จาก “คังคุไบ”‘ มองย้อนโสเภณียุคจอมพลสฤษดิ์ สู่ Sex Worker 2022

14 พ.ค. 2565 | 13:00 น.
อัปเดตล่าสุด :14 พ.ค. 2565 | 16:19 น.
1.1 k

จาก ภาพยนต์ “คังคุไบ” ใน Netflix พามาสำรวจประวัติศาสตร์โสเภณีของไทย วิวัฒนาการกฎหมาย และเสียงเรียกร้องของ sex worker

“ไม่ว่าใครจะโผล่มาหน้าประตูเรา เราก็ไม่ติดสินบนพวกเขา มันเป็นหลักการของเรา เราจะไม่ถามถึงศาสนา วรรณะ จะผิวเข้มหรือขาว จะรวยหรือจน ทุกคนจ่ายเท่ากัน พวกเราไม่ได้เลือกปฏิบัติกับคนอื่น แต่ทำไมผู้คนถึงเลือกปฏิบัติกับเรา”   

 

“รู้ไหมอาชีพที่เก่าแก่ที่สุดในโลกคืออะไร โสเภณี หากไม่มีเราแม้แต่สวรรค์ก็ไม่สมบูรณ์ ช่วยเคารพเราบ้าง”

นี่เป็นส่วนหนึ่งของประโยคเด็ด ที่ "Gangubai Kathiawadi"  “คังคุไบ” แสดงให้เห็นถึงความต้องการให้ใคร ๆ รู้ว่าผู้หญิงทุกคนและทุกอาชีพมีศักดิ์ศรีในตัวเอง  จากภาพยนตร์อินเดีย  "Gangubai Kathiawadi" "หญิงแกร่งแห่งมุมไบ" สตรีมมิ่งผ่าน netflix ไม่ถึง 1 สัปดาห์ ก็สร้างกระแสตอบรับอย่างดี ทั้งไทยและต่างประเทศ  

จาก “คังคุไบ”‘ มองย้อนโสเภณียุคจอมพลสฤษดิ์ สู่ Sex Worker 2022

ประโยคหลังทำให้เราอยากพาคุณผู้อ่าน ย้อนอดีตของไทยไปสำรวจ ประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการกฎหมาย และเสียงเรียกร้องร่ของเหล่า Sex worker โดยเฉพาะในสังคมไทย กันบ้าง

 

Sex Worker ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ปลาย 1970’s ถือเป็นอาชีพบริการเหมือนกับอาชีพบริการทั่วไป ถ้ากางข้อมูลแล้วพบว่ามีประวัติยาวนานฝังรากอยู่ในทุกสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พวกเขาถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มคนเปราะบาง ที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยง ไม่มีหลักประกันทางกฎหมาย ไม่ได้รับการยอมรับในเชิงสังคมและวัฒนธรรม

 

แม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้า บริการทางเพศ และมีการกำหนดโทษทางอาญา จาก พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 ก็ตาม

 

รายงานของ UNAIDS เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2020 เคยประเมินไว้ว่า มีจำนวนผู้ขายบริการทางเพศในประเทศไทย 145,000 คน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่แท้จริงก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันมาก เพราะรายงานบางฉบับก็ประเมินว่าอาจมีมากถึง 800,000 – 2,800,000 คน

 

อดีตการขายบริการทางเพศเป็นอย่างไร ?

อาชีพนี้สามารถทำได้โดยถูกกฎหมาย มีหญิงโสเภณีมาตั้งแต่เมื่อไหร่นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่ถูกระบุไว้ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีหรือพระเจ้าอู่ทองเมื่อประมาณ 659 ปีก่อน (พ.ศ. 1904 – 2563)  หมายความว่า มีการค้าประเวณีอย่างเป็นที่รับรู้กันทั่วไปมาตั้งแต่ยุคแรกสถาปนากรุงศรีอยุธยา

 

การให้บริการทางเพศถูกทำให้เป็นอาชญากรรม(criminalize) ครั้งแรกในปี2503 จากการออกพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี 2503 โดย “จอมสฤษดิ์ ธนะรัชต์” นั่นหมายถึง การห้ามมีการค้าประเวณี มีบทลงโทษทั้งจำทั้งปรับแก่ผู้ให้บริการ นายหน้า และเจ้าของสถานประกอบการ อีกทั้งเมื่อผู้ให้บริการพ้นโทษแล้วต้องเข้ารับการรักษาและฝึกอบรมอาชีพ ไม่เกิน 1 ปีหลังพ้นโทษ

จาก “คังคุไบ”‘ มองย้อนโสเภณียุคจอมพลสฤษดิ์ สู่ Sex Worker 2022

 

ที่ผ่านมามีเสียงเรียกร้องต้องการให้พนักงานบริการได้รับสิทธิเท่าเทียมอย่างอาชีพทั่วไปในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็น "มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ หรือ SWING" (Service Workers in Group Foundation) มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อเป็นที่พักพิงให้กับคนขายบริการทางเพศทั้งหญิงและชาย รวมถึงช่วยเหลือในเรื่องของสุขภาพ และข้อกฎหมาย ร่วมผลักดันเรียกร้องให้ยกเลิก พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีในไทย

 

มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ (Empower Foundation) เรียกร้องให้งานบริการทางเพศมีความปลอดภัยในด้านสุขภาพ และเป็นธรรมต่อผู้ขายบริการ และมีเป้าหมายให้ sex worker มีส่วนร่วมทางการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย และสิทธิมนุษยชน เล็งเห็นถึงปัญหาของ sex worker ที่จำเป็นต้องใช้ร่างกาย เป็นต้นทุนทำมาหากิน จึงมีความเสี่ยงในด้านของชีวิต และสุขภาพ

 

มีคำถามตามมาว่า sex worker เป็นอาชีพที่ต้องปราบปราม ไม่ใช่ควรทำความเข้าใจ หรือควรนับว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งที่ควรได้รับการดูแลและคุ้มครองทางกฎหมายหรือไม่  เช่นเดียวกับภาพยนตร์ คังคุไบ ที่เราได้เห็นความมุ่งหวังของคังคุไบที่ต้องการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิของโสเภณี ว่ามีศักดิ์ศรีเทียบเท่ากับผู้คนในอาชีพอื่นๆ 

 

จึงมีขับเคลื่อนเพื่อเสนอ ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 

จาก “คังคุไบ”‘ มองย้อนโสเภณียุคจอมพลสฤษดิ์ สู่ Sex Worker 2022

 

พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 กำหนดความผิดของบุคคลสองประเภท ด้วยกัน อันได้แก่ ความผิดที่เกี่ยวกับผู้ให้บริการทางเพศ และความผิดของผู้ที่มีส่วนส่งเสริมหรือเกี่ยวข้องกับการค้าบริการทางเพศ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

 ความผิดที่เกี่ยวกับผู้ให้บริการทางเพศ

  • ผู้ใดที่ติดต่อหรือชักชวนบุคคล เพื่อการค้าประเวณีอันเป็นการเปิดเผยและน่าอับอายหรือเป็นที่เดือดร้อนรำคาญแก่สาธารณชน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  • ผู้ให้บริการที่เข้าไปมั่วสุมในสถานที่ค้าประเวณีเพื่อประโยชน์ในการค้าประเวณีของตนหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • กรณีนี้อาจผู้ที่เสี่ยงผิดกฎหมายอาจจะเป็นได้ทั้งตัวผู้ให้บริการทางเพศเอง หรือผู้อื่นที่ปฏิบัติงานในสถานบริการ  ถ้าถูกบังคับหรือตกอยู่ภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ ไม่มีความผิด
  • ผู้ให้บริการที่โฆษณาหรือทำให้แพร่หลายไปยังสาธารณะเพื่อการค้าประเวณีของตนเองหรือของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000 – 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • กรณีนี้ผู้ที่มีความผิดทางกฎหมายมีทั้งผู้ให้บริการทางเพศ รวมไปถึงบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่โฆษณาการค้าประเวณีเพื่อประโยชน์ของตัวผู้ให้บริการทางเพศ

 

ความผิดของผู้ที่มีส่วนส่งเสริมหรือเกี่ยวข้องกับการค้าบริการทางเพศ

  • นายหน้าเพื่อการค้าประเวณี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท หากได้กระทำต่อบุคคลอายุมากกว่า 15 แต่ยังไม่เกิน 18 ปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท แต่ถ้าได้กระทำต่อเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10-20 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000 – 400,000 บาท นอกจากนี้ ผู้กระทำยังต้องระวางโทษหนักขึ้นหากได้กระทำโดยใช้อุบายหลอกหลวง หรือใช้วิธีข่มขืนใจ
  • บิดา มารดา หรือผู้ปกครองซึ่งรู้เห็นในการกระทำนายหน้าค้าประเวณีต่อผู้อยู่ในความปกครองของตนซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี และมีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำความผิดนั้น ต้องระวางโทษระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 80,000 – 400,000 บาท
  • เจ้าของกิจการค้าประเวณี ผู้ดูแล หรือผู้จัดการกิจการหรือสถานการค้าประเวณี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000 – 300,000 บาท นอกจากนี้ หากปรากฏว่ามีเยาวชนค้าบริการอยู่ด้วยก็จะต้องระวางโทษจำคุกห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่ 100,000 – 300,000 บาท และกรณีที่มีเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10-20 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000 – 400,000 บาท
  • ผู้ใช้บริการทางเพศ โดยหลักแล้วไม่มีความผิด เว้นแต่จะใช้บริการทางเพศจากอายุเกิน 15 แต่ไม่ถึง 18 ปี ในสถานการค้าประเวณี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท ถ้าใช้บริการทางเพศจากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี รับโทษหนักขึ้น จำคุกตั้งแต่สองปีถึงหกปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสองหมื่นบาท กรณีนี้ แม้ผู้ให้บริการทางเพศจะยินยอมก็มีความผิด

 

พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มีการกำหนดมาตรการรับผู้ให้บริการทางเพศเข้ามาอยู่ในความรับผิดชอบของสถานแรกรับและสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาฝีมือแรงงาน

 

อีกทั้งศาลยังมีอำนาจพิพากษาให้ผู้ให้บริการที่กระทำความผิดตามพ.ร.บ.นี้เข้าสู่กระบวนการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพแทนการลงโทษก็ได้ และหากเกิดการหลบหนีจากสถานแรกรับหรือสถานคุ้มครองอาชีพ กฎหมายก็เพียงกำหนดให้เจ้าหน้าที่ออกติดตามตัวผู้หลบหนีเท่านั้น มิได้กำหนดให้ต้องมีความผิดตามกฎหมายแต่อย่างใด

 

ที่มา : ilaw unaids Netflix