ยาโมลนูพิราเวียร์กินอย่างไร เหมาะกับใคร มีผลข้างเคียงหรือไม่ เช็กเลย

15 มี.ค. 2565 | 14:09 น.
อัปเดตล่าสุด :15 มี.ค. 2565 | 21:09 น.
17.8 k

ยาโมลนูพิราเวียร์กินอย่างไร เหมาะกับใคร มีผลข้างเคียงหรือไม่ เช็กเลยที่นี่ หมอมนูญชี้ถึงเวลาแล้วที่องค์การเภสัชกรรมควรจะหยุดผลิตและนำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์

ยาโมลนูพิราเวียร์เป็นยาต้านไวรัสชนิดรับประทานเพื่อใช้รักษาโควิดชนิดแรก ที่รายงานผลการทดลอง  เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน หน่วยงานกำกับดูแลยาของสหราชอาณาจักร อนุมัติยาเม็ดชนิดแรกที่ได้รับการผลิตขึ้นมาเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 (Covid-19) ที่แสดงอาการแล้ว โดยจะต้องให้ยาโมลนูพิราเวียร์แก่ผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโควิดวันละ 2 ครั้ง

 

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ (หมอมนูญ) ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว (หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC) โดยมีข้อความระบุว่า 

 

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ของบริษัทเมอร์คในคนไข้ที่เพิ่งจะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่เกิน 5 วัน 

 

ยังมีอาการน้อย แต่มีความเสี่ยงสูงที่โรคจะดำเนินต่อไปเข้าขั้นรุนแรง ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตได้
 

ยานี้เป็นยาต้านไวรัสตัวใหม่ชนิดกิน ขนาด 200 มิลลิกรัม กิน 4 เม็ดทุก 12 ชั่วโมงนาน 5 วัน 

 

สามารถให้กินเป็นคนไข้นอก ช่วยลดความรุนแรงของโรค และลดการเสียชีวิตประมาณ 30% 

 

ยาโมลนูพิราเวียร์เข้าประเทศไทยแล้ว กำลังกระจายไปตามโรงพยาบาลต่างๆสัปดาห์หน้า 

 

ยานี้มีจำนวนจำกัด ต้องใช้ตามข้อบ่งชี้เท่านั้น ให้กับคนที่มีความเสี่ยงสูง คือคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีน คนสูงอายุ 

 

ยาโมลนูพิราเวียร์กินอย่างไร เหมาะกับใคร มีผลข้างเคียงหรือไม่

 

คนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่นเบาหวาน และคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่ใช่ให้กับคนทั่วไป

 

ห้ามให้ยาโมลนูพิราเวียร์กับหญิงตั้งครรภ์/อาจจะตั้งครรภ์ และหญิงที่กำลังให้นมบุตร เพราะอาจทำให้ทารกผิดปกติ และไม่ควรใช้กับเด็ก

 

ยานี้อาจมีผลข้างเคียง เช่นตามทฤษฎีเป็นไปได้อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ซึ่งยังไม่มีใครทราบ 

อาจก่อให้เกิดเชื้อไวรัสโควิด-19 ดื้อยา อาจกระตุ้นให้เกิดเชื้อกลายพันธุ์ ต้องติดตามระยะยาวต่อไป

 

อย่าแปลกใจทำไมองค์การอนามัยโลกไม่เคยแนะนำให้ประเทศต่างๆใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ 

 

เพราะไม่มีข้อมูลจากการศึกษายืนยันว่ายาฟาวิพิราเวียร์สามารถลดการป่วยหนักและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ 

 

เมื่อไรที่เรามียาโมลนูพิราเวียร์ และยาต้านไวรัสตัวใหม่แพกซ์โลวิดของบริษัทไฟเซอร์ที่กำลังจะเข้าประเทศไทยเดือนหน้าจำนวนมากเพียงพอ 

 

ถึงเวลาแล้วที่องค์การเภสัชกรรมควรจะหยุดผลิตและนำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์อีกต่อไป