เบื้องหลังชัยชนะ 'ชัชชาติ' รู้จัก 'ดร.ยุ้ย' มือขวาทีมนโยบาย

22 พ.ค. 2565 | 20:30 น.
อัปเดตล่าสุด :23 พ.ค. 2565 | 03:40 น.
4.8 k

รู้จัก 'ดร.ยุ้ย-เกษรา' จากหญิงแกร่งอสังหาฯไทย สู่ มือขวา หัวหน้าทีมนโยบาย 'ชัชชาติ สิทธิพันธุ์' ผู้ว่ากทม.คนใหม่ จุดประกายความหวัง กทม. หลังจากนี้ต้องปลอดภัย

22 พ.ค.2565 - เป็นอีกวันประวัติศาสตร์ของ กทม.หลังจากเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า 'นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์' จะคว้าชัย นั่งเก้าอี้ 'ผู้ว่า กทม.คนใหม่' ปลดล็อกระบอบประชาธิปไตย ผู้ว่าฯกทม.ที่มาจากการเลือกตั้งในรอบ 9 ปี ในนามสายกลาง ไม่สังกัดพรรคการเมือง 


เบื้องหลังชัยชนะ \'ชัชชาติ\' รู้จัก \'ดร.ยุ้ย\' มือขวาทีมนโยบาย

ทั้งนี้ ชัยชนะของนายชัชชาติ นอกจาก ส่วนหนึ่งมาจากกระแสสความนิยมดั้งเดิมที่ติดตัวมา ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สมัยรัฐบาล นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฉายา 'รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี' จากบุคลิกท่าทาง ภาพจำ  Meme ขณะไปร่วมประชุม ครม.ที่จังหวัดสุรินทร์ และถือถุงแกง เดินเท้าเปล่า แวะเข้าไปทำบุญที่วัดบูรพาราม บวกกับมีผลงานประจักษ์ และสร้างสีสันที่แปลกใหม่ ถูกใจวัยรุ่นในการหาเสียง 
ในแง่ของนโยบายหลักนั้น กว่า 200 ข้อ ก็ถึงลูกถึงคน จุดความหวังแห่งการเปลี่ยนแปลงใหม่ ให้กับคนกรุงเทพอีกครั้งด้วย

เบื้องหลังชัยชนะ \'ชัชชาติ\' รู้จัก \'ดร.ยุ้ย\' มือขวาทีมนโยบาย คคะแนนเสียง (อย่างไม่เป็นทางการ) ของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ณ 20.35 น.

 

อย่างไรก็ตาม 1ในบุคคลที่อยู่เบื้องหลังของนโยบายต่างๆ  และมีภาพปรากฎข้างคู่ ตลอดการหาเสียงนายชัชชาติในช่วงที่ผ่านมา คือ 'ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์' หรือ ดร.ยุ้ย ซึ่งเดิมถูกขนามนาม เป็นหญิงแกร่งของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัท เสนา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ก่อนผันตัวมาปฎิบัติหน้าที่เป็น 'หัวหน้าทีมนโยบายชัชชาติ'  เบื้องหลังชัยชนะ \'ชัชชาติ\' รู้จัก \'ดร.ยุ้ย\' มือขวาทีมนโยบาย


รู้จัก ดร.ยุ้ย หัวหน้าทีมนโยบายชัชชาติ

สำหรับ ผศ.ดร. เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ หรือ ดร.ยุ้ย เป็นชาวกรุงเทพมหานครโดยกำเนิด จบการศึกษาจากโรงเรียนมาแตร์เดอี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะไปศึกษาต่อชั้นปริญญาโทด้านการเงินที่ University of California at Riverside  และปริญญาโทและเอกด้านเศรษฐศาสตร์ โดยทุนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ Claremont Graduate University 

 

เมื่อสำเร็จปริญญาเอก ได้เข้ามาเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะร่วมช่วยงานของครอบครัวด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และก้าวขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท เสนา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)  มีผลงานโดดเด่น ในแง่ผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ประเภทคอนโดมิเนียม ราคาถูกต่ำ 1 ล้านบาท (เสนาคิทท์) ช่วยผู้มีรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง, โครงการบ้านร่วมทางฝัน ซึ่งเป็นการขายที่อยู่อาศัย เพื่อนำกำไรไปบริจาคให้กลุ่มโรงพยาบาล และผู้บุกเบิก โครงการบ้านติดแผงโซลาร์เซลล์ เป็นต้น  

