เปิดไอเดีย "ดร.ยุ้ย-เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์" หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ "ชัชชาติ"

15 ก.พ. 2565 | 14:09 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ก.พ. 2565 | 21:17 น.
528

เช็คอัพ! ความพร้อม ดร.ยุ้ย เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ "ชัชชาติ" ลุยศึกเลือกตั้งผู้ว่า กทม. เสนอโมเดลมูฟออนนโยบายเจาะลึกเพื่อคนกรุงฯร่วมเป็นสมาชิกสภากาแฟ

กระแสการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ ทวีความร้อนแรงมากยิ่งขึ้น ภายหลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศไทม์ไลน์เบื้องต้น ให้มีสนามการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้ พร้อมๆไปกับสนามเมืองพัทยา ที่จะให้มีการเลือกตั้ง ผู้ว่า ด้วยเช่นกัน  บรรยากาศความคึกคัก ของเหล่าทีมผู้สมัคร ผู้ว่า โดยเฉพาะในพื้นที่เมืองกรุง ที่โหมกระแสกันมาก่อนหน้านี้ เริ่มมีแนวทางเป็นรูปเป็นร่างมากยิ่งขึ้น ทยอยประกาศซื้อใจคนกรุง เรียกคะแนนนิยมของประชาชนได้อย่างดุเดือด   

 

แต่พีคสุดในช่วงนี้ “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ประกาศผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 10” ยังคงตอกย้ำอารมณ์คนกรุง มุ่งไปที่  ชายแกร่งในปฐพี  “ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ที่ยังคงยืนหนึ่งต่อเนื่อง ด้วยความนิยมของคนกรุงที่สนับสนุนร้อยละ 37.24  และทิ้งห่างจาก ผู้สมัครอันดับ 2 และอันดับ 3  แต่ก็ต้องจับตาความเคลื่อนไหวต่อไปหลังจากนี้ว่าจะมีบิ๊กเซอร์ไพรส์ผู้ท้าชิงใหม่ๆ เข้ามาอีกหรือไม่ 

เปิดไอเดีย \"ดร.ยุ้ย-เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์\" หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ \"ชัชชาติ\"

ส่วนด้านนโยบายที่แต่ละส่วนนำมาเสนอให้คนกรุงเทพฯ เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจจรดปลายปากกาเลือกให้หรือไม่นั้น แน่นอนว่ามีความเข้มข้นไม่แพ้กัน โดยต้องไม่ใช่แค่นโยบายขายฝันเรียกคะแนนเสียงแล้วหายไป คนกทม.ย่อมรู้แก่ใจดีเพราะผ่านมาเยอะ .... และหากมองมาที่ทีมเต็งหนึ่งของ “ดร.ชัชชาติ” ที่ได้ดึงคนรุ่นใหม่อย่าง “ดร.ยุ้ย” เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ มานั่งเป็นหัวหน้าทีมนโยบายเศรษฐกิจแล้วยิ่งต้องติดตามกันใกล้ชิด

“ดร.ยุ้ย” เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์

ด้วยบุคลิกที่เป็นขาลุย ด้วยการลงพื้นที่พบปะ พี่น้องชาว กทม. ก็ทำให้รับรู้ปัญหาเยอะ แต่อย่าลืมว่ากทม. นั้นสะสมปัญหาต่างๆ ในทุกมิติไว้แบบหยั่งรากลึก นับเป็นความท้าทายไม่น้อย แต่ทีม “ชัชชาติ” ยังคงมีจุดยืนในการที่จะแก้ไขปัญหาทั้งมิติสังคม เศรษฐกิจ โดยเฉพาะปากท้องชาวบ้านผ่านการกำหนดนโยบาย18 ด้าน ให้สอดรับกับบริบทการพัฒนาพื้นที่แต่ละเขตเพราะมั่นใจจะเป็นประโยชน์ต่อคน กทม.อย่างแท้จริง
เปิดไอเดีย \"ดร.ยุ้ย-เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์\" หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ \"ชัชชาติ\"

ทั้งนี้เนื่องจากธรรมชาติ ของแต่ละพื้นที่มีวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ที่แตกต่างจึงต้องอาศัย เครือข่าย ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการสร้างเป็นสภากาแฟเพื่อนชัชชาติ นำเอาร้านกาแฟ เป็นศูนย์กลางการพบปะ แลกเปลี่ยน เปิดมุมมองใหม่ และแนวทางที่แก้ปัญหา รายเขต มีเป้าหมายขยายสภากาแฟ เพื่อนชัชชาติ 1,000 แห่งในพื้นที่ 50 เขต

 

ซึ่งล่าสุดเปิดแล้ว 100 แห่ง แบ่งเป็นร้านกาแฟ 58 แห่ง ร้านค้าชุมชน 38 แห่งและวินจักรยานยนต์รับจ้าง 4 แห่ง  

เปิดไอเดีย \"ดร.ยุ้ย-เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์\" หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ \"ชัชชาติ\"

นอกจากนี้ยังสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูลในการรับฟังเสียงประชาชนผ่านแอปพลิเคชั่นออนไลน์ “เพื่อนชัชชาติ” ควบคู่กันนี้ยังมีประชาชนรายงานปัญหาในพื้นที่ผ่านไลน์ “เพื่อนชัชชาติ”

 

ล่าสุดมีการรายงานปัญหาแล้วทั้งสิ้น 1,134 รายการ แบ่งเป็นปัญหาหลักได้แก่ น้ำท่วม 231 รายการ ปัญหาจราจร 217 รายการ และปัญหาทางเท้า 144 รายการ ปัจจุบันมีอาสาสมัครเมืองจำนวนกว่า 8,800 คน และอาสาสมัครรายเขตกว่า 2,500 คนเป็นหน่วยสนับสนุน เรียกว่าวางเครือข่ายกันเหนียวแน่น เป็นหนึ่งเดียว 

เปิดไอเดีย \"ดร.ยุ้ย-เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์\" หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ \"ชัชชาติ\"

ปัญหาใหญ่ที่สุดในขณะนี้ หนีไม่พ้น เรื่องเศรษฐกิจฝืดเคือง ดร.ยุ้ย ในฐานะหัวหน้าแกนหลัก ด้านเศรษฐกิจ สะท้อนถึงปัญหาเรื่องนี้ว่า “ประเด็นด้านเศรษฐกิจคือเรื่องเร่งด่วน ที่ผ่านมาประชาชนเจ็บช้ำจากโควิดมากว่า 2 ปี สายพานด้านการท่องเที่ยว กทม. ได้รับผลกระทบมากครอบคลุมตั้งแต่ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้าแผงลอย

 

ซึ่งก่อนนี้เห็นว่า กทม. ไม่ได้แตะประเด็นด้านเศรษฐกิจมากนัก แต่มองว่า กทม.ต้องเข้ามารับบทสำคัญในการขันน็อตช่วยอำนวยความสะดวกผู้ประกอบการในการติดต่อกับราชการและสร้างดีมานด์การท่องเที่ยวกลับมาให้เร็วที่สุด กทม. ในฐานะเจ้าบ้านไม่อาจละความรับผิดชอบนี้ได้”
 

มุมมองนี้ เป็นสิ่งที่แปลกใหม่ในการนำเสนอนโยบายของสนามเลือกตั้งผู้ว่า กทม. เพราะที่ผ่านมาการหาเสียงเน้นความสำคัญ เรื่องระบบสาธารณูปโภค หรือโครงการขนาดใหญ่ สร้างความตื่นเต้น และหวือหวา แต่ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาเมืองให้มีความสะดวกสบายด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ 

 

แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ “ดร.ยุ้ย” โฟกัสความสำคัญที่จะ “ถอดรหัสเข้าถึงความต้องการของคน กทม.”เพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร ควบคู่ไปด้วย นับเป็นการปลุกกระแสมิติใหม่ในการหาเสียง สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาเมือง ที่ทีมีดร.ชัชชาติวางไว้ ให้ “กรุงเทพเป็นเมืองน่าอยู่”