เช็คเลย! ประกันสังคม ม.40 รับเงินที่ชำระเกินคืนได้ ช่องทางยื่นคำร้อง

11 พ.ค. 2565 | 12:01 น.
อัปเดตล่าสุด :11 พ.ค. 2565 | 19:04 น.
12.7 k

ประกันสังคม แจ้ง ผู้ประกันตน ม. 40 จ่ายเงินสมทบเต็มจำนวน งวดเดือน ก.พ. – ก.ค.65 สามารถขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระเกินได้ ยื่นคำร้องช่องทางไหนได้บ้าง เช็คเลยที่นี่

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่พระราชกฤษฎีกาประกาศลดอัตราเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบ ต่ออีกเป็นระยะเวลา 6 เดือน ในงวดเดือน กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2565 เพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนผู้ประกันตน 

 

ทั้งนี้ผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในอัตราใหม่ 3 ทางเลือก คือ

3 ทางเลือกผู้ประกันตน ม.40 จ่ายเงินสมทบ

 

  • ทางเลือกที่ 1 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย จากเดิมจ่ายในอัตรา 70 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่ เป็น 42 บาท/เดือน 

 

  • ทางเลือกที่ 2 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ จากเดิมจ่ายในอัตรา 100 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 60 บาท/เดือน

 

  •  ทางเลือกที่ 3 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร จากเดิมจ่ายในอัตรา 300 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 180 บาท/เดือน

 

เช็คเลย! ประกันสังคม ม.40  รับเงินที่ชำระเกินคืนได้  ช่องทางยื่นคำร้อง          

 

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่า สำหรับ “ผู้ประกันตนที่ได้ชำระเงินสมทบ เต็มจำนวนในอัตราเดิม ก่อนหน้าประกาศกฎกระทรวงลดอัตราเงินสมทบออก ผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถดำเนินการยื่นคำร้องขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระไว้เกินจำนวนได้” 

ขั้นตอนการยื่นคำร้องขอรับเงินคืน

 

- สำนักงานประกันสังคม จะดำเนินการจัดส่งเอกสารขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระไว้เกินจำนวนทางไปรษณีย์ เพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระไว้เกินจำนวน หรือ

 

-  ดาวน์โหลดแบบฟอร์มการขอรับเงินคืน (สปส.1-40/7) ในเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th พร้อมแนบเอกสารและจัดส่งทางไปรษณีย์ ดังนี้

 

  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ประกันตน (ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน)
  • ส่งเอกสารทางไปรษณีย์  มายังสำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา หรือยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ 

 

ทั้งนี้ สํานักงานประกันสังคมจะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตน หากมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

 

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม , ฐานเศรษฐกิจ