โรคฝีดาษลิงติดต่อทางไหน แพร่เชื้อไวไหม อะไรคือข้อดี อ่านเลย

24 พ.ค. 2565 | 10:46 น.
อัปเดตล่าสุด :24 พ.ค. 2565 | 17:46 น.

โรคฝีดาษลิงติดต่อทางไหน แพร่เชื้อไวไหม อะไรคือข้อดี อ่านเลยที่นี่ หมอธีระวัฒน์ชี้คลุกคลีสัมผัสคนอื่นมากเท่าใดมีโอกาสแพร่เชื้อได้มากเท่านั้น 

โรคฝีดาษลิงติดต่อทางไหน เกิดจากสาเหตุใด อาการเป็นอย่างไร เป็นหลากหลายคำถามที่กำลังได้รับความสนใจบนโลกออนไลน์ หลังจากที่หลายประเทศเริ่มมีผู้ป่วยเกิดขึ้น

 

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า

 

หมอดื้อ

 

ฝีดาษลิง (วานร) ไวรัสแพร่ออก เมื่อเริ่มมีอาการ ไม่สบายแล้ว

 

ดังนั้น ถ้าคนไม่สบายแล้ว 

 

และยังคลุกคลีสัมผัส กับคนอื่นมากเท่าใด 

 

ก็มีโอกาสแพร่เชื้อได้มากเท่านั้น 

 

และคนที่ติดเชื้อละลอกสองจะปรากฏอาการภายในหนึ่งถึงสองสัปดาห์แต่อาจนานได้ถึงสามสัปดาห์ ทำให้โรคแพร่กระจายออกไปได้กว้างยิ่งขี้น

 

การติดเชื้อในประเทศอังกฤษคล้ายเป็นการแพร่ในชุมชน โดยที่รายต่อมาไม่ได้สัมผัสกับรายแรกและไม่ได้กลับจากพื้นที่ต้นตอ

แต่ข้อดีของไวรัสตัวนี้ก็คือ ความสามารถในการแพร่ติดต่อ ยังอยู่ในระดับต่ำมาก 
ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่คลุกคลี จะติดทุกคน แต่ต้องกักตัว 21 วัน เมื่อทราบว่าได้สัมผัส

 

ในปี 2020 องค์การอนามัยโลกได้รายงานว่ามีผู้ที่น่าจะติดเชื้อฝีดาษลิง 4594 ราย
และเสียชีวิต 171 ราย (case fatality ratio 3.7%) แต่ทั้งนี้ไม่ได้รับการยืนยันด้วยการตรวจพีซีอาร์

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า

 

อัพเดตฝีดาษลิง (Monkeypox)

 

รายงานว่าตั้งแต่ 13 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นมา มีรายงานพบเคสผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงเพิ่มขึ้น และกระจายไปแล้ว 12 ประเทศภาคีสมาชิกขององค์การอนามัยโลกที่ไม่ได้เป็นประเทศที่เป็นดินแดนที่มีโรคชุกชุม (non-endemic areas)

 

 

จนถึงวันที่ 21 พฤษภาคม มีเคสที่ตรวจยืนยันแล้ว 92 ราย และอยู่ในข่ายสงสัยรอการยืนยันอีก 28 ราย

จากการสอบสวนโรคพบว่ามีเคสจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้มีประวัติเดินทางไปในดินแดนที่โรคชุกชุม แต่มีประวัติการมีสัมผัสทางกาย (physical contact) กับผู้ป่วยโรค

 

ฝีดาษลิง โดยพบในกลุ่มที่เป็นชายรักชาย (Men who have sex with men: MSM)

 

จึงขอให้มีการเฝ้าระวังโรค เพราะคาดว่าจะมีรายงานเคสมากขึ้นในประเทศที่เป็น non-endemic areas

 

และควรมีการให้ความรู้แก่ประชาชนให้คอยสังเกตอาการเจ็บป่วย และพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่อาจทำให้ติดเชื้อแพร่เชื้อได้

 

ภาพจาก UK HSA แสดงให้เห็นตุ่มระยะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง เพื่อเป็นความรู้