อาการลองโควิดมีอะไรบ้าง กลุ่มไหนมีความเสี่ยงมากที่สุด อ่านเลย

25 พ.ค. 2565 | 13:58 น.
อัปเดตล่าสุด :25 พ.ค. 2565 | 20:58 น.

อาการลองโควิดมีอะไรบ้าง กลุ่มไหนมีความเสี่ยงมากที่สุด อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ หมอธีระเผยผลวิจัยจาก Bull-Otterson L และคณะจาก US CDC ล่าสุด

อาการลองโควิดมีอะไรบ้าง ส่งผลกระทบต่อร่างกายส่วนใดบ้าง เป็นคำถามที่ได้รับความสนใจอย่างมากบนโลกออนไลน์

 

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (Covid-19) ยังมีอยู่เป็นจำนวนมากโดนยเฉพาะจากสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron)

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า

 

Long COVID พบในผู้ใหญ่ที่เคยติดเชื้อ ได้มากถึง 20-25%

 

Bull-Otterson L และคณะจาก US CDC เผยแพร่ผลการศึกษาล่าสุดใน MMWR เมื่อวานนี้ 24 พฤษภาคม 2565

 

ติดตามดูผู้ที่เคยมีประวัติติดเชื้อโรคโควิด-19 ตั้งแต่มีนาคม 2563-พฤศจิกายน 2564 อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวนกว่า 350,000 คน ดูอัตราการเกิดอาการผิดปกติจำนวน 26 อาการ เปรียบเทียบกับกลุ่มประชากรที่ไม่ได้ติดเชื้อจำนวนกว่า 1,600,000 คน 
 

สาระสำคัญที่พบคือ 

 

1. คนอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่เคยติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 มาก่อน จะมีโอกาสเกิดภาวะ Long COVID ได้สูงถึง 1 ใน 5 (20%)

 

ทั้งนี้หากเป็นผู้สูงอายุ อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป โอกาสเป็น Long COVID จะสูงขึ้นอีก โดยเกิดได้ถึง 1 ใน 4 (25%)

 

2. โดยเฉลี่ยแล้ว คนที่เคยติดโควิด-19 มาก่อน จะมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หรือลิ่มเลือดอุดตันในปอด เพิ่มขึ้นราว 2 เท่า

 

คณะผู้วิจัยชี้ให้เห็นความสำคัญของการตระหนักถึงผลกระทบที่จะตามมาจากการติดเชื้อโควิด-19 และเน้นย้ำให้มีการออกนโยบายและมาตรการเพื่อป้องกันการติดเชื้อ รวมถึงการตรวจประเมินภาวะ Long COVID อย่างเป็นประจำในระบบบริการสุขภาพด้วย

 

อาการลองโควิดมีอะไรบ้าง กลุ่มไหนมีความเสี่ยงมากที่สุด

 

ความรู้ที่นำมาเล่าให้ฟังทั้งสองเรื่องในวันนี้ ต้องการสะท้อนให้เราทุกคนเห็นความสำคัญของการเอาตัวรอด ด้วยตัวของเราเอง ในยามที่สังคมไทยยังมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง ติดอันดับโลก ทั้งจำนวนติดเชื้อ และจำนวนเสียชีวิต

 

เศรษฐกิจกำลังขับเคลื่อนไปได้ มีการเปิดเสรีท่องเที่ยว ทำมาหากิน และศึกษาเล่าเรียน แต่ก็จะทำให้ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแพร่เชื้อมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และจะปะทุรุนแรงขึ้นมาได้ หากป้องกันตัวไม่ดีพอ

อย่าหลงตามคำลวง หรือกิเลส ที่จะให้ถอดหน้ากากทิ้ง ใช้ชีวิตแบบในอดีตในเร็ววัน ทั้งๆ ที่การระบาดทั่วโลกยังไม่สงบ อย่าลืมความจริงที่ว่า คนเดินทางไปมากันระหว่างพื้นที่ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แม้พื้นที่หนึ่งจะมีเคสน้อย ดูจะคุมได้

 

แต่สถานการณ์จะพลิกผันได้อย่างรวดเร็ว หากมีคนในพื้นที่ไร้เกราะป้องกันตัว 
เพราะสุดท้ายเวลาติดเชื้อ ป่วย ตาย หรือประสบปัญหาสุขภาพกายและใจระยะยาวอย่าง Long COVID ขึ้นมาแล้ว ผู้ที่ได้รับผลกระทบคือตัวท่าน ครอบครัวของท่าน และคนรักคนใกล้ชิดของท่านเอง

 

ส่วนกลุ่มที่ออกนโยบายหรือมาตรการรณรงค์ให้ลดการ์ดลง ย่อมไม่ได้มารับผิดชอบผลกระทบที่เกิดขึ้นระดับบุคคลหรือครอบครัว

 

ใช้ชีวิต ทำมาค้าขาย ศึกษาเล่าเรียน อย่างปลอดภัย ด้วยการมีสติ ใช้ปัญญา และหมั่นป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ  แล้วจะสามารถลดความเสี่ยง ประคับประคองกันไปได้อย่างปลอดภัย

 

ใส่หน้ากากสำคัญมาก

 

อย่างไรก็ดี จากการสืบค้นข้อมูลของ "ฐานเศรษฐกิจ" พบว่า อาการลองโคสิดที่พบบ่อยหลังการติดเชื้อโควิด-19 ประกอบด้วย

 

  • เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม 
  • อ่อนเพลีย 
  • ปวดเมื่อยตามตัว ปวดตามข้อ 
  • กล้ามเนื้อไม่มีแรง 
  • ไอเรื้อรัง 
  • การรับรสและได้กลิ่นผิดปกติ 
  • รู้สึกเหมือนมีไข้ 
  • ปวดศีรษะ มึนศีรษะ 
  • นอนไม่หลับ 
  • ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิ 
  • มีภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า เครียด
  • ใจสั่น แน่นหน้าอก 
  • ท้องเสีย ท้องอืด