โควิดวันนี้atk ยอดติดเชื้อกว่า 4.2 หมื่นราย เตือนระวังปัญหาสึนามิ Long COVID

22 เม.ย. 2565 | 09:39 น.
อัปเดตล่าสุด :22 เม.ย. 2565 | 16:39 น.
2.4 k

โควิดวันนี้atk ยอดติดเชื้อกว่า 4.2 หมื่นราย เตือนระวังปัญหาสึนามิ Long COVID หมอธีระเผยบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อสูงถึง 450 คน

โควิดวันนี้atk ยังคงเป็นตัวเลขของการติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่ยังถือว่าอยู่ในระดับสูง และเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ และติดตาม 

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า 

 

  • 21,808

 

  • ATK 20,635

 

  • รวม 42,443

 

จำนวนติดเชื้อรวม ATK ของวันนี้ มากกว่าสัปดาห์ก่อน 43.37% แต่น้อยกว่าสองสัปดาห์ก่อน 13.18%

 

บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อสูงถึง 450 คน (ชาย 100, หญิง 349, ไม่ระบุ 1) 

 

โดยจังหวัดที่บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อสูงสุด 3 อันดับแรกคือ กรุงเทพฯ 104, ขอนแก่น 73, ศรีสะเกษ 41

จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อในกรุงเทพฯ นั้น พุ่งเกิน 100 คน เป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19 มาหลายปี 

 

ทั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 2 ในระลอก Omicron 

 

โดยครั้งแรกวันที่ 123 คน ณ 28 สิงหาคม 2564 ในระลอกเดลตา 

 

ครั้งที่สองและสามในวันที่ 22 มีนาคม 2565 

 

โควิดวันนี้atk ยอดติดเชื้อกว่า 4.2 หมื่นราย

 

และวันนี้ 22 เมษายน 2565 สำหรับระลอก Omicron

 

ป.ล.ตัวเลขผู้ป่วยปอดอักเสบและใส่ท่อช่วยหายใจนั้นมีความต่างกันระหว่างศบค.
และกรมควบคุมโรค จึงไม่สามารถนำมาพิจารณาได้ เนื่องจากไม่ทราบว่าสถานการณ์จริงเป็นเช่นไรกันแน่

 

หมอธีระ กล่าวอีกว่า 

 

สามแรง...ที่อาจมาพร้อมกันหากป้องกันไม่ดีพอ

 

  • แรงแรก...จากการระบาดต่อเนื่องจากเดิมทั้งในกลุ่มเสี่ยง คนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน รวมถึงที่ฉีดแล้วแต่ไม่ป้องกันตัว หนุนเสริมการระบาดมากขึ้นหลังช่วงเทศกาลที่ผ่านมา น่าจะเริ่มส่งผลให้เห็นได้ราวปลายเดือนนี้แต่จะต่อเนื่องไปในพฤษภาคม
  • แรงที่สอง...จากการติดเชื้อซ้ำในหมู่คนที่เคยติดมาก่อน ทั้งที่ได้หรือไม่ได้วัคซีน แต่ไม่ได้ป้องกันตัว

 

  • แรงที่สาม...จากสายพันธุ์ย่อยใหม่ๆ ที่อาจเข้ามา เช่น BA.4 และ BA.5 ซึ่งมีคุณสมบัติหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้เพิ่มขึ้นกว่า BA.2 เดิม และอีกสายพันธุ์ที่น่าจับตาคือ BA.2.12.1

 

สุดท้ายแล้วที่จะเป็นปัญหาระยะยาวคือ สึนามิจาก Long COVID

 

ดังนั้นนโยบายและมาตรการระดับชาติจึงไม่ควรผลีผลาม

 

ประชาชนในสังคมก็ควรตระหนักถึงสถานการณ์จริงว่าไม่ปลอดภัย ควรป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ

 

ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด...