รวมวิธีอพยพจาก 'อาคารเพลิงไหม้' บทเรียน ไฟไหม้ผับชลบุรี 'เมาท์เทน บี'

05 ส.ค. 2565 | 09:31 น.
อัปเดตล่าสุด :05 ส.ค. 2565 | 16:43 น.
519

ปภ.แนะ วิธีเอาตัวรอด หรือ อพยพ เมื่อตกอยู่ในอาคารเพลิงไหม้ บทเรียนไฟไหม้ผับชลบุรี 'เมาท์เทน บี' นักท่องราตรี สังเวยชีวิต13 ราย และ บาดเจ็บอีกจำนวนมาก

5 สิงหาคม 2565 - ข่าวร้อนกลางดึก เหตุการณ์ 'ไฟไหม้ผับชลบุรี' ชื่อร้าน  'เมาท์เทน บี' (MountainB)  บริเวณปากซอยเขาหมอน ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยมีรายงาน ผู้เสียชีวิตเบื้องต้น 11 ราย รวมถึง นักร้องดังประจำผับ อิ่ม หรือ ฉัตรชัย ชื่นค้า เสียชีวิตด้วย และมีนักท่องเที่ยวบาดเจ็บอีกจำนวนมากนั้น 

รวมวิธีอพยพจาก \'อาคารเพลิงไหม้\' บทเรียน ไฟไหม้ผับชลบุรี \'เมาท์เทน บี\'

กำลังกลายอีกหนึ่งบทเรียนที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการ และ นักท่องเที่ยวท่องราตรี เพราะนี่ไม่ใช่ เหตุการณ์ไฟไหม้ผับ ที่นำไปสู่การสูญเสียอย่างน่าสลดหดหู่ครั้งแรกในเมืองไทย ย้อนไปเหตุการณ์ลักษณะนี้ เคยเกิดขึ้นกับผับดังอย่าง "ซานติก้าผับ" ย่านเอกมัย เมื่อปี 2547 ซึ่งขณะนี้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 67 ราย อีกด้วย 

รวมวิธีอพยพจาก \'อาคารเพลิงไหม้\' บทเรียน ไฟไหม้ผับชลบุรี \'เมาท์เทน บี\'

อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้ เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุของการเกิดเหตุเพลิงไหม้ในผับดังชลบุรีได้ แต่สิ่งที่ควรจะหันกลับมาให้ความสำคัญ คือ การเรียนรู้วิธีเอาตัวรอด เมื่อเรากลายเป็นหนึ่งในผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้ 

 

เรียนรู้วิธีเอาตัวรอด อพยพ ออกจากเหตุเพลิงไหม้ในอาคาร

"ฐานเศรษฐกิจ" รวบรวมวิธีการที่สำคัญ เพื่อประโยชน์ในภายหน้า เพราะผู้เสียชีวิตจากเพลิงไหม้ ส่วนใหญ่เกิดจากการสำลักควัน เนื่องจากไม่มีความรู้ในการอพยพไฟอย่างถูกวิธี หากเรียนรู้วิธีอพยพหนีไฟอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยให้สามารถเอาตัวรอดจากเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างปลอดภัย 

ทั้งนี้ จากข้อมูลของเว็บไซต์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้แนะนำวิธีการเอาตัวรอดจากไฟไหม้ ดังนี้ 

รวมวิธีอพยพจาก \'อาคารเพลิงไหม้\' บทเรียน ไฟไหม้ผับชลบุรี \'เมาท์เทน บี\'

  • ก่อนออกจากห้องให้ใช้มือสัมผัสผนังหรือลูกบิดประตูเสียก่อน หากมีความร้อนสูง ห้ามเปิดประตูออกไปอย่างเด็ดขาด เพราะเพลิงจะลุกลามเข้ามาในห้อง ควรปิดห้องให้สนิท แล้วใช้ผ้าหนาๆ ชุบน้ำอุดตามช่องที่ควันไฟลอยเข้ามาได้ 
  • หากไม่ร้อน ให้เปิดออกไปช้าๆ และอพยพตามเส้นทางหนีไฟ
  • ห้ามใช้ลิฟต์ ในการอพยพเด็ดขาด เพราะเมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟฟ้าจะดับ ทำให้ติดค้างภายในลิฟท์ ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้ 
  • ไม่ใช้บันไดภายในอาคารเป็นเส้นทางอพยพหนีไฟ เพราะบันไกมีลักเป็นเป็นปล่อง ทำให้ควันไฟและเปลวไฟพุ่งขึ้นมาปกคลุม เสี่ยงต่อการสำลักควันไฟและถูกไฟคลอกเสียชีวิต 
  • หมอบคลานต่ำไปตามเส้นทางที่ปลอดภัย เพราะอากาศบริสุทธิ์อยู่เหนือพื้นในระดับไม่เกิน 1 ฟุต เพื่ออพยพไปสู่ประตูทางออกฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด 
  • หลีกเลี่ยงการสูดดมควันไห โดยใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกและปาก หรือใช้ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่อัดอากาศบริสุทธิ์มาครอบที่ศรีษะ ป้องกันการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกายทำให้หมดสติและเสียชีวิต 

 

ทั้งนี้ วิธีดังกล่าว ขึ้นอยู่กับกายภาพของเหตุเพลิงไหม้ในแต่สถานการณ์ และ ลักษณะของอาคารที่เกิดเหตุต่างๆด้วย