เบื้องหลังชัยชนะ \'ชัชชาติ\' รู้จัก \'ดร.ยุ้ย\' มือขวาทีมนโยบาย


ชู นโยบายคนเมือง คุณภาพชีวิตที่ต้องดีกว่า 

โดยที่ผ่านมา ดร.ยุ้ย ระบุว่า กทม. มีปัญหาสะสมมากมาย 1 ในเรื่องใหญ่ที่อยากเร่งแก้ไข คือ ปัญหาด้านคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ทั้งเด็ก ผู้หญิง และคนแก่ พบหลังจากลงพื้นที่ แต่ละชุมชน และแต่ละคนมีปัญหาที่แตกต่างกัน  

 

ครั้งหนึ่งเคยระบุว่า ...จริงๆแล้ว "ผู้หญิง" ถือเป็นพลังสำคัญหนึ่งในการขับเคลื่อนครอบครัว และอีกมิติหนึ่งก็เป็นพลังที่ช่วยสร้างเมืองให้น่าอยู่ สำหรับทุกคนได้เหมือนกัน 

 

ซึ่งในรายละเอียด นโยบาย "กรุงเทพฯ 9 ดี" ดร.ยุ้ย กล่าวว่า หลักๆจะพูดกันถึงเมืองน่าอยู่เพื่อผู้หญิง โดยเฉพาะเรื่อง "ความปลอดภัย"

เบื้องหลังชัยชนะ \'ชัชชาติ\' รู้จัก \'ดร.ยุ้ย\' มือขวาทีมนโยบาย
ปลอดภัยในเรื่องอะไรบ้าง? 

  1. เพิ่มความปลอดภัยในที่สาธารณะ เช่น ทางเท้าปลอดภัย-ใช้งานได้ทุกกลุ่ม ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง กล้องวรจรปิด ป้ายรถเมล์-รถส่งสาธารณะที่มีคุณภาพ 
  2. พัฒนาแผนที่แสดงจุดเสี่ยงอาชญากรรมทั่วเมืองแบบเรียลไทม์ 
  3.  ตั้งกลุ่มอาสาชุมชนเป็นสายตาเฝ้าระวัง ดูแลและป้องกันเหตุความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน ครอบคลุมปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ การทำร้ายร่างกาย และยาเสพติด

 

" อย่างที่บอกว่าทุกที่ ทุกชุมชน หรือ ทุกครอบครัว ล้วนมีปัญหา แต่ปัญหาของแต่ละคนต่างกัน ต้องมองปัญหาให้ออก ถึงแก้ไขได้ตรงจุดที่เกิดเหตุ " 

เบื้องหลังชัยชนะ \'ชัชชาติ\' รู้จัก \'ดร.ยุ้ย\' มือขวาทีมนโยบาย

เปิดนโยบายชัชชาติ จะทำอย่างไร?ให้กรุงเทพปลอดภัยขึ้น 

ดร.ยังระบุลงลึกในนโยบายสำคัญ ว่า กรุงเทพฯ ที่ปลอดภัย จะทำให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิต โดยไม่ต้องกังวลต่อเหตุไม่คาดคิด ที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองและคนรอบข้าง ความปลอดภัยยังส่งผลต่ออนาคตในหน้าที่การงาน ผู้หญิงที่ต้องรีบกลับบ้าน เพราะซอยที่บ้านมืดและเปลี่ยว อาจเสียโอกาสในการเติบโต เพียงเพราะต้นทุนด้านความปลอดภัยที่ไม่เท่ากันของคนกรุงเทพฯ

 

แล้วเราจะทำให้กรุงเทพฯ ปลอดภัยขึ้นได้อย่างไร?
[ เดินทางปลอดภัย ]

  • เพิ่มรถเมล์สายหลักและรอง ให้ครอบคลุมในเวลาที่เหมาะสม เป็นตัวเลือกการเดินทางทีปลอดภัยสำหรับผู้หญิง
  • ร่วมกันดูแลไฟแสงสว่างของทางเดินในชุมชน ทั้งโดยเจ้าหน้าที่ กทม. และการรายงานจากภาคประชาชนผ่านแอพพลิเคชั่น ให้มีไฟแสงสว่างเพียงพอ ปลอดภัย 

 

[ แผนที่จุดเสียง (BKK Risk Map) ] 

  • รวบรวมฐานข้อมูล เช่น ข้อมูลจุดมืด ข้อมูลสถิติอาชญากรรม ข้อมูลอุบัติเหตุ ข้อมูลน้ำท่วม ข้อมูลพื้นที่ต่ำ ข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อจัดทำเป็นแผนที่ความเสี่ยงกรุงเทพฯ (BKK Risk Map)  
  • เปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงล่าสุด เพื่อให้ประชาชนใช้วางแผนการเดินทาง การเลือกที่อยู่อาศัย หรือการอพยพเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • พัฒนาพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เช่น การปรับปรุงและเพิ่มแสงสว่าง กล้องวงจรปิด การจัดจุดตรวจเวรยามเทศกิจหมุนเวียน หรือประสานงานการทำงานร่วมกับตำรวจในการยกระดับความปลอดภัย

 

[ สุขภาพปลอดภัย ] 

  • ส่งเสริมการทำงานเชิงรุกในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ยกระดับศูนย์สาธารณสุข เพิ่มหรือปรับเปลี่ยนคลินิกการให้บริการ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนเมืองและกลุ่มโรคในปัจจุบัน 

เบื้องหลังชัยชนะ \'ชัชชาติ\' รู้จัก \'ดร.ยุ้ย\' มือขวาทีมนโยบาย

แก้ความเหลื่อมล้ำ กทม. 4 มิติ 

ขณะกรุงเทพฯเป็นเมืองที่เหลื่อมล้ำด้านรายได้เป็นอันดับ 4 ของอาเซียน คนรวย 5% ถือที่ดิน 80% ใกล้ห้างหรู ใกล้คอนโดตารางเมตรละ 3 แสนบาท มีชุมชนแออัดซ่อนอยู่ ในทุกมุมเมืองของกรุงเทพฯแล้วกรุงเทพฯจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างไร?

 

ย้อนไปหัวทีมงานนโยบายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เบอร์ 8 ได้แบ่งความเหลื่อมล้ำออกเป็น 4 มิติ: การศึกษา สาธารณสุข รายได้ และความมั่งคั่ง และได้พัฒนานโยบายที่จะให้ กทม. มีบทบาทในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสมากขึ้น กทม. ไม่ได้มีหน้าที่แค่จัดการขยะ ทางเท้า หรือสวนสาธารณะ แต่คิดถึงโอกาส คิดถึงอนาคต และเศรษฐกิจของคนเมือง เพราะเมืองคือคน ถ้าคนอยู่ไม่ได้ เมืองก็อยู่ไม่ได้ 

 

[ ลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ]

  • พัฒนาศูนย์เด็กอ่อน-เด็กเล็กใกล้ชุมชนและแหล่งงาน มีบุคลากรที่พร้อมดูแลเด็กอ่อน-เด็กเล็กให้มีพัฒนาการสมวัย 
  • ให้โรงเรียนเป็นแหล่งโภชนาการที่มีคุณภาพให้กับเยาวชนทั้งมื้อเช้าและมื้อกลางวัน
  • After School Program เรียน เล่น หลังเลิกเรียน
  • ยกระดับห้องแล็บคอมพิวเตอร์ทุกโรงเรียนให้ทันสมัยและเพียงพอ
  • เพิ่มครูผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ช่วยครู สำหรับวิชาเฉพาะทาง เช่น ภาษา เทคโนโลยี

 

[ ลดความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ]

  • ขยายโครงการโรงพยาบาล 10,000 เตียง
  • หมอถึงบ้าน ผ่าน Telemedicine
  • Mobile Medical Unit รถสุขภาพเชิงรุก ตรวจถึงชุมชน
  • ยกระดับศูนย์กีฬา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย ศูนย์เยาวชนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน

 

มาจนถึงวันนี้ คงต้องเฝ้ารอ ว่าภาพสะท้อนความไม่เท่าเทียมในสังคมเมืองใหญ่อย่าง กทม. ที่ถูกเอ่ยถึงและเปรยทางออกต่างๆไว้เบื้องต้นนั้น จะเป็นจริงได้หรือไม่  ในน้ำมือของผู้ว่า กทม.คนใหม่ ' นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ' และมือขวา เพื่อนหญิงพลังหญิง อย่าง ดร.ยุ้ย ที่จุดประกายความหวังให้คน กทม.อีกครั้ง ...