก หรือแตกกระจายหรือไม่
- ปล่องไฟ กำแพง หรือกันสาดพัง หรือหลุดอออกจากที่เดิมหรือไม่
- กระจกแตก หน้าต่างหลุด หรือประตูบิดเบี้ยวหรือไม่
- อาคารดูเอียง หรือมีโครงสร้างเคลื่อนจากฐานหรือไม่
- พื้นดินรอบอาคารแยกตัว ทรุด หรือยุบตัวหรือไม่
- สายไฟหรือเสาไฟใกล้อาคารล้ม หรือดูไม่มั่นคงหรือไม่
4. ระบบไฟฟ้า (Electrical System)
- ตรวจสอบเบรกเกอร์หลักว่ายังทำงานหรือหลุดลงเองหรือไม่
- มีสายไฟขาด ลุกไหม้ หรือเสียบผิดตำแหน่งหรือไม่
- ปิดเบรกเกอร์หลักหากมีข้อสงสัย และให้ช่างไฟฟ้าตรวจสอบก่อนเปิดใช้
ที่มา: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย