วัคซีนต้านโควิด19 ผู้สูงอายุฉีดสูตรไหนมีภูมิคุ้มกันมากที่สุด อ่านเลย

15 พ.ค. 2565 | 11:03 น.
อัปเดตล่าสุด :15 พ.ค. 2565 | 18:04 น.
1.8 k

วัคซีนต้านโควิด19 ผู้สูงอายุฉีดสูตรไหนมีภูมิคุ้มกันมากที่สุด อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ หมอธีระเผยผลวิจัยจาก Poh XY และคณะจากประเทศสิงคโปร์

วัคซีนต้านโควิด19 ปัจจุบันมีหลายสูตรที่สามารถฉีดได้ โดยในเบื้องต้นต้องฉีดเข็มที่ 1 และ 2 ให้ครบตามมาตรฐาน

 

ส่วนเข็มกระตุ้นจะเป็นวัคซีนชนิดใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่ามีการปูพื้นฐานการฉีดมากอย่างไร

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า
อัพเดตเรื่องวัคซีน

 

Poh XY และคณะจากประเทศสิงคโปร์ เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารทางการแพทย์โรคติดเชื้อ Clinical Infectious Diseases เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา

 

สาระสำคัญคือ ในคนสูงอายุที่ได้รับวัคซีน Pfizer 2 เข็มมาแล้วนั้น

 

 

การฉีดเข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3) ด้วยวัคซีน Moderna จะได้ระดับภูมิคุ้มกันที่สูงกว่าการฉีดกระตุ้นด้วย Pfizer

 

การฉีดเข็มกระตุ้นด้วย Moderna นั้นใช้ขนาดครึ่งหนึ่งของโดสปกติ คือ 50 ไมโครกรัม (ปกติ 100 ไมโครกรัม)

 

15 พฤษภาคม 2565

 

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 400,513 คน ตายเพิ่ม 833 คน รวมแล้วติดไปรวม 520,816,961 คน เสียชีวิตรวม 6,287,570 คน

 

วัคซีนต้านโควิด19 ผู้สูงอายุฉีดสูตรไหนมีภูมิคุ้มกันมากที่สุด

 

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ไต้หวัน ออสเตรเลีย เยอรมัน ญี่ปุ่น และอิตาลี

 

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก

 

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็น 69.88% ของทั้งโลก

 

ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็น 70.1%
การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็น 38.71% ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็น 25.33%

สถานการณ์ระบาดของไทย

 

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า

 

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย

 

ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก ถึงแม้ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมาจนทำให้จำนวนเสียชีวิตที่รายงานนั้นลดลงก็ตาม

 

ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 25.59% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย