ห้องนอนประหยัดไฟ วิธีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ประหยัดเงินในกระเป๋า

02 พ.ค. 2565 | 03:30 น.

ห้องนอนประหยัดไฟ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯแนะนำวิธีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ถูกวิธีและประหยัดเงินในกระเป๋า ดูที่นี่

จากที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) ได้เคยมาจัดอันดับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่กินไฟสูงกันไปแล้ว ครั้งนี้ พพ.จะมาแนะนำวิธีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ถูกวิธีและประหยัดเงินในกระเป๋า โดยแบ่งโซนเครื่องใช้ไฟฟ้าตามห้องภายในบ้าน เริ่มกันที่ ห้องนอนประหยัดไฟ

 

ข่าวข่าวประกอบ

 

ห้องนอนประหยัดไฟ วิธีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ประหยัดเงินในกระเป๋า

ถ้าจะมี 1 ห้องภายในบ้านที่เราใช้เวลาอยู่ในนั้นมากที่สุด หลายๆคนคงต้องนึกถึงห้องนอน ซึ่งเฉลี่ยเวลาที่เราอยู่ภายในห้องนอนนั้นเป็นเวลา 6-12 ชั่วโมง เกือบครึ่งวันเลยทีเดียว เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องทำงานหนักๆในขณะที่เราอยู่ในห้องนอนนั้น อาทิ

 

เครื่องปรับอากาศ

วิธีประหยัดไฟ คือ ให้คุณเลือกใช้ที่มีประสิทธิภาพสูงและควรเหมาะสมกับขนาดของห้องของคุณ และก็ต้องติดตั้งไว้ในระดับที่สูงพอดี การใช้งานก็คือ ในระหว่างที่เครื่องปรับอากาศกำลังทำงานอยู่นั้นควรปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด และควรปิดผ้าม่านเพื่อป้องกันแสงแดดและป้องกันความร้อนจากภายนอก คุณควรตั้งอุณหภูมิไม่ให้ต่ำกว่า 26 องศาเซลเซียส และถ้ามีพัดลม คุณสามารถเปิดพัดลดเพื่อช่วยเพิ่มความเย็นได้ด้วย และที่สำคัญคุณควรปิดเครื่องทุกครั้งถ้าไม่ได้ใช้งาน และไม่ควรเปิดทิ้งไว้เวลาที่ไม่อยู่ในห้อง ที่สำคัญ ปิดแอร์เร็วขึ้นวันละ 1 ชม. ช่วยประหยัดไฟได้ถึง 2.5-6.0 บาท/ชม.

พัดลม

คือ ตัวช่วยสำคัญ ที่จะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดไฟมากขึ้น ตำแหน่งการวางพัดลมที่ดี คือ

 

1.วางใกล้กับเครื่องปรับอากาศ

วางพัดลมให้ด้านหลังอยู่ถัดจากเครื่องปรับอากาศ จะช่วยให้ลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศไหลเวียนได้เต็มที่จากบนลงล่าง

 

2.เป่าไปที่เพดาน

เนื่องจากพัดลมตั้งโต๊ะสามารถปรับทิศทางลมได้หลายทิศทาง จึงปรับให้เป่าไปที่เพดานห้องได้ ซึ่งจะช่วยให้อากาศในห้องไหลเวียนดีขึ้น

3. วางหันหน้าออกนอกหน้าต่าง

เพื่อแลกเปลี่ยนอากาศภายนอกกับภายในห้อง ควรวางพัดลมหันออกนอกหน้าต่างเพื่อระบายอากาศภายในและดูดอากาศภายนอกเข้าสู่ตัวห้อง

 

4.วางบนโต๊ะหรือเก้าอี้

วางบนโต๊ะหรือเก้าอี้ เพื่อให้ลมเย็นพัดไปได้ไกลขึ้น ช่วยเพิ่มอากาศเย็นภายในห้อง

 

หลอดไฟ

ใช้หลอดไฟ LED แล้วปิดไฟเข้านอนแต่หัวค่ำเพื่อสุขภาพที่ดี

 

ที่มา : กระทรวงพลังงาน