ภาวะลองโควิด Long COVID เจออาการเพิ่มอีก กลุ่มไหนเสี่ยง ?

01 พ.ค. 2565 | 19:30 น.
อัปเดตล่าสุด :02 พ.ค. 2565 | 02:33 น.
2.3 k

ภาวะลองโควิด Long COVID หลังติดเชื้อที่ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ช่วย ล่าสุดเจออาการเพิ่มอีก 1 อาการ กลุ่มไหนเสี่ยง ตรวจสอบเลย

สถานการณ์โควิด ยังน่าเป็นห่วง จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวัน หนึ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่รักษาหายประมาณ 30 - 50 เปอร์เซ็นต์ มีโอกาสเป็นภาวะลองโควิด (Long Covid)  โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีอาการป่วยรุนแรง 

 Long COVID คืออะไร

อาการทางร่างกายและทางจิตใจ ที่หลงเหลืออยู่ 4 สัปดาห์ ไปจนถึง 12 สัปดาห์ขึ้นไป มีอาการแตกต่างกัน ส่วนใหญ่มักจะพบในผู้ที่เชื้อลงปอด และมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และบางครั้งก็พบมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย 

คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยอินเดียน่า พบหนูทดลองที่ติดเชื้อโควิด สูญเสียมวลกระดูกได้มากถึง 25% ในสองสัปดาห์หลังจากการติดเชื้อ หมายความอาจทำให้ผู้ติดเชื้อสูญเสียมวลกระดูกได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าการติดเชื้อจะมีอาการไม่รุนแรง มวลกระดูกที่ลดลง เกิดพร้อมกับโรคกระดูกพรุน

 

กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อภาวะโรคกระดูกพรุน

  • ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงจะติดโควิด ได้ง่ายและแนวโน้มจะเกิดการแทรกซ้อนจากโรคกระดูกพรุน
  • กลุ่มเด็กที่ติดโควิดจะส่งผลกระทบต่อการสร้างมวลกระดูกมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในระยะยาว