'ลืมเด็กในรถ' หมอเดว จี้อัดยาแรง ลดอุบัติการณ์

01 ก.ย. 2565 | 08:06 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ก.ย. 2565 | 15:26 น.
635

เหตุสลด 'ลืมเด็กในรถ' น้องจีฮุน โรงเรียนดังชลบุรี สังเวยชีวิตรายล่าสุด อะไร คือ ยาแรงในการแก้ปัญหา หมอเดว ยก อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ทุกคนต้องปลอดภัย จี้ผู้บริหารทุกระดับ ทบทวนระบบป้องกัน เพิ่มเนื้อหาการเอาตัวรอด ในบทเรียน เช่น จมน้ำ ,ถูกขังในรถ เป็นต้น

1 ก.ย.2565 - น้องจีฮุน เด็ก ป.2 โรงเรียนดังแห่งหนึ่งในจังหวัด ชลบุรี กลายเป็นเหยื่อรายล่าสุด กับความประเมินเล่อเลอของบุคลากรสถานศึกษา หลัง 'ลืมเด็กไว้ในรถโรงเรียน' จนระบบร่างกายล้มเหลว เสียชีวิต กลายเป็นกระแสสังคม ที่เรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องร่วมแก้ปัญหา ป้องกันเหตุในอนาคต เพราะนี่ไม่ใช่เหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย แต่พบภายใน 7 ปี เกิดเหตุแล้ว 129 ครั้ง

 

ล่าสุด รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผอ.ศูนย์คุณธรรม เปิดเผยผ่านเพจเฟซบุ๊ก บันทึกหมอเดว ระบุ ถึงแนวทางป้องกันและแก้ปัญหา 'ลืมเด็กในรถ' ว่า ......

 

กรณีลืมเด็กเล็กในรถ จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต
ยาแรงคืออะไร ในการลดอุบัติการณ์ 

 

เด็กต้องได้รับคุ้มครองความปลอดภัยตามกฎหมาย

ก่อนที่จะไปที่ยาแรง นั้น  หมอขอทำความเข้าใจกันก่อนว่า เด็กเล็ก หรือ ความหมายง่ายๆ คือปฐมวัย (Early Childhood)ตามนิยาม UNESCO (ไม่ใช่ของไทยที่นับถึง6ปี)สากล ให้นิยามไว้ถึง 8 ปี
 

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ตามที่ประเทศไทยลงนามสัตยาบันแห่งรัฐไว้นั้น เป็นหน้าที่หลักของผู้ใหญ่ ที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้เด็กทุกคนอยู่รอดปลอดภัย เด็กทุกคนได้รับการปกป้องคุ้มครอง เด็กทุกคนได้รับการพัฒนา และ เด็กทุกคนมีส่วนร่วม ศักดิ์และสิทธิ์ของอนุสัญญานี้เทียบเท่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร  กฎหมายใดๆ ที่ต่ำศักดิ์กว่า ให้ยึดอนุสัญญาเป็นตัวตั้ง

 

ฉะนั้น ระบบการศึกษาโดยผู้บริหารทุกระดับต้องตระหนักข้อนี้เป็นสำคัญRed Signal (ที่ต้องเป็นปฏิบัติการณ์ที่ทุกแห่งทุกที่ ต้องสอบผ่านเท่านั้น)

หากพื้นที่ของสถานศึกษาไม่มีความปลอดภัย ขาดการเฝ้าระวัง หรือแม้หย่อนยาน ปล่อยให้เกิดอุบัติเหตุ ที่สะท้อนความประมาทของระบบ ต้องได้รับการทบทวน กิจการของสถานศึกษานั้นๆ 

 

ระบบประกันคุณภาพภายนอก ต้องออกมา

 รศ.นพ.สุริยเดว  ยังเสนอว่า กรณีนี้ ผู้เกี่ยวข้องต้องทบทวนทั้งการรับประกันคุณภาพภายนอก การรับรองวิทยะฐานะ ต้องได้รับการทบทวน หากภายใน 3-6 เดือน ไม่สามารถ declare ระบบและทานซ้ำระบบที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะ ประเด็น อยู่รอดปลอดภัยได้ จำเป็นต้องปิดกิจการเพื่อปรับปรุง และเป็นภาระของต้นสังกัดที่ต้อง ลงไปเยียวยาทุกฝ่าย ให้ทั้งครูมีงานทำ เด็กมีที่เรียน และ ฟื้นฟูกิจการนั้นๆ โดยมีพี่เลี้ยงใกล้ชิด  ที่

 

 " ผู้บริหารที่ต้องไม่นั่งสั่งการอย่างเดียวแต่ลงซักซ้อม เพื่อให้ฟื้นระบบของสถานศึกษาโดยเร็วที่สุด และมีคุณภาพ ในที่นี้ไม่ใช่แค่เรื่องเรียนแต่หมายถึงระบบในการเป็น โรงเรียนชุมชน ที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและปลอดภัย"

วิธีการเอาตัวรอด สาระสำคัญที่ต้องมีในบทเรียน 

สำหรับเนื้อหาการศึกษา ควรพัฒนาเป็น  competency basedหนึ่งในสมรรถนะของเด็กที่ต้องได้รับการฝึกฝน คือ  สมรรถนะในการเอาตัวรอดจากวิกฤติให้สอดรับกับจิตวิทยาพัฒนาการ เช่น กรณีถูกละเลยทอดทิ้ง กรณีจมน้ำ กรณีไฟไหม้ กับการอพยพ แผ่นดินไหว เป็นต้น กรุณาฝึกในภาคปฏิบัติ ทานซ้ำ จนแน่ใจว่าเด็กมีสมรรถนะ แล้ว

 

นอกจากนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องซ้อมเหตุบ่อยๆ จนทำให้ครูผู้ปกครองเด็กๆสามารถเข้าใจร่วม เป็นหูเป็นตา ร่วมกันเฝ้าระวัง เกิดอาสาสมัครตรวจตรา ทั้งเชื่อมโยงกับชุมชน เพื่อป้องกันเหตุเภทภัยทุกรูปแบบเสมอๆ