ฉีดวัคซีนโควิดเข้าชั้นผิวหนังปลอดภัยมากกว่าเพราะอะไร

03 ก.พ. 2565 | 18:01 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ก.พ. 2565 | 01:01 น.
2.8 k

ฉีดวัคซีนโควิดเข้าชั้นผิวหนังปลอดภัยมากกว่าเพราะอะไร อ่านครบจบที่นี่ หมอธีระวัฒน์ชี้เป็นกลไกที่พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์มานานตั้งแต่ก่อนปี 2008

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า

 

เหตุผลที่การฉีดเข้าชั้นผิวหนังมีความปลอดภัยกว่า

 

  • ชั้นผิวหนัง มี “เซลล์ เรียกแขก” นั่นก็คือมีตัวจับวัคซีนย่อยและส่งต่อ 2 ชนิด เมื่อเทียบกับการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อซึ่งมีหนึ่งชนิด

 

  • เซลล์เรียกแขกดังกล่าวจากการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง จะทำการกระตุ้นภูมิโดยผ่าน ที เซลล์ ชนิด ที่ 2 ( T helper 2 ) ไม่ใช่ T helper 1 แบบฉีดเข้ากล้าม ซึ่งในแบบที่หนึ่งนี้จะเลียนแบบการเกิดการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อโควิดจริงๆ

กลไกในลักษณะนี้ เป็นที่พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์มานานตั้งแต่ก่อนปี 2008
และขณะนี้หลายประเทศในยุโรปเริ่มเรียกร้องแบบเดียวกับในประเทศไทยให้ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง 

 

ไม่ใช่เพื่อประหยัดวัคซีนอย่างเดียว เพราะใช้ปริมาณน้อยกว่าแต่เพื่อความปลอดภัยกว่าเป็นประการสำคัญด้วย

 

หมายเหตุ: คำว่าเซลล์เรียกแขกถูกประดิษฐ์โดยน้องหมอวี ยูทูป Dr V channel 

 

สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 (Covid-19) ในประเทศไทยนั้น "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. 64 - 2 ก.พ. 65 มีการฉีดวัคซีนสะสมแล้วทั้งหมด 115,820,553 โดส แบ่งเป็น

 

 

 

  • เข็มที่ 1 จำนวน 52,384,810 ราย

 

  • เข็มที่ 2 จำนวน 48,735,311 ราย

 

  • เข็มที่ 3 จำนวน 14,700,432 ราย