อาหารต้านโควิดมีอะไรบ้าง เมนูไหนมีสรรพคุณอย่างไร อ่านเลยที่นี่

17 เม.ย. 2565 | 12:52 น.
อัปเดตล่าสุด :17 เม.ย. 2565 | 19:52 น.
8.2 k

อาหารต้านโควิดมีอะไรบ้าง เมนูไหนมีสรรพคุณอย่างไร อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ ฐานเศรษฐกิจรวบรวมเมนูอาหารไทยที่มีส่วนประกอบในการช่วยต้านไวรัสไว้ให้แล้ว

อาหารต้านโควิดมีอะไรบ้าง เมนูไหนมีสรรพคุณอย่างไร เป็นประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจในโลกออนไลน์  หลังจากที่เชื้อโควิด-19 (Covid-19) สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) แพร่ระบาดไปทั่ว

 

"ฐานเศรษฐกิจ" ดำเนินการสืบค้นข้อมูล เพื่อไขคำตอบ คลายข้อสงสัย ได้มาหลายเมนู ประกอบด้วย

 
ผัดกะเพรา

 

เมนูง่ายๆ โดยอาหารไทยจานดังกล่าวนี้ มีส่วนผสมหลักคือ ใบกะเพรา ซึ่งถือเป็นผักสมุนไพรอีกอย่างที่คนไทยรู้จักกันดี  โดยข้อมูลจากกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ระบุว่าใบกะเพรามีสารโอเรียนทิน (orientin) เป็นสารสำคัญที่มีศักยภาพในการป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อของเซลล์ จึงช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยไข้จากเชื้อไวรัสได้

 
ต้มยำ 

 

เป็นอาหารประจำประเทศไทยที่มีรสชาติดี มีประโยชน์โดยเฉพาะส่วนประกอบของเครื่องต้มยำ ที่ประกอบด้วยพืชผักสมุนไพรที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และมีสารต้านอนุมูลอิสระ ประกอบด้วย ข่า ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยลดการอักเสบ

 

,ตะไคร้ น้ำมันหอมระเหยของตะไคร้ มีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงลดอาการแน่นจุกเสียด และช่วยขับลม, มะกรูด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว นอกจากนี้ ตามตำรายาไทย พบว่า ใบมะกรูด มีรสปร่า หอม แก้ไอ กัดเสมหะในคอ แก้น้ำลายเหนียว

อย่างไรก็ดี ในน้ำต้มยำยังมีส่วนประกอบของมะนาว ซึ่งมีงานวิจัยเบื้องต้นว่ามีสารสำคัญชนิด เฮสเพอริดิน (hesperidin) ที่พบในเปลือกด้านในหรือผลอ่อนของพืชในตระกูลส้ม อาจช่วยลดโอกาสติดเชื้อโควิด-19 ในน้ำมะนาวมีรสเปรี้ยว ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ 

 

และพริกขี้หนู มีรสเผ็ดร้อน มีสารแคปไซซิน สรรพคุณช่วยลดน้ำมูกหรือสิ่งกีดขวางต่อระบบการหายใจ อันเนื่องมาจากเป็นไข้หวัด ภูมิแพ้ หรือไซนัส บรรเทาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ ทำให้การหายใจสะดวกสบายยิ่งขึ้น ช่วยสลายเมือกในปอด ทำให้ทางเดินหายใจโล่ง ช่วยป้องกันหลอดลมอักเสบ

 

อาหารต้านโควิดมีอะไรบ้าง เมนูไหนมีสรรพคุณอย่างไร


น้ำพริกผักต้ม ผักสด

 

ประเทศไทยคุ้นเคยกับอาหารประเภทเครื่องจิ้ม อย่างเช่นเมนูน้ำพริกผักต้มหรือผักสด โดยอาจจะเน้นผักสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาในเมนูนี้ให้มากขึ้น เช่น ดอกขี้เหล็ก ยอดมะยม ใบเหลียง ยอดสะเดา มะระขี้นก ฟักข้าว ผักเชียงดา คะน้า มะรุม ผักแพว ผักหลากสี โดยผักเหล่านี้อุดมไปด้วยสารกลุ่มแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารกลุ่มเฟลโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง และมีวิตามินซีสูง
 

กะหล่ำปลีผัดน้ำปลา 

 

เมนูนี้แน่นอนว่าส่วนประกอบหลักคือ กะหล่ำปลี ผักที่มีฟลาโวนอยด์และแอนโทไซยานินสูงและวิตามินซีสูงขณะเดียวกันในกะหล่ำปลีดิบมีสารชื่อว่า กอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ทำให้ร่างกายนำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ 

 

หากรับประทานกะหล่ำปลีดิบอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ และในปริมาณมากอาจทำให้ท้องอืดจนทำให้ร่างกายขาดสารไอโอดีน และกลายเป็นโรคคอพอกได้ แต่ถึงแม้ว่าในกะหล่ำปลีดิบจะมีสารกอยโตรเจน สารชนิดนี้จะสลายไปอย่างรวดเร็วเมื่อโดนความร้อนจึงควรรับประทานกะหล่ำปลีที่ผ่านการปรุงสุกแล้ว
 

แกงส้มมะรุม แกงส้มผักรวม

 

แกงส้มทั้งสองชนิดนี้ต่างก็เป็นอาหารไทยที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ เริ่มจาก แกงส้มมะรุม มีมะรุมเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งมีสารเคอร์ซีติน (quercetin) ที่มีศักยภาพในการป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ ส่วนเมนู แกงส้มผักรวม ควรใช้ผักหลากหลายสีผสมกัน เพราะอุดมไปด้วยวิตามินซี และสารกลุ่มแอนโทไซยานินซึ่งเป็นสารเฟลโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่ป่วยง่าย 

 
ลาบ 

 

เมนูนี้มีส่วนประกอบหลักเป็นเนื้อสัตว์ซึ่งอุดมไปด้วยโปรตีน และมีเครื่องปรุงสมุนไพรหลายชนิดเป็นส่วนประกอบที่มีปะโยชน์ต่อร่างกายได้แก่ พริก มีสารแคปไซซิน (capsaicin) เป็นหนึ่งในสารต้นอนุมูลอิสระและมีวิตามินซีสูง ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านการติดเชื้อไวรัส, หอมแดง มีสารเคอร์ซีตินสูง แก้อาการหวัด คัดจมูก และต้านอนุมูลอิสระได้ดี, มะนาว เครื่องเทศ อื่นๆ

 

อาหารต้านโควิดมีอะไรบ้าง เมนูไหนมีสรรพคุณอย่างไร

 

ผัดคะน้าน้ำมันหอย 

 

มีส่วนประกอบหลัก คือ คะน้า เป็นผักที่อยู่ในกลุ่มที่อุดมไปด้วยวิตามินซี สามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันต้านเชื้อไวรัส โดยคะน้าเป็นผักที่มีไฟเบอร์สูงช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย และช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น น้ำมันรำข้าว มีวิตามินอี ช่วยในการกระตุ้นอนุมูลอิสระป้องกันเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายถูกทำลาย สามารถช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและลดการติดเชื้อได้

 

,กระเทียม เป็นสมุนไพรในกลุ่มเสริมภูมิคุ้มกัน พบว่ามีรายงายเกี่ยวกับการยับยั้งการติดเชื้อไวรัสก่อโรค ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และต้านการอักเสบได้ดีตามตำรายาไทย กระเทียมมีรสร้อน เป็นยาแก้ไข้ ขับลมในลำไส้

 

แกงสายบัว 

 

มีส่วนประกอบหลักคือ สายบัวช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง บรรเทาความร้อนในร่างกาย มีเส้นใยอาหารและคุณค่าสารอาหารสูงและในส่วนผสมของพริกแกงประกอบด้วยสมุนไพรมีสรรพคุณตามความรู้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ได้แก่ รากผักชี สรรพคุณ ขับเหงื่อ ลดไข้ เป็นยาช่วยระบาย แก้หัดหรือผื่น ขับเหงื่อ ขับลม ท้องอืดท้องเฟ้อ

 

,พริกไทยเม็ด สรรพคุณ ขับเสมหะ แก้อาการไอ หอบหืด แก้ลมจุกเสียด แน่นท้อง เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้เจริญอาหาร อีกทั้งแกงสายบัวมีกะทิเป็นส่วนประกอบ รสมันจากกะทิจะช่วยบำรุงกำลังให้มีแรงอีกด้วย

 

ซุปไก่อุ่น 

 

มีส่วนประกอบของสมุนไพรที่มีสรรพคุณในเรื่องการขับลม โดยส่วนผสมในการทำซุปไก่อุ่นมีส่วนผสมของสมุนไพร เช่น รากผักชี สรรพคุณ ขับเหงื่อ ลดไข้ เป็นยาช่วยระบาย แก้หัดหรือผื่น ขับเหงื่อ ขับลม ท้องอืดท้องเฟ้อ ,พริกไทยดำ สรรพคุณ ลดอาการท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ ช่วยเจริญอาหาร

 

ที่มา : กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก