อย่าพลาดชม พาเหรดดาวเคราะห์ 4 ดวง-ดาวเคียงเดือน คืนนี้!

25 เม.ย. 2565 | 16:30 น.
อัปเดตล่าสุด :25 เม.ย. 2565 | 23:30 น.
2.4 k

คืนนี้! ชมพาเหรด 4 ดาวเคราะห์ เสาร์-อังคาร-ศุกร์-พฤหัสบดี มาพร้อมดวงจันทร์ ปรากฎการณ์ธรรมชาติหาชมยาก เห็นได้ด้วยตาเปล่าช่วงใกล้รุ่งวันที่ 26-27 เม.ย.นี้ ต้องห้ามพลาด

จากกรณีที่เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชมพาเหรดดาวเคราะห์ 4 ดวงมาพร้อมกับ ดาวเคียงเดือน ซึ่งปรากฎการณ์นี้จะเกิดขึ้นช่วงใกล้รุ่งวันที่ 25-27 เมษายน 2565 นี้ โดยแจ้งว่า ในวันที่ 25-27 เมษายน 2565 ทุกภูมิภาคทั่วไทยจะพบกับพาเหรดดาวเคราะห์ ดาวเสาร์ ดาวอังคาร ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี เรียงกันเหนือท้องฟ้าช่วงเช้ามืด ปรากฏพร้อมกับ "ดาวเคียงเดือน" ตลอด 3 วัน

สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคของไทยทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลาประมาณ 04:00 น. จนถึงรุ่งเช้า

สำหรับดาวเคียงเดือน ในวันที่ 25 เมษายน 2565 ดวงจันทร์เสี้ยวข้างแรมจะปรากฏใกล้ดาวเสาร์

ส่วนวันที่ 26 เมษายน 2565 ดวงจันทร์จะเปลี่ยนตำแหน่งมาปรากฏใกล้กับดาวอังคาร 
จากนั้นดวงจันทร์จะเปลี่ยนตำแหน่งมาปรากฏใกล้ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดี ในวันที่ 27 เมษายน 2565

ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ปรากฏบนฟากฟ้าพร้อมกัน และเรียงเป็นแนวเช่นนี้ เกิดจากดาวเคราะห์แต่ละดวงโคจรมาอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้ในเวลาเดียวกันจากมุมมองของผู้สังเกตบนโลก

ส่วนมุมมองจากอวกาศจะพบว่า ดาวเคราะห์ไม่ได้เรียงกันเป็นเส้นตรงแต่อย่างใด เนื่องจากดาวเคราะห์แต่ละดวงต่างโคจรกระจายอยู่ตามวงโคจรของดาวดวงนั้น โอกาสที่จะมาเรียงตัวในแนวเดียวกันและปรากฏให้ผู้สังเกตบนโลกเห็นในเวลาเดียวกันจึงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก

หากท้องฟ้าปลอดโปร่งไม่มีเมฆฝน ชาวไทยจะมีโอกาสได้เห็นความสวยงามของปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ก่อนรุ่งเช้านี้ได้ทั่วประเทศ

ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่พลาดชมปรากฎการณ์ดังกล่าว ในวันที่ 26 เมษายนี้ ยังสามารถรับชมได้โดยดวงจันทร์จะเปลี่ยนตำแหน่งมาปรากฎใกล้กับดาวอังคาร เตรียมรอชมกันได้เลย 

สำหรับท่านที่พลาดชมปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงรุ่งเช้าของวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมาทาง เพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ก็มีภาพจากมุมต่าง ๆ มาให้ได้ชมกัน 

 

อย่าพลาดชม พาเหรดดาวเคราะห์ 4 ดวง-ดาวเคียงเดือน คืนนี้!

อย่าพลาดชม พาเหรดดาวเคราะห์ 4 ดวง-ดาวเคียงเดือน คืนนี้!

อย่าพลาดชม พาเหรดดาวเคราะห์ 4 ดวง-ดาวเคียงเดือน คืนนี้!

ที่มา : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