ไทยเตรียมเข้าสู่ฤดูฝนเมื่อไร กรมอุตุนิยมวิทยามีคำตอบ

25 เม.ย. 2565 | 18:59 น.
อัปเดตล่าสุด :26 เม.ย. 2565 | 02:18 น.
3.9 k

กรมอุตุนิยมวิทยา เผย 3 ปัจจัยที่จะเป็นสัญญาณบ่งชี้การเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทย จะมีอะไรบ้าง ตรวจสอบข้อมูลที่นี่

ช่วงนี้หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่าประเทศไทยฤดูอะไรกันแน่ เพราะมีทั้งอากาศร้อน อากาศร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ บางวันก็ฝนตกหนัก ล่าสุดกรมอุตุนิยมวิทยา จึงได้ออกมาประกาศเกี่ยวกับ การเข้าสู่ฤดูฝน ปี 2565 หรือ Pre-Southwest Monsoon

 


สำหรับ Pre-Southwest Monsoon คืออะไร กรมอุตุนิยมวิทยาได้ให้คำตอบว่า คือ ช่วงระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากฤดูร้อนเป็นฤดูฝน ถือเป็นช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนทิศทางของลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยเปลี่ยนเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ 

 

ทั้งนี้สภาพอากาศช่วงก่อนเข้าสู่ฤดูฝน ระบบลมจะมีทิศทางแปรปรวน อาจมีแนวสอบของลม 2 กระแส อากาศร้อน ฝนระบุเวลาได้ ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับลมที่พัดปกคลุม 

 

  • ลมใต้ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ฝนมักตกช่วงเช้าถึงสาย
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ฝนมักตกช่วงบ่ายถึงค่ำ 

 

 

ข้อควรระวังสำหรับสภาพอากาศเหล่านี้คือ ระวังอันตรายจากฟ้าผ่า ,ลมกระโชกแรง,หลีกเลี่ยงที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง และเกษตรกรควรป้องกันและระวังความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตร
 

ไทยเตรียมเข้าสู่ฤดูฝนเมื่อไร กรมอุตุนิยมวิทยามีคำตอบ

ส่วนเงื่อนไขการประกาศเข้าสู่ฤดูฝนนั้น จะพิจารณาจากปัจจัยทางด้านอุตุนิยมวิทยา ดังนี้

 

  • มีฝนตกชุกต่อเนื่องและครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ

 

  • ทิศทางลมตั้งแต่ระดับล่างใกล้ผิวพื้นถึงความสูง 3.5 เปลี่ยนทิศทางเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดความชื้นจากทะเลอันดันมันเข้ามาปกคลุมประเทศอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 1-2 สัปดาห์

 

  • ลมชั้นบน ตั้งแต่ระดับความสูง 5 กม.ขึ้นไป เปลี่ยนทิศทางเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือ 


เงื่อนไขการประกาศเข้าสู่ฤดูฝน

อนึ่งกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ชี้แจงเกี่ยวกับข้อความที่มีการเผยแพร่ว่า“ประเทศไทยเตรียมเข้าสู่ฤดูฝน ช่วงวันที่ 1-3 พฤษภาคม 2565” ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่ได้มาจากกรมฯแต่อย่างใด และขอยืนยันว่าช่วงเวลาดังกล่าวของปีนี้ยังคงอยู่ในช่วงปลายฤดูร้อนและเป็นช่วงระหว่างเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีอากาศแปรปรวน 

 

โดยเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนบริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกชุกต่อเนื่องและครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบกับทิศทางลมระดับผิวพื้นถึงความสูง 3.5กิโลเมตร จะเปลี่ยนทิศเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และลมชั้นบนตั้งแต่ระดับความสูง 5 กิโลเมตรขึ้นไป จะเปลี่ยนทิศเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย

 

ทั้งนี้กรมอุตุนิยมวิทยาจะทำการคาดหมายและประกาศวันเริ่มต้นฤดูฝนให้ทราบล่วงหน้าผ่านทางเว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยาและเว็บไซต์ศูนย์ภูมิอากาศ ต่อไป